ปริมาณและมูลค่าการสั่งยาต้านแบคทีเรียแก่ผู้ป่วยนอกในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
dc.contributor.author | นพคุณ ธรรมธัชอารี | th_TH |
dc.contributor.author | Noppakun Thammatacharee | th_TH |
dc.contributor.author | อรอนงค์ วลีขจรเลิศ | th_TH |
dc.contributor.author | Onanong Waleekhachonloet | th_TH |
dc.contributor.author | จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์ | th_TH |
dc.contributor.author | Chulaporn Limwattananon | th_TH |
dc.date.accessioned | 2018-01-03T03:29:01Z | |
dc.date.available | 2018-01-03T03:29:01Z | |
dc.date.issued | 2560-12 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 11,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2560) : 471-480 | th_TH |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4811 | |
dc.description.abstract | ที่มา: การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างไม่สมเหตุผลมีผลทำให้เกิดโรคติดเชื้อที่ดื้อต่อยาต้านจุลชีพ เป็นปัญหาทั้งทางสุขภาพและทางเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์ปริมาณและมูลค่าการใช้ยาต้านแบคทีเรีย (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยาต้านจุลชีพ) ที่จ่ายให้ผู้ป่วยนอก สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลการสั่งใช้ยาต้านแบคทีเรียในแผนกผู้ป่วยนอกที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของสถานพยาบาลระดับต่างๆ ไม่รวมเขตกรุงเทพมหานคร จากฐานข้อมูลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2556 และข้อมูลการผลิตและการนำเข้ายาต้านแบคทีเรีย ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ปี พ.ศ. 2556 โดยวิเคราะห์ปริมาณการสั่งใช้ยาในรูปแบบของปริมาณยาโดยเฉลี่ยสำหรับการรักษาต่อวันตามขนาดข้อบ่งใช้หลัก (defined daily dose; DDD) และมูลค่ายา ผลการศึกษา: การจ่ายยาต้านแบคทีเรียในแผนกผู้ป่วยนอกปี 2556 รวมคิดเป็น 117.3 ล้าน DDD หรือมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 7.1 DDD ต่อ 1,000 ประชากรต่อวัน จำนวนใบสั่งยาที่มียาต้านแบคทีเรียคิดเป็นร้อยละ 19 ของใบสั่งยาที่จ่ายให้ผู้ป่วยนอกทั้งหมด ซึ่ง Amoxycillin เป็นยาที่มีสัดส่วนการจ่ายมากที่สุด (ร้อยละ 50) คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 215 ล้านบาท โดยเป็นการสั่งจ่ายจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมากที่สุด (ร้อยละ 52) จังหวัดที่มีการสั่งจ่ายยาต้านแบคทีเรียรูปแบบรับประทานในปริมาณสูงได้แก่ แม่ฮ่องสอน พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม และพัทลุง สรุปผลการศึกษา: ปริมาณและมูลค่าของการใช้ยาต้านแบคทีเรีย ของสถานพยาบาลต่างๆ เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญในการประเมินและเฝ้าระวังการใช้ยาต้านแบคทีเรีย ทั้งนี้ การติดตามการใช้ยาต้านแบคทีเรียจากภาคส่วนต่างๆ ในระบบหลักประกันสุขภาพของรัฐทุกระบบเป็นแนวทางที่สำคัญในการเฝ้าระวังปัญหาการใช้ยาอันจะนำไปสู่การใช้ยาต้านแบคทีเรียอย่างสมเหตุผลของประเทศได้ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ | th_TH |
dc.subject | สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า | th_TH |
dc.subject | ยาปฏิชีวนะ | th_TH |
dc.subject | การดื้อยา | th_TH |
dc.subject | ยา--การควบคุมและป้องกันการดื้อยา | th_TH |
dc.subject | ยา--การดื้อยา | th_TH |
dc.subject | การดื้อยาต้านจุลชีพ | th_TH |
dc.subject | Antimicrobial | th_TH |
dc.subject | Universal Health Coverage | th_TH |
dc.subject | drug prescription | th_TH |
dc.subject | drug cost | th_TH |
dc.title | ปริมาณและมูลค่าการสั่งยาต้านแบคทีเรียแก่ผู้ป่วยนอกในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า | th_TH |
dc.title.alternative | Antibacterials Prescribed to Universal Health Coverage Beneficiaries in Outpatient Departments, Thailand | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Irrational use of antimicrobials is a major problem that leads to antimicrobial resistance. Examining patterns and amounts of antibacterials prescribed from health facilities is one strategy to monitor antimicrobial use. Method: This study employed claims data of the National Health Security Office and pharmaceutical manufacture and imports of the Food and Drug Administration in 2013 to calculate amounts and costs of antibacterials prescribed in outpatient departments. Findings: The total amount of antibacterials prescribed to outpatients in 2013 was 117.3 million defined daily doses or 7.1 DDDs per 1,000 population per day. Prescriptions with antibacterial agents accounted for 19% of all outpatient prescriptions. Amoxicilin was prescribed the most at the amount 58.7 million DDDs and costed 215 million Baht. Health centres were the main prescribers using 52% of the overall antibacterial use. Mae Hong Son, Ayutthaya, Samut Songkhram and Phatthalung were found to have high proportions of prescribed antibacterials. Conclusion: Monitoring antibacterial uses should be integrated in the national drug surveillance in addition to the normal reporting system of pharmaceutical manufacture and imports. | th_TH |
.custom.citation | นพคุณ ธรรมธัชอารี, Noppakun Thammatacharee, อรอนงค์ วลีขจรเลิศ, Onanong Waleekhachonloet, จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์ and Chulaporn Limwattananon. "ปริมาณและมูลค่าการสั่งยาต้านแบคทีเรียแก่ผู้ป่วยนอกในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า." 2560. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4811">http://hdl.handle.net/11228/4811</a>. | |
.custom.total_download | 9079 | |
.custom.downloaded_today | 2 | |
.custom.downloaded_this_month | 58 | |
.custom.downloaded_this_year | 1053 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 176 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ