• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การทบทวนระบบธรรมาภิบาลในด้านการวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพ เพื่อสร้างความเข้มแข็งของระบบสุขภาพของประเทศไทย

นารีรัตน์ ผุดผ่อง; กานต์วรินต์ ก่องกุลวัฒน์;
วันที่: 2559-03
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องธรรมาภิบาลที่เกี่ยวข้องกับกำลังคนด้านสุขภาพนั้นทั้งในระดับนานาชาติและระดับประเทศนั้นยังมีไม่มาก ในประเทศไทยได้มีการกล่าวถึงเรื่องธรรมาภิบาลกันอย่างกว้างขวางในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมา โดยแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) เน้นการพัฒนาระบบบริหารจัดการประเทศให้เกิดธรรมาภิบาล โดยมีเป้าหมายประชาชนรู้สิทธิหน้าที่และมีส่วนร่วมมากขึ้นในการตัดสินใจ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมตรวจสอบระบบการบริหารจัดการด้านต่างๆ ของประเทศ ซึ่งในแผนเดียวกันนี้ได้เน้นการพัฒนาระบบสุขภาพอย่างครบวงจร ที่รวมถึงธรรมาภิบาลของระบบสุขภาพ ที่ผ่านมาระบบสุขภาพในประเทศไทยได้มีการพัฒนาธรรมาภิบาลในเชิงภาพรวมของระบบ แต่ปรากฏข้อเท็จจริงในการพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ด้าน คือ การวางแผน, การผลิต และการบริหารจัดการ ซึ่งที่ผ่านมาการดำเนินการทั้ง 3 ด้านนั้นยังมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนค่อนข้างน้อย ยกตัวอย่างเช่น การผลิตที่ต่างฝ่ายต่างทำ ไม่มีการวางแผนร่วมกันจึงทำให้ไม่สอดคล้องกับแผนพัฒนาระบบสุขภาพที่วางไว้ทำให้เกิดปัญหาการผลิตกำลังคนด้านสุขภาพไม่เพียงพอ หรือผลิตเกินความต้องการ ส่งผลให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการ เป็นต้น ดังนั้น การพัฒนาระบบธรรมาภิบาลที่เฉพาะเจาะจงกับการพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของธรรมาภิบาลของการวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพ ที่เป็นการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังและเข้มแข็งของทุกภาคส่วน น่าจะทำให้ระบบสุขภาพในภาพรวมของประเทศไทยมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ประกอบกับปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในเรื่องของความต้องการด้านสุขภาพเนื่องจากปัจจัยหลายๆ อย่าง ได้แก่ อุบัติการณ์ของโรคที่เกี่ยวเนื่องกับความยากจนซึ่งยังดำรงอยู่ อุบัติการณ์โรคใหม่ๆ (เช่น Ebola, ไข้หวัดนก) การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การเพิ่มขึ้นของโรคเรื้อรัง รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมและเศรษฐกิจต่างๆ เป็นต้น ดังนั้น การวางแผนพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพภายใต้หลักธรรมาภิบาล เพื่อให้กำลังคนด้านสุขภาพมีจำนวนเพียงพอ มีการกระจายอย่างเป็นธรรม มีสัดส่วนที่เหมาะสม และมีการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นปัจจัยหนึ่งในหลายปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาสุขภาพที่ยั่งยืนของประเทศ ที่สอดรับกับเป้าหมายสุขภาพในระดับโลกของ Post 2015 Sustainable Development Goals (SDGs) ด้วย
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2261.zip
ขนาด: 647.7Kb
รูปแบบ: application/zip
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 13
ปีพุทธศักราชนี้: 1
รวมทั้งหมด: 480
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV