บทคัดย่อ
การพัฒนาระบบแสดงผลข้อมูลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายบนอินเตอร์เน็ต เป็นระบบเสริมจากการนำเสนอในรูปแบบรายงานผลการสำรวจ โดยผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทางเว็บไซต์ และสามารถเลือกข้อมูลรวมถึงตัวแปรเพื่อการเปรียบเทียบได้ตามต้องการ รวมถึงการแสดงข้อมูลแนวโน้ม เปรียบเทียบระหว่างครั้งของการสำรวจ ทั้งนี้ข้อมูลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ที่ใช้นำเสนอในระบบแสดงผลข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต ที่พัฒนาขึ้นนี้เป็นข้อมูลการสำรวจครั้งที่ 3 ปี 2547 ครั้งที่ 4 ปี 2552 และครั้งที่ 5 ปี 2557 โดยมีรายการข้อมูลผลลัพธ์ที่นำเสนอในระบบรวม 17 หมวด 63 รายการข้อมูล แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ข้อมูลประเภทสัดส่วน (Proportion) สัดส่วนหลายกลุ่ม (Multinomial proportion) และค่าเฉลี่ย (Mean) การประมวลผลข้อมูลเพื่อเตรียมข้อมูลสำหรับการแสดงผลข้อมูลในระบบ เป็นการประมวลผลล่วงหน้าจากข้อมูลรายบุคคลของการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายแต่ละครั้ง ซึ่งเป็นการประมวลผลข้อมูลแบบกึ่งอัตโนมัติ จากชุดคำสั่งในการประมวลผลข้อมูล เพื่อให้ได้ตารางข้อมูลสรุปที่พร้อมสำหรับนำเข้าสู่ระบบแสดงผลข้อมูลต่อไป ในการออกแบบและพัฒนาระบบแสดงผลข้อมูลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายนั้น ผู้ใช้สามารถเลือกข้อมูลและตัวแปรในการจำแนกได้ตามต้องการ โดยสามารถเลือกตัวแปรจำแนกได้ 1 ตัว หรือ 2 ตัว ในกรณีแสดงผลข้อมูลการสำรวจแต่ละครั้ง และสามารถเลือกตัวแปรจำแนกได้ 1 ตัว กรณีแสดงข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างครั้งของการสำรวจ โดยตัวแปรจำแนก ประกอบด้วย เพศ กลุ่มอายุ ภาค และเขตการปกครอง ทั้งนี้ รูปแบบการแสดงผลข้อมูลของระบบ จะอยู่ในรูปแบบของกราฟแท่ง สำหรับข้อมูลประเภทสัดส่วนและค่าเฉลี่ย และกราฟแท่งแบบ stack bar สำหรับข้อมูลประเภทสัดส่วนหลายกลุ่ม โดยสามารถส่งออกกราฟในรูปแบบของไฟล์รูปภาพ ไฟล์เอกสาร และตารางข้อมูล (Excel) เพื่อการนำไปใช้งานต่อในลักษณะอื่นได้พร้อมแสดงจำนวนตัวอย่างของการสำรวจ สำหรับข้อมูลแต่ละตัว เพื่อประกอบการใช้งานและอ้างอิงมุมมองของข้อมูลและการใช้ประโยชน์มีได้หลายลักษณะ ได้แก่ การแสดงกลุ่มประชากรเป้าหมายและพื้นที่เป้าหมายของปัญหาสุขภาพ การแสดงการกระจายของระดับความรุนแรงของปัญหาสุขภาพ และการแสดงแนวโน้มของปัญหาสุขภาพ เป็นต้น โดยสามารถใช้ประโยชน์ได้ ทั้งสำหรับผู้ใช้ทั่วไปและนักวิชาการที่ทำงานขับเคลื่อนเชิงประเด็นหรือเชิงระบบ ที่สามารถนำข้อมูลไปขยายผลต่อยอดในการขับเคลื่อนเชิงประเด็นหรือเชิงระบบต่อไป รวมถึงการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องสำหรับการบำรุงรักษาระบบและเพิ่มเติมข้อมูลการสำรวจในอนาคต สามารถปรับปรุงและเพิ่มเติมข้อมูลการสำรวจครั้งต่อไปได้ โดยการปรับตารางอ้างอิง ปรับตัวแปรในตารางอ้างอิงให้สอดคล้องกับข้อมูลรายบุคคลของการสำรวจครั้งต่อไป โดยมีชุดคำสั่งที่ใช้ในการเตรียมข้อมูลและประมวลผลข้อมูลแบบกึ่งอัตโนมัติ เพื่อนำเข้าข้อมูลในรูปแบบตารางสรุปสู่ระบบแสดงผลข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตต่อไปได้ โดยไม่ต้องพัฒนระบบขึ้นมาใหม่
บทคัดย่อ
Development of data visualization system for the National Health Examination Survey data on the internet is a data presentation platform in addition to traditinal survey report. Users of the system can access via the internet and can select data and related variables for comparision as well as compare data over time between survey rounds. The National Health Examination Survey data used in this system consists of 3 rounds including the 3rd round in 2004, the 4th round in 2009 and the 5th round in 2014. This data visualization system presents 17 groups and 63 lists of outcome data. There are 3 types of outcome data consisting of proportion, multinomial proportion and mean. Data analysis for preparing data to be used in data visualization system is pre-calculated data from individual survey data for each survey round. It is a semi-automated process using ready-to-use command scripts that create summary tables to be further imported into the data visualization system. The design and development of data visualization system focuses on the flexibility of data selection and variables selection for disaggregation that can be 1 variable or 2 variables for presenting one particular round of survey data or one variable for presenting overtime comparison across 2 or 3 survey rounds. The variables for disagregation consist of sex, age group, region and administrative type of area. The data presentation is in form of bar chart for proportion and mean while stack bar chart is used for multinomial proportion. Graphs created by the system can be exported into image file, document file and spreadsheet file (Excel) for futher use in other platform. The system also provides the number of samples for each data disaggregated by selected variables for further use and reference. The aspect and use of data can be various such as indicating target population and area for each health problem, indicating distribution of severity of selected health problem and indicating trend of health problems over time. The access and use of the system covers general users as well as specific technical users related to specific health topics or health systems. Data presented in the system can be extended to further health movement and relevant policy recommendation. For system maintenance and updating of survey data in the future, the system allows modification and addition of new data by adjusting reference table and variables. The command script for preparing and analyzing data is semi-automated process creating new summary data for importing into data visualization system on the internet without need for development of new system.