Factors Affecting Job Satisfaction of Health Professionals in Pakdiechumphol District, Chaiyaphum Province
dc.contributor.author | สาโรจน์ ประพรมมา | th_TH |
dc.contributor.author | Saroj Papomma | en_EN |
dc.coverage.spatial | ชัยภูมิ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2017-03-31T03:37:31Z | |
dc.date.available | 2017-03-31T03:37:31Z | |
dc.date.issued | 2560-03 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 11,1 (ม.ค.-มี.ค. 2560) : 54-63 | th_TH |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4675 | |
dc.description.abstract | การโอนย้ายของบุคลากรสาธารณสุขในเขตอำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ ได้ส่งผลกระทบต่ออัตรากำลังคนด้านสาธารณสุขเป็นอย่างมาก ซึ่งปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจที่จะคงปฏิบัติงานอยู่ในอำเภอนี้ประการหนึ่งก็คือ ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน การวิเคราะห์ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขจะทำให้ได้ข้อมูลที่อาจนำไปใช้ในการวางแผนแก้ไขปัญหาการโอนย้ายในอนาคต การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน และศึกษาระดับความพึงพอใจของบุคลากรสาธารณสุขในอำเภอภักดีชุมพล เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจ ขวัญกำลังใจ และความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุข สังกัดกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรสาธารณสุขทุกคนในอำเภอภักดีชุมพล ประกอบด้วยข้าราชการและลูกจ้าง จำนวน 164 คน ซึ่งได้รับแบบสอบถามที่กรอกด้วยตนเองผ่านหน่วยงานต้นสังกัด เก็บข้อมูลแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 อัตราการตอบกลับคิดเป็นร้อยละ 52.4 ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรสาธารณสุขส่วนใหญ่ (quantile 2; ร้อยละ 31.4) มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานในระดับปานกลาง การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ถดถอยแบบควอนไทล์ (quantile regression) พบว่าสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนร่วมงานและผู้บริหารส่งผลดีต่อบุคลากรกลุ่มที่มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง (coeff.= 3.00; 95% CI: 0.33, 5.67) ความสมดุลในชีวิตและงานส่งผลดีต่อกลุ่มที่มีความพึงพอใจในระดับสูง (coeff.=3.00; 95% CI: 1.60, 4.40) และโอกาสความก้าวหน้าในงานมีผลต่อความพึงพอใจในทุกระดับ จากผลการวิจัย มีข้อเสนอแนะว่า การเสริมสร้างความพึงพอใจแก่บุคลากรสาธารณสุข ควรคำนึงถึงความแตกต่างของระดับความพึงพอใจ กิจกรรมการพัฒนาองค์กร การสร้างพฤติกรรมและค่านิยมร่วม รวมถึงการบรรจุแต่งตั้ง และการได้รับค่าตอบแทนพิเศษด้วย | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การบริหารงานบุคคล | th_TH |
dc.subject | ความพึงพอใจในการทำงาน | th_TH |
dc.subject | บุคลากรสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Public health personnel | en_EN |
dc.title | ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่อำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ | th_TH |
dc.title.alternative | Factors Affecting Job Satisfaction of Health Professionals in Pakdiechumphol District, Chaiyaphum Province | en_EN |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Moving out from the area of health workforce affects staff shortages. Job satisfaction is the key factor in the decision to remain or move. Satisfaction analysis will lead to a plan to tackle in the future. This research aimed to identify the factors that were associated with job satisfaction and satisfaction level. The instrument was a questionnaire of motivation, morale and satisfaction in their work. All health personnel included health professional, supporting staff and employees. A questionnaire was filled out by hand. Data collection was completed in June 2013 with response rate of 52.4%. The research found that most health personnel were satisfied with the work at a moderate level (31.4% satisfied at quartile 2). Quantile regression showed that working relationships with colleagues and administrators had significant effect on satisfaction of personnel who were satisfied at a moderate level (coeff. = 3.00; 95% CI: 0.33, 5.67). Life balance had significant effect on those who had a high level of satisfaction (coeff. = 3.00; 95% CI: 1.60, 4.40), while advancement opportunities significantly influenced satisfaction at all levels. The researcher proposed that the support of health worker should take into account the different levels of customer satisfaction through organizational development, behaviors and shared value formation, including proper appointment and special compensation. | en_EN |
.custom.citation | สาโรจน์ ประพรมมา and Saroj Papomma. "ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่อำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ." 2560. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4675">http://hdl.handle.net/11228/4675</a>. | |
.custom.total_download | 2277 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 14 | |
.custom.downloaded_this_year | 118 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 23 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ