Show simple item record

Socio-demographic Characteristics of Persons at Risk of Falling into a Vicious Cycle of “Low education, Poverty and Illness”: Findings from a National Health and Welfare Survey, 2015

dc.contributor.authorจิรพันธุ์ จรัสภัทรโรจน์th_TH
dc.contributor.authorJiraphan Jaratpatthararojen_EN
dc.contributor.authorวลัยพร พัชรนฤมลth_TH
dc.contributor.authorWalaiporn Patcharanarumolen_EN
dc.contributor.authorสุพล ลิมวัฒนานนท์th_TH
dc.contributor.authorSupon Limwattananonen_EN
dc.contributor.authorจุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์th_TH
dc.contributor.authorChulaporn Limwattananonen_EN
dc.contributor.authorวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียรth_TH
dc.contributor.authorViroj Tangcharoensathienen_EN
dc.contributor.authorจเด็จ ธรรมธัชอารีth_TH
dc.contributor.authorJadej Thammatachareeen_EN
dc.contributor.authorกาญจนา ศิริโกมลth_TH
dc.contributor.authorKanjana Sirigomonen_EN
dc.date.accessioned2017-06-28T06:09:15Z
dc.date.available2017-06-28T06:09:15Z
dc.date.issued2560-06-30
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 11,2 (เม.ย.-มิ.ย. 2560) : 195-204th_TH
dc.identifier.issn0858-9437
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4730
dc.description.abstractเป้าประสงค์หลักของการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คือการทำให้ประชาชนมีสิทธิในการใช้บริการสุขภาพโดยไม่มีอุปสรรคด้านการเงิน เป็นการสร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็นสำหรับคนทุกคน และลดภาระรายจ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือน โดยปกป้องครัวเรือนไม่ให้ประสบวิกฤติทางการเงิน หรือต้องกลายเป็นครัวเรือนยากจนจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ประเทศไทยบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตั้งแต่ พ.ศ. 2545 อย่างไรก็ตาม ยังมีประชาชนบางส่วนที่ยังไม่มีประกันสุขภาพ วัตถุประสงค์ ของการศึกษาครั้งนี้คือเพื่อประมาณการจำนวนประชากรกลุ่มที่มีเศรษฐฐานะของครัวเรือนยากจนที่สุด มีการศึกษาต่ำที่สุด ไม่มีงานทำ และไม่มีสวัสดิการรักษาพยาบาล ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อวงจรอุบาทว์ “โง่ จน เจ็บ” ว่ามีมาก-น้อยเพียงใด คือใคร อยู่ที่ไหน และมีความเสี่ยงทางการเงินจากความเจ็บป่วยเพียงใด วิธีการศึกษา ใช้ข้อมูลการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2558 ซึ่งดำเนินการโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ตัวแปรที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ลักษณะทางประชากร และการใช้บริการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยกรณีผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ทางเลือกการใช้บริการเมื่อเจ็บป่วยและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่จ่ายเอง ผลการศึกษา ประชากรไทยทั่วประเทศที่มีเศรษฐฐานะครัวเรือนยากจนที่สุด การศึกษาไม่เกินระดับประถมศึกษา และไม่ได้ทำงานมีจำนวนทั้งสิ้น 2.4 ล้านคน ในประชากรเหล่านี้ ผู้ไม่มีสวัสดิการรักษาพยาบาล มีจำนวน 59,779 คน เป็นเพศหญิงมากถึงร้อยละ 86 อายุเฉลี่ย 38 ปี อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลร้อยละ 72 โดยมีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานครและภาคกลางร้อยละ 82 คนเหล่านี้เมื่อเจ็บป่วย ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 62) เลือกซื้อหายากินเองหรือใช้การแพทย์พื้นบ้าน/แผนโบราณ และเมื่อป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาล ทั้งหมด (ร้อยละ 100) เลือกโรงพยาบาลรัฐ โดยต้องจ่ายเงินเองทุกคน และมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 9,999 บาท สรุป นโยบายเชิงรับและเชิงรุกด้วยความร่วมมือจากทั้งสถานพยาบาล กระทรวงต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะช่วยบรรเทาและแก้ไขปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงในวงจรอุบาทว์ “โง่ จน เจ็บ” ให้น้อยลงจนหมดไปได้ในอนาคตth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลth_TH
dc.subjectบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectบริการทางการแพทย์th_TH
dc.titleลักษณะทางประชากรและสังคมของบุคคลที่เสี่ยงต่อวงจรอุบาทว์ “โง่-จน-เจ็บ”: ข้อค้นพบจากการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2558th_TH
dc.title.alternativeSocio-demographic Characteristics of Persons at Risk of Falling into a Vicious Cycle of “Low education, Poverty and Illness”: Findings from a National Health and Welfare Survey, 2015en_EN
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeThe ultimate aim of Universal Health Coverage (UHC) is 1) to ensure that all Thai citizens have access to essential health services when needed without financial barriers, 2) to improve equity in utilization of health services and 3) to protect households from financial catastrophe and impoverishment due to medical bills. Thailand has achieved UHC since 2001. However, some are still uninsured and may face difficulties when they need health services. Objective: This study aims to estimate the number of Thai population who were at risk of potentially falling into a vicious cycle of “low education, poverty and illness”, and identify who they are, where they live and whether they suffer from medical bill? Method: Data from the Health and Welfare Survey 2015 conducted by the National Statistical Office were utilized. The studied variables included socioeconomic, healthcare utilization of both inpatient and outpatient services, and the out of pocket payments. Result: There were about 2.4 million Thai populations identified as having lowest economic household status, educated up to primary school and had no jobs or being economically inactive. Among these vulnerable people, 59,779 had no health insurance. For this subset of population, 86 percent were female, their average age was 38 years and most of them lived in municipal or urban area, Bangkok or in the central region. When they were ill, the majority (62 percent) chose self-medication or sought traditional care or herbal medicines. For hospitalized illness, all (100 percent) admitted to public hospitals, and paid for medical bills by themselves (i.e., out of pocket) with a higher amount than those insured (Median: 9,999 Baht vs 700 Baht, respectively). Summary: Proactive and passive policies with collaboration among ministries, especially the Ministry of Public Health, the Ministry of Labour and the National Health Security Office would mitigate vulnerability of these risk groups and gradually reduce, then eliminate the vicious cycle.en_EN
dc.subject.keywordเศรษฐฐานะครัวเรือนth_TH
.custom.citationจิรพันธุ์ จรัสภัทรโรจน์, Jiraphan Jaratpatthararoj, วลัยพร พัชรนฤมล, Walaiporn Patcharanarumol, สุพล ลิมวัฒนานนท์, Supon Limwattananon, จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์, Chulaporn Limwattananon, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร, Viroj Tangcharoensathien, จเด็จ ธรรมธัชอารี, Jadej Thammatacharee, กาญจนา ศิริโกมล and Kanjana Sirigomon. "ลักษณะทางประชากรและสังคมของบุคคลที่เสี่ยงต่อวงจรอุบาทว์ “โง่-จน-เจ็บ”: ข้อค้นพบจากการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2558." 2560. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4730">http://hdl.handle.net/11228/4730</a>.
.custom.total_download1702
.custom.downloaded_today1
.custom.downloaded_this_month18
.custom.downloaded_this_year383
.custom.downloaded_fiscal_year57

Fulltext
Icon
Name: hsri_journal_v11n ...
Size: 477.5Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

Show simple item record