dc.contributor.author | อนันต์ อัครสุวรรณกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Anan Akkharasuwankul | th_TH |
dc.contributor.author | พงค์เทพ สุธีรวุฒิ | th_TH |
dc.contributor.author | Pongthep Sutheravut | th_TH |
dc.contributor.author | ธรรมศักดิ์ โคจรนา | th_TH |
dc.contributor.author | Thammasak Kojonna | th_TH |
dc.date.accessioned | 2016-09-20T03:10:30Z | |
dc.date.available | 2016-09-20T03:10:30Z | |
dc.date.issued | 2559-09 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 10,3 (ก.ค.-ก.ย. 2559) : 289-306 | th_TH |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4548 | |
dc.description.abstract | การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(Participatory Action Research)นี้ จัดทำขึ้นเพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาและประเมินผลระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโครงการและงบประมาณ (Health information system for project and budget management, HIS4PM) ตามบทบาทภารกิจของของหน่วยงานสาธารณสุขในเขตสุขภาพที่ ๑๒ กลุ่มตัวอย่างของการศึกษานี้ได้รับการคัดเลือกอย่างเฉพาะเจาะจง โดยเป็นผู้ใช้ระบบสารสนเทศฯจาก ๗ จังหวัดในเขตสุขภาพที่ ๑๒ จังหวัดละ ๑๒ คน ซึ่งเป็นตัวแทนของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ระดับละ ๓ คน ประกอบด้วยผู้บริหาร ๑ คน ผู้รับผิดชอบงานแผนงาน ๑ คน ผู้รับผิดชอบงบประมาณ ๑ คน รวมทั้งสิ้น ๘๔ คน เก็บรวบรวมข้อมูลความต้องการในการพัฒนาระบบสารสนเทศโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก (in-depth interview) การวิเคราะห์เอกสารและระบบสารสนเทศที่มี และประเมินผลระบบสารสนเทศด้วยแบบสอบถาม
ผลการวิจัย: แนวคิดหลักในการออกแบบ HIS4PM ในครั้งนี้ คือการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database) และการพัฒนา Web-base Application เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับในเขตสุขภาพสามารถเข้าถึงข้อมูลและสามารถปรับปรุงข้อมูลแบบ Online ที่เชื่อมโยงกับขั้นตอนการทำงานจริง ทำให้สามารถ Update ข้อมูลจุดเดียว (single entry) ที่เป็นปัจจุบัน (Real time) โดยมีกระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการโครงการและงบประมาณ ๓ ขั้นตอนคือ ๑) ทบทวนการใช้โปรแกรมประยุกต์ที่ใช้อยู่เดิมและศึกษาความจำเป็นที่จะพัฒนา ๒) การศึกษาความเป็นไปได้เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงและวางแผนโครงการให้ครอบคลุมภารกิจของหน่วยงานสาธารณสุข นำเสนอกรอบของระบบงานใหม่ในระบบฐานข้อมูลที่เป็น Relational Database พิจารณาความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์ การได้ใช้ประโยชน์และวิธีการพัฒนา รวมทั้งค่าใช้จ่ายระหว่างการใช้ระบบงาน และ ๓) ดำเนินการพัฒนาระบบงานใหม่โดยใช้โปรแกรมเป็นต้นแบบ (Rapid Prototyping) ซึ่งประกอบด้วย ๓.๑) การประเมินความต้องการและการวิเคราะห์เนื้อหา โดยการรวบรวมความต้องการด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก โดยใช้โปรแกรมบริหารยุทธศาสตร์ ฉบับ Prototype เป็นเครื่องมือ ๓.๒) กำหนดวัตถุประสงค์ในการพัฒนาและ ออกแบบระบบสารสนเทศโดยใช้เทคนิคของ Data Flow Diagram และเทคโนโลยีการออกแบบเชิงวัตถุ (Object oriented design) ๓.๓) การสร้างต้นแบบ (Constructing Prototype) ๓.๔ การนำต้นแบบไปทดลองใช้ (Utilizing Prototype) เป็นระยะเวลาประมาณ ๒ เดือน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ –มีนาคม ๒๕๕๗ และสรุปหาข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบ พร้อมทั้งประเมินผลความพึงพอใจของผู้ใช้งานเบื้องต้นด้วยการสังเกตหลังสิ้นสุดระยะทดลอง ๓.๕) การติดตั้งและจัดระบบบำรุงรักษา (Installation and Maintenance System) โดยการติดตั้งโปรแกรมและการสอนวิธีการใช้งาน และ ๓.๖) ประเมินผลการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารยุทธศาสตร์โดยการใช้แบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งาน ๒๓๔ ตัวอย่าง ระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ๒๕๕๘
ผลที่ได้จากการพัฒนาระบบ HIS4PM ในแง่ของการใช้งาน พบว่า ได้ระบบ HIS4PM ที่ตอบสนองต่อการใช้สารสนเทศเทศเพื่อการติดตามกำกับแผนงาน/โครงการและงบประมาณของหน่วยงานสาธารณสุขในเขตสุขภาพที่ ๑๒ ครอบคลุมผู้ใช้งานในทุกระดับตั้งแต่ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข จนถึงผู้รับผิดชอบโครงการของหน่วยบริการ นอกจากนี้ยังพบว่า ระบบสารสนเทศ HIS4PM ที่พัฒนาขึ้นนอกจากจะสามารถลดความซ้ำซ้อนในการบันทึกข้อมูลและสามารถบันทึกข้อมูลดำเนินการ ณ จุดปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายแล้ว ฐานข้อมูลที่เป็นส่วนหนี่งของระบบยังสามารถเชื่อมโยงกันได้ในทุกระดับของหน่วยงานในเขตสุขภาพ ดังนั้น จึงทำให้ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว ตรงกับความต้องการ จึงเป็นการอำนวยความสะดวกและมีส่วนที่จะสร้างบรรยากาศให้เกิดการจัดการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ได้มากยิ่งขึ้น
จากการประเมินผลการใช้ระบบ HIS4PM โดยการใช้แบบสอบถาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นและพึงพอใจต่อระบบสารสนเทศนี้ อยู่ในระดับดีมากในทุกด้าน คือ ด้านนโยบาย การถ่ายทอดนโยบายสู่การปฏิบัติ การใช้ประโยชน์ของสารสนเทศ ความครอบคลุมของสารสนเทศ และความเหมาะสมด้านคุณลักษณะของโปรแกรม
ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ ๑) การนำระบบ HIS4PM ไปประยุกต์ใช้กับเขตสุขภาพอื่นๆ จะต้องให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนเชิงนโยบายของผู้บริหารด้วย ๒) การพัฒนาระบบ HIS4PM ในระดับประเทศ ควรคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ของหน่วยปฏิบัติงานระดับพื้นที่เป็นหลัก และ ๓) การนำระบบติดตามกำกับไปใช้ในระดับประเทศนั้น ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานของระบบข้อมูลด้วย | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | เทคโนโลยีสารสนเทศ | th_TH |
dc.subject | การบริหารโครงการ | th_TH |
dc.subject | ระบบสารสนเทศ | th_TH |
dc.subject | Information | th_TH |
dc.subject | Project management | th_TH |
dc.title | การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโครงการและงบประมาณของหน่วยงานสาธารณสุขในเขตสุขภาพที่ 12 | th_TH |
dc.title.alternative | The Development of the Health Information System for Project and Budget Management in Health Service Area 12 | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This participatory action research was undertaken to determine the process used to develop
the Health Information System for Project and Budget Management (HIS4PM) and to evaluate its
effectiveness. The HIS4PM was developed to support work related to the missions of the health
care organizations in the seven provinces in Southern Thailand under the 12th Regional Health
Service Center, also known as Health Service Area 12 (HSA 12). A sample of 84 HIS4PM users, 12
from each of the 7 provinces, was purposively selected into the study. Three representatives from
four different health care organizations in each province, namely the hospitals and the sub-district
health promoting hospitals, the provincial and the district public health centers, were chosen
to participate. The administrators of the hospital/healthcare center, the project planning staff,
and the budget department staff for each organization were specifically recruited. Qualitative
and quantitative data were gathered by using in-depth interviews, documentary studies and analyzing
the current health information system; assessing the HIS4PM development using questionnaire.
Results: The study found that the main concept employed to guide the development of the
HIS4PM web-based application was a relational database based on a Rapid Prototyping Design
Model (RPDM) in order to allow any involved users to be able to access the single entry system
and update their real time data information. There were three main steps used to develop the
HIS4PM including: 1) reviewing the current health information system and assessing what developments
were needed to improve the system; 2) determining the possibility of determining and
assessing risks during the HIS4PM system development process and to plan-out the project to
ensure that all aspects of performing work related to the project planning and budget monitoring
missions could be performed and were addressed; and 3) completing the development process
using the 6-phase rapid prototyping design model. These 6 phases included: 3.1) assessing the
needs and analyzing the content to gather the vital information regarding what needed to be
included in the new software program using the rapid prototype manual along with in-depth interviews; 3.2) setting objectives for the software design and development using the data flow diagram
and object-oriented design techniques; 3.3) constructing a prototype; 3.4) performing a trial run evaluation
of the prototype HIS4PM system for approximately two months (February-March 2015) to evaluate
the program and obtain feedback and suggestions for improving the system, as well as the preliminary
users’ level of satisfaction; 3.5) installation and maintenance of the completed system; and 3.6) evaluation
the new HIS4PM software program using the questionnaires during March-April 2015.
In terms of its effectiveness, the study discovered that the newly developed HIS4PM could help
support the project planning and budget monitoring by the public health organizations in HSA 12. The
HIS4PM was practical and facilitated performing work at all levels ranging from the level of regional
health administrators to the working users at operating units. Moreover, the newly developed HIS4PM
not only helps reduce the duplication of data records and allows all users to update data in real time from
their operational sites, but it is also able to link data from all operating sites together. Therefore, it can be
accessed rapidly, meets the users’ needs, helps facilitate working from different operating sites, and helps
promote an effective, focused work atmosphere.
HIS4PM user satisfaction was assessed using the questionnaires and found that the majority of the
users were highly satisfied with all aspects of the new HIS4PM, including the policy to provide the HIS4PM
program to every public health organization, the policy’s implementation strategy, as well as the applicability,
the completeness and the appropriateness of the HIS4PM program.
Recommendations: 1) When the HIS4PM is considered for use in other regions, it is important to
take into account the drive behind the administrators’ policy management, 2) the HIS4PM national development
process should take into account the interests and needs of the local areas’ main operating unit,
and 3) when the HIS4PM is considered for nationwide use, it still has to be subjected to the operational
standard framework of the information system. | th_TH |
dc.subject.keyword | เขตสุขภาพ | th_TH |
.custom.citation | อนันต์ อัครสุวรรณกุล, Anan Akkharasuwankul, พงค์เทพ สุธีรวุฒิ, Pongthep Sutheravut, ธรรมศักดิ์ โคจรนา and Thammasak Kojonna. "การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโครงการและงบประมาณของหน่วยงานสาธารณสุขในเขตสุขภาพที่ 12." 2559. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4548">http://hdl.handle.net/11228/4548</a>. | |
.custom.total_download | 981 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 8 | |
.custom.downloaded_this_year | 188 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 23 | |