บทคัดย่อ
โรคไตวายระยะสุดท้ายมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและเป็นสาเหตุของค่าใช้จ่ายที่สูงมากในระบบสาธารณสุข การป้องกันการเกิดโรคไตวายระยะสุดท้าย คือ การตระหนักรู้โรคตั้งแต่ระยะแรกและการให้การรักษาอย่างเหมาะสม โรคไตอักเสบโกลเมอรูลัสเป็นสาเหตุของโรคไตวายระยะสุดท้ายที่พบได้บ่อยอันดับสามในประเทศไทย เครือข่ายโรคโกลเมอรูลัสแห่งประเทศไทยก่อตั้งมาเพื่อศึกษาระบาดวิทยาและผลลัพธ์อาการทางคลินิกของโรคโกลเมอรูลัส เพื่อพัฒนาส่งเสริมระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยให้ดีขึ้น วิธีการ: เครือข่ายโรคโกลเมอรูลัสแห่งประเทศไทยเริ่มต้นจากโรงพยาบาลในระดับตติยภูมิ 9 แห่ง และปัจจุบันเพิ่มเป็น 20 แห่ง รูปแบบการศึกษาเป็นแบบการศึกษาจากเหตุไปหาผลแบบไปข้างหน้าในผู้ใหญ่ที่ได้รับการตรวจชิ้นเนื้อไตในช่วงกรกฎาคม 2557 ถึง มีนาคม 2560 จากโปรแกรมออนไลน์รีจิสตรี โดยเก็บข้อมูลทางด้านคลินิก ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลทางพยาธิวิทยา และผลลัพธ์อาการทางคลินิก ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่รวบรวมได้จำนวน 1,556 ราย ในช่วง วันที่ 1 ก.ค. 2557 - มีนาคม 2560 เป็นเพศหญิงต่อเพศชาย 1.88 ต่อ 1 อายุเฉลี่ย 43.4+16 ปี ระดับซีรั่มครีอะตินินเฉลี่ย 2.11+19 มก./ดล. อัลบูมินเฉลี่ย 2.9+0.8กรัม/ดล. คลอเลสเตอรอลเฉลี่ย 294+131 มก./ดล. ปริมาณโปรตีนในปัสสาวะเฉลี่ย 3.7 กรัม/วัน (0.02-25.3) ผู้ป่วยมาด้วยอาการเนโฟรติกซินโดรม (nephrotic syndrome) ร้อยละ 40 อาการเนไฟรติส (nephritis) ร้อยละ 21.7 อาการร่วมของ เนโฟรติกเนไฟรติส (nephrotic nephritis) ร้อยละ 19.4 มีการทำงานของไตผิดปกติ (ซีรั่มครีอะตินิน > 1.2 มก./ดล.) ร้อยละ 60.8 ผลตรวจทางพยาธิวิทยาไต พบโรคดังต่อไปนี้ ร้อยละ 33.9 โรคไตอักเสบลูปัส ร้อยละ 13.5 โรค IgA nephropathy (IgAN) ร้อยละ 10.5 โรค focal segmental glomerulosclerosis (FSGS) ร้อยละ 7.4 โรค minimal change disease (MCD) และร้อยละ 7.1 โรค membranous nephropathy (MN) อายุเฉลี่ยของโรค คือ 34.9, 39.4, 47.7, 46.5 และ 52.6 ปี ตามลำดับระดับซีรั่มครีอะตินินเฉลี่ยขณะตรวจชิ้นเนื้อไต คือ 1.08, 1.76, 1.65, 1.02 และ 0.95 มก./ดล. ตามลำดับบทสรุป: การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าโรคที่พบบ่อยจากผลการตรวจชิ้นเนื้อไต ได้แก่ โรคไตอักเสบลูปัส, IgAN, FSGS, MCD และ MN ผลลัพธ์ทางคลินิกและการพยากรณ์โรคเหล่านี้จะแสดงในรายงานฉบับสมบูรณ์ ในปีที่ 2 เรากำลังดำเนินการจัดทำข้อแนะนำเวชปฏิบัติทั่วไปโรคไตโกลเมอรูลัส FSGS และ MCD พ.ศ. 2560 สำหรับผู้ป่วยผู้ใหญ่ในประเทศไทย
บทคัดย่อ
Background: End stage renal disease (ESRD) affects the quality of life and causes the high cost in health care system. The prevention of ESRD is the early recognition and appropriate treatment. Glomerulonephritis is the third most common cause of ESRD in Thailand. Thai Glomerular Disease Collaborative Network (TGCN) was established to evaluate the epidemiology and clinical outcomes in the glomerular diseases and helped to promote the good system to taking care of these patients. Methods: TGCN originally consists of 9 tertiary care centers and expands to 20 hospitals. We conducted a prospective cohort study in the adults’ native kidney biopsy proven glomerular diseases between July 2014 and Mar 2017. The clinical and laboratory parameters at the time of biopsy, pathologic findings, treatment regimens and clinical outcomes were recorded via on-line registry. Results: We recruited 1,556 patients performed native kidney biopsy during Jul 1, 2014 to Mar, 2017. The female to male ratio was 1.88:1. The average age, creatinine, albumin, and cholesterol were 43.4+16 years, 2.11+19 mg/dL, 2.9+0.8 g/dL, and 294+131 mg/dL in respectively. The median proteinuria was 3.7 (0.02-25.3) g/day. The patients presented with 40% of nephrotic syndrome, 21.7% of nephritis, 19.4% of nephrotic nephritis, and 60.8% of renal impairment (creatinine>1.2 mg/dL). The renal pathological findings showed 33.9% of LN, 13.5% of IgAN, 10.5% of FSGS, 7.4% of minimal change disease(MCD), and 7.1% of membranous nephropathy (MN). The mean age of LN, IgAN, FSGS, MCD, and MN were 34.9, 39.4, 47.7, 46.5 and 52.6 years. The median creatinine at biopsy of LN, IgAN, FSGS, MCD, and MN were 1.08, 1.76, 1.65, 1.02 and 0.98 mg/dL. Conclusion: Our study described the common renal pathological findings including LN, IgAN, FSGS, MCD, and MN. The clinical outcomes and prognosis of these diseases were described in the complete report. In the second year, we have performed the recommendation for management in glomerular disease, FSGS and MCD in adult Thai patients.