แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2012 เชิงรุก ในแหล่งค้างคาวรังโรค

dc.contributor.authorสุภาภรณ์ วัชรพฤษาดีth_TH
dc.date.accessioned2017-03-20T07:49:00Z
dc.date.available2017-03-20T07:49:00Z
dc.date.issued2559-05
dc.identifier.otherhs2316
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4669
dc.description.abstractค้างคาวเป็นแหล่งรังโรคของไวรัสโคโรน่า (Coronavirus, CoV) หลายชนิด ทั้ง genus Alphacoronaviruses (alphaCoV) และ Betacoronavirus (betaCoV) ซึ่งรวมทั้งเชื้อไวรัสที่นำโรคร้ายแรงสู่คน อาทิ ซารส์ (severe acute respiratory syndrome, SARS) และ เมอร์ส (Middle East respiratory syndrome, MERS) ประเทศไทยมีรายงานการตรวจพบไวรัสสายพันธุ์ (lineage) เดียวกับ SARS-CoV ในค้างคาวหน้ายักษ์สามหลืบ (Hipposideros larvatus) และ สายพันธุ์ MERS-CoV จาก มูลค้างคาวไม่ทราบชนิด และยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยค้างคาวอย่างน้อย 139 สปีชีส์ ทั่วประเทศ ซึ่งรวมทั้งค้าวคาวไผ่ ค้างคาวลูกหนูและค้างคาวปีกถุง ที่มีรายงานการพบไวรัสสายพันธุ์เดียวกับ MERSCoV ในต่างประเทศ เพื่อสำรวจชนิดค้างคาวในประเทศไทยที่อาจเป็นแหล่งรังโรคของไวรัสสายพันธุ์ MERS-CoV คณะผู้วิจัยจึงทำการศึกษาในค้างคาวรวม 645 ตัว ในค้างคาวรวม 33 สปีชีส์ ที่เก็บตัวอย่างระหว่างปี พ.ศ.2554-2558 ในพื้นที่ 10 จังหวัด (13 แหล่ง) โดยใช้ตัวอย่างมูลค้างคาวที่เก็บโดยวิธี rectal swab นำมาสกัดสารพันธุกรรมและตรวจด้วยวิธี PCR ในตำแหน่งยีน RNA-dependent RNA polymerase ผลการตรวจพบไวรัสโคโรน่า 57 ตัวอย่าง, ร้อยละ 8.8 โดยพบไวรัส aphaCoV 19 ตัวอย่าง, betaCoV 36 ตัวอย่าง และพบไวรัส 2 genus ในค้างคาวตัวเดียวกันจำนวน 2 ตัวอย่าง ทั้งนี้พบไวรัสสายพันธุ์ MERS-CoV ซึ่งอยู่ในกลุ่ม betaCoV lineage C จำนวน 8 ตัวอย่าง จากค้างคาวไผ่หัวแบน (Tylonycteris robustula) 2 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นค้างคาว genus เดียวกับที่พบเชื้อไวรัสนี้ในประเทศจีน และค้างคาวปากย่น (Chaerephon plicata) 6 ตัวอย่าง ซึ่งยังไม่มีการรายงานมาก่อน นอกจากนี้ยังพบไวรัสสายพันธุ์ SARS-CoV จากค้างคาวมงกุฎมลายู (Rhinolophus malayanus) 2 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นค้างคาว genus เดียวกับที่พบเชื้อไวรัสนี้ในประเทศจีน การตรวจพบไวรัสสายพันธุ์ MERS-CoV และ SARS-CoV จากตัวอย่างค้างคาวในประเทศไทย เป็นสัญญาณเตือนให้มีการเฝ้าระวังการแพร่เชื้อไวรัสข้ามสายพันธุ์ไปยังสัตว์อื่นที่อาจกลายพันธุ์ติดต่อสู่คนได้ในอนาคต รวมทั้งการติดต่อสู่คนได้โดยตรง นอกเหนือไปจากความเสี่ยงจากการติดเชื้อจากผู้ป่วย MERS-CoV ซึ่งปัจจุบันพบผู้ป่วยในประเทศไทยแล้ว 2 ราย จากผู้ป่วยชาวโอมาน ซึ่งผลการถอดรหัสพันธุกรรม whole genome พบว่า จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับไวรัสที่พบการระบาดที่ประเทศเกาหลีในปี พ.ศ.2558 การตรวจวินิจฉัยสาเหตุของโรคในผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการค้นหาเชื้อโรคใหม่ๆที่อาจก่อโรคในมนุษย์จากแหล่งรังโรคตาม ธรรมชาติ จะสามารถลดขนาดและความรุนแรงของการเกิดโรคระบาดได้ในอนาคตth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectCoronavirusen_US
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2012 เชิงรุก ในแหล่งค้างคาวรังโรคth_TH
dc.title.alternativeActive surveillance of novel human betacoronavirus in batsen_US
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeBats are natural reservoirs of Coronaviruses (CoV), which includes the genera Alphacoronavirus (alphaCoV) and Betacoronavirus (betaCoV). Bat CoVs are also closely related to human pathogens such as severe acute respiratory syndrome (SARS) and the Middle East respiratory syndrome (MERS). Thailand has previously detected viruses in the same lineage as SARS-CoV, in the Hipposiderous larvatus, and MERS-CoV from unidentified bat guano. Thailand houses 139 different bat species, including Tylonycteris spp., Pipistrellus spp. and Taphozous spp. These species have been reported to carry MERS-CoV in other countries. It is thus important to conduct a study to monitor these bat species and identify the viruses they harbor. Specimens from 645 bats, 33 species, were collected between 2011 and 2015, from 10 provinces (13 locations). Rectal swabs from these bats were analyzed using PCR, specifically for the RNA-dependent RNA polymerase gene. Fifty seven (8.8%) of the samples were positive for CoV; alphaCoV (19/57) and betaCoV (36/57). Two bats were found to be coinfected with viruses of 2 different genera. Eight samples were positive for MERS-CoV lineage, which is classified under betaCoV lineage C. Two of these samples were from Tylonycteris robustula, the same bat species previously reported to harbor the virus in China. Six samples were found in the Chaerephon plicata, which has never been known to harbor CoV. Two samples from Rhinolophus malayanus were also positive for SARS-CoV lineage, also previously reported in China from the same bat genus. Detection of viruses in the same lineage of MERS-CoV and SARS-CoV in Thai bats indicates the need for vigilant zoonotic disease surveillance to monitor virus jump species to new hosts that may cause severe disease in humans or other animals, in addition to the measures in place to contain disease outbreak. Thailand’s preparedness and prompt diagnosis of the two imported (from Oman) MERS cases, whose genetic analyses from whole genome sequencing revealed to be the same strain as the outbreak in South Korea, prevented an outbreak in Thailand. Early detection for cause of disease in patient and pre-identification of new pathogens from natural reservoirs that can potentially case disease in humans can reduce the scale and severity of next outbreak.en_US
dc.identifier.callnoQW168.5.C8 ส838ก 2559
dc.identifier.contactno57-051
.custom.citationสุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี. "การเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2012 เชิงรุก ในแหล่งค้างคาวรังโรค." 2559. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4669">http://hdl.handle.net/11228/4669</a>.
.custom.total_download157
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year5
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2316.pdf
ขนาด: 3.666Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย