dc.contributor.author | ศุภกร ศิริบุรี | th_TH |
dc.contributor.author | Supakorn Siriburee | en_US |
dc.date.accessioned | 2017-09-28T04:01:20Z | |
dc.date.available | 2017-09-28T04:01:20Z | |
dc.date.issued | 2560-09 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 11,3 (ก.ค.-ก.ย. 2560) : 355-368 | th_TH |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4777 | |
dc.description.abstract | โรคฟันผุและเหงือกอักเสบเป็นปัญหาสำคัญและเรื้อรังทางทันตสาธารณสุขโดยเฉพาะในเด็กและเยาวชน เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โดยเฉพาะชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นนั้น ยังขาดการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอ การศึกษานี้ได้ใช้ทฤษฎี PRECEDE Framework โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รูปแบบเป็นภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ ประชากรคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ปีการศึกษา 2558 คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณความสัมพันธ์จากค่าสัดส่วนและสุ่มตัวอย่างแบบตามสัดส่วนของขนาดโรงเรียนจำนวน 13 โรงเรียนในอำเภอแม่สาย ได้กลุ่มตัวอย่าง 375 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูลบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมสุขภาพช่องปาก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติไคสแควร์ สหสัมพันธ์เพียร์สันเพื่อหาความสัมพันธ์แบบตัวแปรเดี่ยว จากนั้นหาขนาดของความสัมพันธ์ของตัวแบบที่แบ่งคะแนนพฤติกรรมสุขภาพช่องปากเป็นต่ำ ปานกลางและสูง ด้วยสถิติถดถอยพหุแบบ multivariable ordinal logistic regression นำเสนอด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน adjusted odds ratio และ 95%CI ผลการศึกษาพบว่าเมื่อวิเคราะห์แบบตัวแปรเดี่ยว ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลช่องปากคือระดับการศึกษาของผู้ปกครอง ความรู้มีความสัมพันธ์แบบแปรผกผันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=-0.164, p=0.001) ปัจจัยที่พบว่าแปรผันตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ ทัศนคติ (r=0.119, p=0.021) ค่านิยม (r=0.152, p=0.003) และปัจจัยเสริม (r=0.392, p<0.001) เมื่อวิเคราะห์ด้วย multivariable ordinal logistic regression พบปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ประเภทโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา (adj. OR 1.70 เท่า; 95%CI 1.12-2.57, p=0.012) ผู้ปกครองที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป (adj. OR 2.58 เท่า; 95%CI 1.19-5.59, p=0.016) ค่านิยมการบริโภค (adj. OR 1.32 เท่า; 95%CI 1.04-1.68) และปัจจัยเสริมที่เพิ่มขึ้นแต่ละระดับมีพฤติกรรมการดูแลช่องปากเพิ่มขึ้น (adj. OR 1.60 เท่า; 95%CI 1.25-2.05) แต่ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นกลับทำให้พฤติกรรมการดูแลช่องปากลดลง (adj. OR 0.60 เท่า; 95%CI 0.43-0.82) ผลการศึกษานี้น่าจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ฟันผุและเหงือกอักเสบ | th_TH |
dc.subject | ฟันผุ--การป้องกันและควบคุม | th_TH |
dc.subject | ทันตกรรมเด็ก | th_TH |
dc.subject | พฤติกรรมด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Oral Health Care | en_US |
dc.subject | Oral health diseases | en_US |
dc.title | ความสัมพันธ์ของปัจจัยกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากด้วย PRECEDE Framework ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย | th_TH |
dc.title.alternative | Factors Related with Oral Health Behavior Regarding PRECEDE Framework among Students in Grade Nine, Maesai District, Chiang Rai Province | en_US |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Caries and gingivitis are major and chronic problems in dental public health especially among adolescence. In particular junior high school students, they lack continuous oral health care. The present study adopts PRECEDE model as a study’s framework to determine association of predisposing, reinforcing, and enabling factors with oral health promotion behavior in ninth graders. The study was a cross-sectional analytical design. The population was ninth graders who lived in Maesai district, Chiang Rai province during academic year of 2015. Sample size was estimated by proportion of factor. Three hundred and seventy-five students were simple randomly selected from 13 schools in Maesai district. The study instrument was a questionnaire asking general information, enabling factors, predisposing factors, reinforcing factors, and oral health behavior. Data analyses were performed using descriptive statistics, chi-square, Pearson’s correlation for univariate, and multivariate ordinal logistic regressions were used to analyze adjusted effects of independent factors. Data were presented using Pearson’s correlation coefficient, adjusted odds ratio and 95% confidence interval. The results revealed that parent’s education had significant association with oral health behaviors. Correlation analyses found that knowledge had a significant inverse correlation with oral behavior (r=-0.164, p=0.001). While attitude, values, and enabling factors had significant positive correlations with oral health behavior (r=0.119, p=0.021; r=0.152, p=0.003; and r=0.392, p<0.001 respectively). By multivariate analysis, fac¬tors that positively affected on oral health behavior were the opportunity expansion school with the highest education of grade 9 (adj. OR 1.70; 95%CI 1.12-2.57, p=0.012), parent with graduate degree compared to those with no/primary school education (adj. OR 2.58; 95%CI 1.19-5.59, p=0.016), value of food consumption (adj. OR1.32; 95%CI 1.04-1.68), and enabling factors (adj. OR 1.60; 95%CI 1.25- 2.05). But knowledge negatively affected on behavior (adj. OR 0.60; 95%CI 0.43-0.82). These findings will facilitate planning and guidance for dentistry personnel in changing oral health behaviors among grade 9 students. | en_US |
.custom.citation | ศุภกร ศิริบุรี and Supakorn Siriburee. "ความสัมพันธ์ของปัจจัยกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากด้วย PRECEDE Framework ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย." 2560. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4777">http://hdl.handle.net/11228/4777</a>. | |
.custom.total_download | 14207 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 118 | |
.custom.downloaded_this_year | 1213 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 200 | |