การโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มในรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กและเยาวชน: ช่องว่างและวิกฤตการควบคุม
dc.contributor.author | นงนุช ใจชื่น | th_TH |
dc.contributor.author | Nongnuch Jaichuen | en_EN |
dc.date.accessioned | 2017-01-10T08:02:32Z | |
dc.date.available | 2017-01-10T08:02:32Z | |
dc.date.issued | 2559-12 | |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4634 | |
dc.description.abstract | โฆษณาทางโทรทัศน์เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงเด็กและมีอิทธิพลต่อการซื้ออาหารและการบริโภคของเด็ก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มทางฟรีทีวี ในช่วงวันและเวลาที่มีรายการสำหรับเด็กและเยาวชน วิธีการศึกษา บันทึกรายการโทรทัศน์ในช่วงเวลาสำหรับเด็กและเยาวชนทางฟรีทีวี ช่อง 3, 5, 7 และ 9 เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 24 มีนาคม – 7 เมษายน 2557 ในวันจันทร์-ศุกร์ ช่วงเวลา 15.00-20.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ ช่วงเวลา 06.00-10.00 น.และ 15.00-20.00 น. คัดเลือกรายการในเวลาที่กำหนดตามการจัดระดับความเหมาะสมเป็น น (ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำแก่เด็ก) ป (เด็กปฐมวัย) ด (เด็ก 6-12 ปี) และรายการประเภท ท (ทั่วไป) ที่มีโฆษณาอาหารและเครื่องดื่ม สูงสุด 3 อันดับ รวมทั้งสิ้น 42 รายการ เมื่อนำรายการทั้งหมดมาวิเคราะห์แล้วจึงกำหนดกรอบการศึกษาโดยมุ่งวิเคราะห์เพิ่มเติมโฆษณาตรงเฉพาะโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางโภชนาการไม่เหมาะสมต่อสุขภาพ ตามหลักเกณฑ์การจำแนกอาหาร ผลการศึกษา พบว่า การโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มส่วนใหญ่โฆษณาอาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางโภชนาการไม่เหมาะสม รูปแบบการโฆษณาที่ใช้มากที่สุด คือ การใช้ผู้แสดงแบบ เช่น ดาราดังที่เป็นทั้งเด็กและผู้ใหญ่ นักกีฬา และการ์ตูน นอกจากนี้ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มอาศัยช่องว่างของกฎหมายในการโฆษณา และไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย อีกทั้งยังมีรูปแบบและเนื้อหาโฆษณาที่ไม่เหมาะสมกับเด็ก โดยกฎหมายที่บังคับใช้ในปัจจุบันยังไม่มีการควบคุมที่ครอบคลุมรูปแบบและเนื้อหาโฆษณาสำหรับเด็กอย่างเป็นรูปธรรมและชัดเจน ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพัฒนาการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด และควรจัดทำหรือปรับปรุงหลักเกณฑ์การควบคุมรูปแบบและเนื้อหาการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางโภชนาการไม่เหมาะสมต่อสุขภาพ เพื่อปกป้องและคุ้มครองสุขภาพของเด็กและเยาวชน | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | เครื่องดื่ม--มาตรฐาน | th_TH |
dc.subject | อาหาร--มาตรฐาน | th_TH |
dc.subject | อาหาร--มาตรการความปลอดภัย | th_TH |
dc.subject | การคุ้มครองผู้บริโภค | th_TH |
dc.title | การโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มในรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กและเยาวชน: ช่องว่างและวิกฤตการควบคุม | th_TH |
dc.title.alternative | Food and Beverages Advertising on Children’s Television Programs: a Loophole and Control Crisis | en_EN |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Television advertising is an effective medium for reaching young children and influencing their food purchasing and intake. The objective of this study is to explore food and beverages advertising during children’s television programs.Methods: Records of children’s free television programs on channels 3, 5, 7 and 9 was the main data collection method. Data was collected during March 24-April 7, 2014 on Monday-Friday at 03:00 p.m. to 08:00 p.m. and on Saturday-Sunday at 06:00 a.m. to 10:00 a.m. and 03:00 p.m. to 08:00 p.m. A total of 42 programs from top three programs that had the most food and drinks advertisement were selected into this study. Unhealthy food and beverages advertisement was included in the analysis. Food advertisement was organized according to the food group classification from the Nutrient Profile. The study found that the majority of the advertising of food and drink is unhealthy food and drinks advertisement. The most popular form of advertisement used by the food industry was using presenters such as celebrity children and adults, athletes, and cartoon characters. Moreover, food and beverages industries used a loophole of regulations for advertising and did not comply with the law. Inappropriate forms and contents of the advertisement for children were observed. Considering the law enforcement, there is currently no comprehensive control of forms and contents of advertisement targeting on children. Therefore, government should seriously develop the law enforcement and should prepare including update regulations and guidelines to control forms and contents of unhealthy food and beverages advertising in order to protect the health of children and youth. | en_EN |
.custom.citation | นงนุช ใจชื่น and Nongnuch Jaichuen. "การโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มในรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กและเยาวชน: ช่องว่างและวิกฤตการควบคุม." 2559. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4634">http://hdl.handle.net/11228/4634</a>. | |
.custom.total_download | 2556 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 9 | |
.custom.downloaded_this_year | 173 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 21 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ