Show simple item record

The Integration of Monitoring and Evaluation Mechanism for Public Awareness of Antimicrobial Resistance into the Health and Welfare Survey

dc.contributor.authorสุณิชา ชานวาทิกth_TH
dc.contributor.authorSunicha Chanvatiken_EN
dc.contributor.authorอังคณา สมนัสทวีชัยth_TH
dc.contributor.authorAngkana Sommanustweechaien_EN
dc.contributor.authorพรรัชดา มาตราสงครามth_TH
dc.contributor.authorPohnratchada Mattrasongkramen_EN
dc.contributor.authorวรณัน วิทยาพิภพสกุลth_TH
dc.contributor.authorWoranan Witthayapipopsakulen_EN
dc.contributor.authorวลัยพร พัชรนฤมลth_TH
dc.contributor.authorWalaiporn Patcharanarumolen_EN
dc.contributor.authorอภิชาติ ธัญญาหารth_TH
dc.contributor.authorApichart Thunyahanen_EN
dc.contributor.authorวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียรth_TH
dc.contributor.authorViroj Tangcharoensathienen_EN
dc.date.accessioned2018-01-03T06:21:54Z
dc.date.available2018-01-03T06:21:54Z
dc.date.issued2560-12
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 11,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2560) : 551-563th_TH
dc.identifier.issn0858-9437
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4817
dc.description.abstractการดื้อยาต้านจุลชีพ (antimicrobial resistance: AMR) เป็นปัญหาระดับโลกที่คุกคามต่อความมั่นคงด้านสาธารณสุขและด้านเศรษฐกิจ มีการคาดการณ์ว่า หากไม่มีการแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง ในอีก 33 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2593) จะมีผู้เสียชีวิตทั่วโลกจากเชื้อแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพสูงถึงปีละ 10 ล้านคน และทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ต่ำลงร้อยละ 3.8 คิดเป็นผลกระทบทางเศรษฐกิจสูงถึงประมาณ 3,500 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ สาเหตุหลักของการเกิดแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพ คือ การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างไม่สมเหตุสมผล ปัจจัยหนึ่งเกิดจากผู้สั่งใช้ยาและผู้บริโภคยาขาดความรู้หรือความเข้าใจในการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม ประเทศไทยได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564 หนึ่งใน 5 เป้าประสงค์ของแผนยุทธศาสตร์ คือ การทำให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการควบคุมแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพและการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ดังนั้นเพื่อให้สามารถติดตามความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการควบคุมแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพและการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมตามเป้าประสงค์ที่ 4 ของแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย การออกแบบวิธีการวัดข้อมูลพื้นฐาน (baseline data) จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (ก) อธิบายวิธีการพัฒนาข้อคำถามเพื่อประเมินความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักถึงการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม และ (ข) อธิบายกระบวนการนำข้อคำถามเหล่านี้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจครัวเรือนของประเทศไทย ข้อคำถามดังกล่าวถูกพัฒนาโดยอ้างอิงจากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในสหภาพยุโรป ประเภทพิเศษหมายเลข 445 (Special Eurobarometer 445) จากนั้นจึงทำการประสานงานกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ เพื่อบรรจุข้อคำถามดังกล่าวในแบบสำรวจอนามัยและสวัสดิการของครัวเรือน พ.ศ. 2560 ของประเทศไทย ปัจจัยที่ทำให้เกิดการพัฒนาข้อคำถามและการนำข้อคำถามเหล่านั้นไปเป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ ปี พ.ศ. 2560 ได้ คือการเห็นความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาการดื้อยาต้านแบคทีเรียที่เพิ่มขึ้นทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ ความเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564 และการประสานความร่วมมือระหว่างสำนักงานสถิติแห่งชาติและสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีกลไกในการติดตามความคืบหน้าและประเมินผลการทำงานตามแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพของประเทศไทยได้ต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectยาปฏิชีวนะth_TH
dc.subjectการดื้อยาth_TH
dc.subjectยา--การควบคุมและป้องกันการดื้อยาth_TH
dc.subjectยา--การดื้อยาth_TH
dc.subjectการดื้อยาของจุลชีพth_TH
dc.titleการผนวกกลไกการติดตามและประเมินความรู้และความตระหนักของประชาชนเกี่ยวกับแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพเข้าสู่การสำรวจอนามัยและสวัสดิการth_TH
dc.title.alternativeThe Integration of Monitoring and Evaluation Mechanism for Public Awareness of Antimicrobial Resistance into the Health and Welfare Surveyen_EN
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeAntimicrobial resistance (AMR) is one of the most serious health threats worldwide, including Thailand. It has been estimated that failing to tackle AMR will result in up to 10 million deaths a year, a 3.8% decrease in Gross Domestic Product (GDP) and the world economy losses of US$100 trillion by 2050. Irrational drug use is a major cause of AMR and the factor associated with irrational use of drugs includes incorrect and inappropriate use of medicines. In addition, Thailand has developed the National Strategic Plan on Antimicrobial Resistance 2017-2021 (NSP-AMR). One of the five goals of NSPAMR is to increase 20% of public knowledge and awareness on control of AMR bacteria and appropriate use of antimicrobials. In order to monitor public awareness on AMR (Goal 4), it is important to design method to obtain baseline data to benchmark changes after the NSP-AMR implementation. National Statistical Office (NSO) has conducted the biannual Health and Welfare Survey (HWS) and the most current was in 2017 to incorporate the AMR module, a modified version of the Eurobarometer 445 reviewed by International Health Policy Program (IHPP) under Thailand’s Ministry of Public Health (MOPH). The key indicators such as knowledge about antibiotics, exposures to message on AMR and rational use of antibiotics would be generated. The integration of AMR module into HWS 2017 was achieved because of the rising concern on AMR at global and national level, linkage to NSP goals and the cooperation between NSO and IHPP, in order to generate baseline data among the population in Thailand. This would contribute to the monitoring of progress on the goal of NSP-AMR.en_EN
dc.subject.keywordAntimicrobialen_EN
dc.subject.keywordการดื้อยาต้านจุลชีพth_TH
.custom.citationสุณิชา ชานวาทิก, Sunicha Chanvatik, อังคณา สมนัสทวีชัย, Angkana Sommanustweechai, พรรัชดา มาตราสงคราม, Pohnratchada Mattrasongkram, วรณัน วิทยาพิภพสกุล, Woranan Witthayapipopsakul, วลัยพร พัชรนฤมล, Walaiporn Patcharanarumol, อภิชาติ ธัญญาหาร, Apichart Thunyahan, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร and Viroj Tangcharoensathien. "การผนวกกลไกการติดตามและประเมินความรู้และความตระหนักของประชาชนเกี่ยวกับแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชีพเข้าสู่การสำรวจอนามัยและสวัสดิการ." 2560. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4817">http://hdl.handle.net/11228/4817</a>.
.custom.total_download902
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month16
.custom.downloaded_this_year34
.custom.downloaded_fiscal_year48

Fulltext
Icon
Name: hsri_journal_v11n ...
Size: 325.0Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1327]
    บทความวิชาการ

Show simple item record