แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การระบาดและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อหนอนพยาธิของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21

dc.contributor.authorธนเดช สัจจวัฒนาth_TH
dc.contributor.authorTanadach Sajjavattanaen_EN
dc.contributor.authorวิวัฒน์ สังฆะบุตรth_TH
dc.contributor.authorWiwat Sungkhabuten_EN
dc.date.accessioned2017-01-10T07:26:41Z
dc.date.available2017-01-10T07:26:41Z
dc.date.issued2559-12
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 10,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2559) : 394-401th_TH
dc.identifier.issn0858-9437
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4631
dc.description.abstractโรคติดเชื้อปรสิตหรือหนอนพยาธิยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขและเป็นปัญหาต่อสุขภาพของนักเรียนและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อัตราการติดเชื้อหนอนพยาธิ ประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์วิเคราะห์ลักษณะการกระจายเชิงพื้นที่ และศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อหนอนพยาธิของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21 จำนวน 8 แห่ง ระหว่างเดือนตุลาคม 2557 ถึงกรกฎาคม 2558 โดยทำการตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิ ด้วยวิธี Modified Kato-Katz technique และการสัมภาษณ์เชิงลึก พบการติดเชื้อหนอนพยาธิจำนวน 72 คน จากตัวอย่างอุจจาระที่รวบรวมได้ 871 คน คิดเป็นร้อยละ 8.27 เชื้อที่ตรวจพบคือ พยาธิปากขอร้อยละ 51.39 พยาธิใบไม้ตับร้อยละ 25.00 พยาธิใบไม้ลำไส้ขนาดกลางร้อยละ 12.50 พยาธิเเส้ม้าร้อยละ 5.56 พยาธิเข็มหมุดร้อยละ 2.78 พยาธิไส้เดือนร้อยละ1.39 และยังพบว่ามีการติดเชื้อหนอนพยาธิ 2 ชนิดในคนเดียว (พยาธิปากขอและพยาธิใบไม้ตับ) ร้อยละ 1.39เมื่อประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการจำแนกการติดเชื้อหนอนพยาธิตามการกระจายเชิงพื้นที่ของโรงเรียนแต่ละแห่งพบว่า มีการติดเชื้อหนอนพยาธิสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (กำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 5) ทั้ง 8 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 14.71, 12.30, 10.00, 8.96, 6.43, 6.14, 6.00 และ 5.41 มีลักษณะการกระจายและกระจุกตัวของชนิดหนอนพยาธิตามพื้นที่อาศัยอยู่ของเด็กนักเรียนสาเหตุสำคัญที่ทำให้นักเรียนติดเชื้อหนอนพยาธิซึ่งส่วนใหญ่ผ่านทางดิน คือสุขาภิบาลไม่ดีพอ พฤติกรรมบางอย่างของนักเรียนมีความเสี่ยงต่อการติดโรค เช่น การบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อการมีพยาธิ ผลการศึกษาในครั้งนี้เป็นข้อมูลสำคัญเพื่อกำหนดแผนยุทธศาสตร์ที่เน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพทั้งนักเรียน ผู้ปกครองและครู เพื่อแก้ปัญหาการติดเชื้อดังกล่าวth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectหนอนพยาธิth_TH
dc.subjectหนอนพยาธิ--การติดเชื้อth_TH
dc.subjectปรสิตth_TH
dc.titleการระบาดและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อหนอนพยาธิของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21th_TH
dc.title.alternativeSpatial Distribution and Risk Behaviors of Parasitic Helminth Infection among Students in the Schools under the Border Patrol Police Sub-division 21en_EN
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeParasitic helminth infection remains to be a public health problem of the students and children in remote rural areas, especially in the Northeastern part of Thailand. This survey was aimed to find out the parasitic helminth infection rate, to analyze the spatial distribution with the application of geographic information system (GIS), and to study the risk behaviors of parasitic helminth infection amongst students in eight schools under the responsibility of the Border Patrol Police (BPP) Sub-division 21. The survey was conducted during October 2014 to July 2015. The instrument for the survey was modified Kato-Katz technique for examining stool samples, and in-depth interview. The results showed that the infection rate of helminth parasites was 8.27% (72 cases from overall 871 cases). The most common species of helminth parasites found was hookworm at 51.39%. Others were Opisthorchris viverini 25.00%, Echinostoma spp. 12.50%, Enterobius vermicularis 5.56%, Trichuris trichiura 2.78%, Ascaris lumbricoides 1.39%, and co-infections of O. viverrini and hookworm 1.39%. When applying the GIS to analyze the parasitic helminth infection’s spatial distribution of the 8 BPP schools, the results showed that the parasitic helminth infection was higher than target limit of less than 5% in every school (14.71%, 12.30%, 10.00%, 8.96%, 6.43%, 6.14%, 6.00% and 5.41%). The distribution and the concentration of helminth parasite species were different in each habitat of the students. Most of the infections were caused by soil-transmitted helminths (STHs). Bad sanitation and inappropriate food consumption habits increased risk of infections. The findings of this research can be used to estimate helminth infection situation of the community and also can be applied to create strategic plans which focus on changing behaviors of students, their parents and their teachers to solve this problem.en_EN
.custom.citationธนเดช สัจจวัฒนา, Tanadach Sajjavattana, วิวัฒน์ สังฆะบุตร and Wiwat Sungkhabut. "การระบาดและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อหนอนพยาธิของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 21." 2559. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4631">http://hdl.handle.net/11228/4631</a>.
.custom.total_download3751
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month16
.custom.downloaded_this_year356
.custom.downloaded_fiscal_year53

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v10n ...
ขนาด: 320.9Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย