Show simple item record

Necessity of hospital visit: comparing patient and doctor perspectives

dc.contributor.authorอุดมศักดิ์ แซ่โง้วth_TH
dc.contributor.authorอภิชัย วรรธนะพิศิษฐ์th_TH
dc.contributor.authorรัตติยา อักษรทองth_TH
dc.contributor.authorUdomsak Saengowen_EN
dc.contributor.authorApichai Wattanapisiten_EN
dc.contributor.authorRuttiya Asksonthongen_EN
dc.date.accessioned2017-11-27T03:11:39Z
dc.date.available2017-11-27T03:11:39Z
dc.date.issued2560-07
dc.identifier.isbn9786161135379
dc.identifier.otherhs2376
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4805
dc.description.abstractหนึ่งในข้อโต้แย้งสำคัญที่มักถูกยกขึ้นมาจากฝ่ายผู้ให้บริการเพื่อคัดค้านการให้การรักษาฟรีภายใต้นโยบาย หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ว่า การที่รัฐบาลจัดการรักษาฟรีให้แก่ประชาชนนำไปสู่การเข้ารับบริการที่ไม่จำเป็นหรือเกินความจำเป็น (unnecessary visit) จำนวนมาก ทำให้ผู้ป่วยไม่ดูแลสุขภาพตัวเองและเป็นภาระต่องบประมาณทางสาธารณสุขของประเทศ ขณะที่ในมุมมองของผู้ป่วยหรือประชาชนการมารับการรักษาพยาบาลไม่ใช่กิจกรรมเพื่อความสนุก การมาโรงพยาบาลเป็นเพราะความจำเป็นทางสุขภาพ ความเห็นที่ขัดแย้งกันนี้ยังไม่มีข้อมูลที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์มาพิสูจน์เป็นเพียงความคิดเห็นจากมุมมองของฝ่ายต่างๆ เท่านั้น งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อประมาณการและเปรียบเทียบการเข้าถึงบริการที่ไม่จำเป็นจากมุมมองของผู้ป่วยและแพทย์ รวมถึงศึกษาว่าการเจ็บป่วยในลักษณะใดที่นำมาซึ่งการเข้าถึงบริการที่ไม่จำเป็น ผลของปัจจัยต่างๆ ต่อมุมมองต่อความจำเป็นที่แตกต่างกัน และศึกษาว่าหากมีการนำการร่วมจ่ายซึ่งเป็นข้อเสนอสำคัญเพื่อลดการเข้ารับบริการที่ไม่จำเป็นมาใช้จะส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ารับบริการของผู้ป่วยอย่างไร เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่รอบด้าน งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณโดยการสำรวจ และเชิงคุณภาพโดยการอภิปรายกลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวนกลุ่มตัวอย่างของการสำรวจเป็นผู้ป่วยทั้งสิ้น 1,060 ราย และแพทย์ทั้งสิ้น 56 ราย จาก 6 โรงพยาบาลในจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งประกอบด้วยโรงพยาบาลศูนย์ 1 แห่ง โรงพยาบาลทั่วไป 2 แห่ง และโรงพยาบาลชุมชน 3 แห่ง ผู้ป่วยจะถูกสัมภาษณ์โดยพนักงานเก็บข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับการเข้ารับบริการทางการแพทย์และข้อมูลการเจ็บป่วยในครั้งที่ถูกสัมภาษณ์ และการประเมินความจำเป็นในการเข้ารับการรักษาพยาบาลครั้งที่ถูกสัมภาษณ์ แพทย์ที่ตรวจผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจะได้รับแบบสอบถามแบบกรอกเอง แบบสอบถามของแพทย์ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล และความจำเป็นในการเข้ารับการรักษาของกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่แพทย์ตรวจ กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเชิงคุณภาพมีจำนวน 29 ราย จาก 4 โรงพยาบาล (โรงพยาบาลทั่วไป 2 แห่ง และโรงพยาบาลชุมชน 2 แห่ง) ซึ่งถูกเชิญมาเข้ากลุ่มเพื่ออภิปรายตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ผู้ป่วยบางรายที่ไม่สะดวกเข้าร่วมอภิปรายกลุ่ม จะถูกเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.titleความจำเป็นในการเข้ารับบริการรักษาพยาบาลจากมุมมองของผู้ป่วยและแพทย์th_TH
dc.title.alternativeNecessity of hospital visit: comparing patient and doctor perspectivesen_EN
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoW84 อ786ค 2560
dc.identifier.contactno59-048
.custom.citationอุดมศักดิ์ แซ่โง้ว, อภิชัย วรรธนะพิศิษฐ์, รัตติยา อักษรทอง, Udomsak Saengow, Apichai Wattanapisit and Ruttiya Asksonthong. "ความจำเป็นในการเข้ารับบริการรักษาพยาบาลจากมุมมองของผู้ป่วยและแพทย์." 2560. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4805">http://hdl.handle.net/11228/4805</a>.
.custom.total_download858
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year9
.custom.downloaded_fiscal_year22

Fulltext
Icon
Name: hs2376.pdf
Size: 6.491Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record