บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภูมิคุ้มกันโรคคอตีบจากเชื้อ Corynebacterium diphtheriae, ไอกรนจากเชื้อ Bordetella pertussis และบาดทะยักจากเชื้อ Clostidium tetani ในประเทศไทย วิธีการวิจัย ในขั้นตอนแรกประเมินประสิทธิภาพของชุดตรวจแอนติบอดีต่อโรคคอตีบ บาดทะยักและไอกรนด้วยวิธี indirect ELISA (EUROIMMUN, ในประเยอรมันนี) ในตอนที่สองทำการทดสอบหาความชุกและระดับของแอนติบอดีต่อ diphtheria toxin IgG (anti-DT), tetanus toxin IgG (anti-TT) และ pertussis toxin IgG (anti-PT) ในเลือดผู้บริจาคโลหิดจำนวน 965 ราย ในปี พ.ศ. 2557 ช่วงอายุระหว่าง ≤20 และ ≥60 ปี จากจังหวัดในเครือข่ายของภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่มาจากภาคเหนือ (จำนวน 240 ตัวอย่างจากจังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก ลำปาง และนครสวรรค์), ภาคกลาง (จำนวน 243 ตัวอย่าง จากจังหวัดลพบุรี ราชบุรี ชลบุรี และกรุงเทพฯ) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จำนวน 240 ตัวอย่างจากจังหวัดขอนแก่น หนองคาย นครพนม และอุบลราชธานี) และภาคใต้ (จำนวน 242 ตัวอย่างจากจังหวัดกระบี่ สงขลา ปัตตานี และประจวบคีรีขันธ์) ผลการศึกษา ในภาพรวมของภูมิคุ้มกันในระดับป้องกันโรคได้ (>0.1 IU/ml) ของ anti-DT พบร้อยละ 62.9 [ค่าเฉลี่ย (GMT, geometric mean titer) 0.19 IU/ml, 95%CI 0.13-0.25)] และความชุกของ anti-TT พบร้อยละ 87.8 (GMT 1.16, 95%CI 0.73-1.59) ส่วนใหญ่ความชุกและระดับ anti-DT ในจังหวัดทางภาคใต้พบสูงกว่าจังหวัดทางภาคอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05, chi square และ Kruskal Wallis) ส่วนใหญ่ระดับ anti-DT และ anti-TT ลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้นจนถึงอายุ 60 ปี และกรุงเทพฯ มีความชุกของ anti-DT น้อยที่สุด (ร้อยละ 43.3) ในบางพื้นที่มีระดับ anti-DT เกือบทุกอายุอาจพบได้ เช่น นครสวรรค์ ลพบุรี และอุบลราชธานี ส่วน anti-PT ในระดับที่ป้องกันโรคยังไม่มีข้อมูลชัดเจน ในการศึกษานี้ถือว่าภูมิคุ้มกันของ anti-PT ร้อยละ 52 เมื่อเกณฑ์ที่ระดับ 5 IU/ml (ยึดตามการประเมินประสิทธิภาพวัคซีน) แต่พบเพียงร้อยละ 12.9 เมื่อเกณฑ์ที่ระดับ 40 IU/ml (ยึดตามคู่มือชุดตรวจเพื่อการวินิจฉัย) โดยที่มีค่า GMT 10.16 (95%CI 6.93-13.39) แสดงว่าประชากรไทยมีความเสี่ยงต่อโรคไอกรนสูงเนื่องจากมีความชุกของ anti-PT ต่ำ ปัจจัยเรื่องเพศไม่พบความแตกต่างของระดับแอนติบอดีจำเพาะ สรุป ข้อมูลจากการศึกษานี้ช่วยในการพิจารณาที่จะสร้างเสริมการฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันในจังหวัดที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากแอนติบอดีลดระดับหรือหายไป วัคซีนกระตุ้นในประเทศไทยที่ใช้อาจต้องคำนึงเพื่อป้องกันโรคบาดทะยัก โรคคอตีบ และรวมทั้งโรคไอกรนด้วย
บทคัดย่อ
Purpose To investigate the immunity of Diptheria from Corynebacterium diphtheriae, pertussis from Bordetella pertussis and tetanus from Clostidium tetani in Thais Subject and method Firstly, commercial kit for the detection of antibodies to diphtheria, tetanus and pertussis using indirect ELISA (EUROIMMUN, Germany) were pre-evaluated. Secondly, the seroprevalence of antibodies to diphtheria toxin IgG (anti-DT), tetanus toxin IgG (anti-TT) pertussis toxin IgG (anti-PT) were performed in 965 sera from blood volunteers in 2014, aged between <20 and >60 years, who attending at regional blood center from the North (240 sera from Chiangmai, Pitsanulok, Lampang and Nakon Sawan provinces), the Central (243 sera from Lopburi, Ratchaburi, Chonburi and Bangkok provinces), the Northeastern (240 sera from Khonkaen, Nongkhai, Nakhon Phanom and Ubon Ratchatani provinces) and the South parts (242 sera from Krabi, Songkha, Pattani and Prachuap Khiri Kan provinces). Result Overall the seroprevalence at the protective level (>0.1 IU/ml) of anti-DT was 62.9% [GMT (geometric mean titer) 0.19 IU/ml, 95%CI 0.13-0.25)] and anti-TT was 87.8% (GMT 1.16, 95%CI 0.73-1.59). Anti-DT level from provinces in the South was higher than other parts (p<0.05, Chi square and Kruskal Wallis). Anti-DT level in Bangkok was the lowest prevalence (43.3%) and low anti-DT level might be seen at all age groups in some area such as Nakornsawan, Lopburi and Ubonrachatanee provinces. Regarding to pertussis, no information of the protective level of anti-PT was documented. In this study, the prevalence of anti-PT was 52% based on the presence of antibody in subjects bearing at 5 IU/ml (criteria for vaccine trial) and was only 12.9% based on antibody at 40 IU/ml (criteria for diagnosis based on kit) with GMT of anti-PT 10.16 (95%CI 6.93-13.39). This will be implied that Thai population might be risk of pertussis due to low prevalence of anti-PT antibody. No significant difference of gender was found in these 3 specific antibodies. Conclusion The information from this study might be the useful for the consideration to stimulate the immunity by vaccination at high risk group of waning antibodies. In Thailand, booster vaccination against diphtheria, tetatnus and including pertussis should be considered in Thai adult.