dc.contributor.author | จุฑาทิพ ทั่งทอง | th_TH |
dc.contributor.author | Jutatip Thungthong | en_US |
dc.contributor.author | อรอนงค์ วลีขจรเลิศ | th_TH |
dc.contributor.author | Onanong Waleekhachonloet | en_US |
dc.contributor.author | สุรัชดา ชนโสภณ | th_TH |
dc.contributor.author | Suratchada Chanasopon | en_US |
dc.contributor.author | คุณากร เอี้ยวสุวรรณ | th_TH |
dc.contributor.author | Kunakorn Aewsuwan | en_US |
dc.contributor.author | สุพล ลิมวัฒนานนท์ | th_TH |
dc.contributor.author | Supon Limwattananon | en_US |
dc.contributor.author | จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์ | th_TH |
dc.contributor.author | Chulaporn Limwattananon | en_US |
dc.contributor.author | วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร | th_TH |
dc.contributor.author | Viroj Tangcharoensathien | en_US |
dc.date.accessioned | 2017-09-28T03:54:36Z | |
dc.date.available | 2017-09-28T03:54:36Z | |
dc.date.issued | 2560-09 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 11,3 (ก.ค.-ก.ย. 2560) : 378-390 | th_TH |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4776 | |
dc.description.abstract | แม้การบรรลุระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 จะช่วยให้คนไทยทั้งประเทศเข้าถึงบริการสุขภาพได้มากขึ้น แต่ประชากรกรุงเทพฯ ก็ยังคงมีปัญหาเข้าถึงการรักษาพยาบาลมากที่สุด เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานระบบบริการสุขภาพของกรุงเทพฯ มีความแตกต่างจากต่างจังหวัด การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้บริการรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในและความจำเป็นทางสุขภาพที่ไม่ได้รับการตอบสนองสำหรับประชากรในเขตกรุงเทพฯ ใช้การศึกษาเชิงพรรณนา โดยวิเคราะห์ข้อมูลการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2558 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 5,893 คน ทำการถ่วงน้ำหนักตัวอย่างเพื่อเป็นตัวแทนประชากรทั้งเขตกรุงเทพฯ ประชากรในเขต กทม. ส่วนใหญ่เป็นผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (ร้อยละ 47.9) รองลงมาคือ สิทธิประกันสังคม (ร้อยละ 33.8) ผู้ที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีกลุ่มอายุ 15-60 ปี ร้อยละ 64.2 แต่มีสัดส่วนผู้ที่ไม่ได้ทำงานสูง (ร้อยละ 38.5) มีฐานะยากจนที่สุดพบร้อยละ 18.8 การเจ็บป่วยแบบผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเลือกวิธีการรักษาคือ ซื้อยาแผนปัจจุบัน/แผนโบราณ/หมอพื้นบ้าน (ร้อยละ 35.2) เมื่อใช้บริการที่สถานพยาบาลภาครัฐ เศรษฐฐานะระดับยากจนที่สุดมีสัดส่วนผู้ที่จ่ายเงินเองมากที่สุด คือร้อยละ 24 มัธยฐานเท่ากับ 1,500 บาท ซึ่งสูงกว่ากลุ่มที่มีฐานะร่ำรวย สำหรับการเจ็บป่วยแบบผู้ป่วยใน ผู้ป่วยที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (ร้อยละ 71.1) ส่วนใหญ่ใช้บริการที่โรงพยาบาลรัฐ เศรษฐฐานะระดับยากจนที่สุดถึงร้อยละ 32.5 ต้องจ่ายเงินเอง มัธยฐานเท่ากับ 2,000 บาท สำหรับปัญหาความจำเป็นทางสุขภาพที่ไม่ได้รับการตอบสนองพบว่า ผู้ที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีปัญหานี้ทั้งการรักษาแบบผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ร้อยละ 7.4 และ 1.3 ซึ่งมากกว่าสิทธิอื่นๆ เหตุผลหลักที่กลุ่มผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไม่ได้เข้านอนรักษาในสถานพยาบาลก็คือ ไม่มีเงินค่ารักษาพยาบาล เดินทางไม่สะดวก/อยู่ห่างไกล และไม่มีเวลาไปรับการรักษา (ร้อยละ 34.6, 22.3 และ 13.9 ตามลำดับ) ดังนั้น ในเขต กทม. โรงพยาบาลรัฐควรมีช่องทางพิเศษเพื่อให้ผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีฐานะยากจนสามารถเข้าถึงบริการ โดยลดภาระและความเสี่ยงทางเงินที่ผู้ป่วยต้องจ่ายเอง เพื่อแก้ปัญหาความจำเป็นทางสุขภาพที่ไม่ได้รับการตอบสนอง | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ | th_TH |
dc.subject | ผู้ป่วยนอก | th_TH |
dc.subject | ผู้ป่วยใน | th_TH |
dc.subject | Health service | en_US |
dc.subject | Outpatients | en_US |
dc.subject | Inpatients | en_US |
dc.title | การใช้บริการรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน และความจำเป็นทางสุขภาพที่ไม่ได้รับการตอบสนองของประชากรเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558 | th_TH |
dc.title.alternative | Utilization and Unmet Healthcare Need for Outpatient and Inpatient Services of Population Living in Bangkok Metropolitan in 2015 | en_US |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | An achievement of the Universal Health Coverage since 2002 has increased an access in health care utilization of the Thai population. However, populations in Bangkok tend to have an access problem. Basic structure of health service system in Bangkok is different from other regions. This study aims to analyze healthcare utilization and unmet health need both in outpatient (OP) and inpatient (IP) services of population in Bangkok. This is a descriptive study. The 2015 Health and Welfare Survey provided a sample of 5,893 individual persons living in Bangkok for data analysis. Majority of population in Bangkok were covered by the Universal Coverage Scheme (UC) (47.9%) and Social Security Scheme (33.8%). 64.2% of population under UC were in age group 15-60 years, however, 35.8% of them did not work and 18.8% of them were in the poorest quintile. For the OP illnesses, 35.2% of the UC had self-care, mostly by purchasing medication from drug stores. When seeking care at the public hospitals, the UC poorest quintile paid out of pocket disproportionately higher (24%) than patients of other quintiles, with the median amount 1,500 baht higher than the richer quintiles. For IP services, majority of the UC (71.1%) admitted to public hospitals. 32.5% of the poorest quintile had to pay out of pocket for the service with median amount 2,000 baht. Among UC respondents, unmet health need for services was 7.4% for OP and 1.3% for IP, higher than other schemes. The main reasons of the unmet health need for IP services among the UC were unaffordability, inconvenience in travelling, and time barrier (34.6%, 22.3%, and 13.9%, respectively) In Bangkok Metropolitan Area, public hospitals should facilitate an easy access to health services for the UC beneficiaries who had relatively low socio-economic status. This would help mitigate the unmet health need caused by financial hardship due to health payments. | en_US |
.custom.citation | จุฑาทิพ ทั่งทอง, Jutatip Thungthong, อรอนงค์ วลีขจรเลิศ, Onanong Waleekhachonloet, สุรัชดา ชนโสภณ, Suratchada Chanasopon, คุณากร เอี้ยวสุวรรณ, Kunakorn Aewsuwan, สุพล ลิมวัฒนานนท์, Supon Limwattananon, จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์, Chulaporn Limwattananon, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร and Viroj Tangcharoensathien. "การใช้บริการรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน และความจำเป็นทางสุขภาพที่ไม่ได้รับการตอบสนองของประชากรเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558." 2560. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4776">http://hdl.handle.net/11228/4776</a>. | |
.custom.total_download | 1170 | |
.custom.downloaded_today | 2 | |
.custom.downloaded_this_month | 21 | |
.custom.downloaded_this_year | 230 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 55 | |