บทคัดย่อ
โครงการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาทันตแพทย์และทีมทันตบุคลากรเพื่อดูแลสุขภาพช่องปาก
ผู้พิการและผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพา เป็นโครงการที่มุ่งพัฒนานิสิต นักศึกษา อาจารย์ บุคลากรใน
สถาบันการศึกษาและภาคีที่เกี่ยวข้องทั้งสหวิชาชีพและทันตแพทย์ ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ให้เกิดความ
ตระหนัก ความเข้าใจและทัศนคติที่ดีในการดูแลผู้พิการ เข้าใจบริบทของผู้พิการรวมทั้งผู้สูงอายุใน
ภาวะพึ่งพา เพื่อพัฒนาศักยภาพในการดูแลสุขภาพช่องปากและสร้างเสริมสุขภาวะผู้พิการ โดยการ
ดำเนินกิจกรรมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในหลากหลายรูปแบบ รวมไปถึงการสร้างองค์ความรู้ใหม่
ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสุขภาพช่องปากของผู้พิการ สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างทันตบุคลากร นิสิต
นักศึกษาทันตแพทย์ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยเฉพาะตัวผู้พิการและผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพา เพื่อพัฒนา
ทักษะความสามารถของทันตบุคลากรและนักศึกษาทันตแพทย์ในการดูแลสุขภาวะของผู้พิการ รวมทั้ง
การปลูกฝังการมีจิตสาธารณะ และการช่วยเหลือสังคมให้เกิดขึ้นแก่นักศึกษาทันตแพทย์ ซึ่งจะเป็น
จุดเริ่มต้นที่ทำให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเท่าเทียม
และเสมอภาค
โครงการนี้ ดำเนินการโดยสถาบันการศึกษาทันตแพทยศาสตร์ โดยมีคณะทันตแพทยศาสตร์
3 สถาบัน เป็นผู้ร่วมรับผิดชอบ ได้แก่ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัย
นเรศวร และมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยกิจกรรมส่วนใหญ่ครอบคลุมการมีส่วนร่วมของนิสิต นักศึกษา
อาจารย์ นักวิชาชีพ จากสถาบันที่ผลิตทันตแพทย์ทุกสถาบัน
โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
วัตถุประสงค์หลัก
เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับการพัฒนาทันตบุคลากรเพื่อดูแลรักษาสุขภาพ
ช่องปากผู้พิการและผู้สูงอายุภาวะพึ่งพา
วัตถุประสงค์รอง
1. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถนักศึกษาทันตแพทย์ คณาจารย์ ทันตาภิบาล ผู้ช่วยทันต
แพทย์ ให้พร้อมดูแลสุขภาพช่องปากผู้พิการ/ผู้สูงอายุภาวะพึ่งพาอย่างมีเจตคติที่ดี
2. พัฒนากระบวนทัศน์ การมีส่วนร่วมและสร้างทัศนคติที่ดีในนักศึกษาทันตแพทย์ ทันต
บุคลากรสายวิชาการ ทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อเกิดการตระหนักถึงความสำคัญของการ
ดูแลสุขภาพช่องปากผู้พิการ/ผู้สูงอายุภาวะพึ่งพา
3. พัฒนาระบบการให้บริการสุขภาพช่องปากต้นแบบและระบบส่งต่อผู้พิการแบบบูรณา
การระหว่างชุมชน โรงพยาบาลชุมชนและคณะทันตแพทยศาสตร์
4. ผลิตสื่อสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาสุขภาพช่องปากผู้พิการและกระบวนการเรียนรู้บริบทผู้
พิการผ่านการผลิตสื่อ