Show simple item record

Zika Incidence among Patients with Suspected Dengue Fever (Preliminary Report)

dc.contributor.authorจุไร วงศ์สวัสดิ์th_TH
dc.contributor.authorJurai Wongsawaten_EN
dc.contributor.authorปฐมา สุทธาth_TH
dc.contributor.authorPatama Sutthaen_EN
dc.contributor.authorสุมนมาลย์ อุทยมกุลth_TH
dc.contributor.authorSumonmal Utayamakulen_EN
dc.contributor.authorสุมาลี ชะนะมาth_TH
dc.contributor.authorSumalee Chanamaen_EN
dc.contributor.authorกุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจth_TH
dc.contributor.authorKulkanya Chokephaibulkiten_EN
dc.date.accessioned2018-01-03T06:40:44Z
dc.date.available2018-01-03T06:40:44Z
dc.date.issued2560-12
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 11,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2560) : 564-571th_TH
dc.identifier.issn0858-9437
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4818
dc.description.abstractบทนำ การติดเชื้อไวรัสซิกาที่เกี่ยวข้องกับโอกาสการเกิดภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด เป็นโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่ทั่วโลกให้ความสำคัญในช่วงทศวรรษนี้ เชื้อซิกาเป็นเชื้อไวรัสในกลุ่มฟลาวิไวรัสเช่นเดียวกับเชื้อไวรัสเดงกี่ และมีอาการทางคลินิกในระยะเฉียบพลันคล้ายคลึงกับไข้เดงกี่ (dengue fever) ด้วย ข้อมูลอุบัติการณ์ของการติดเชื้อซิกาในประเทศไทยยังมีจำกัด และเป็นที่สงสัยว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อซิกาอาจไม่ได้รับการวินิจฉัยเนื่องจากอาการไม่จำเพาะ รวมถึงไม่ได้มีการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นประจำ การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การติดเชื้อไวรัสซิกาในผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้เดงกี่ ระเบียบวิธีศึกษา เป็นการศึกษาเชิงระบาดวิทยา แบบไปข้างหน้า ในช่วงระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560 โดยผู้ป่วยที่แพทย์สงสัยไข้เดงกี่ ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ทุกช่วงอายุ ที่สถาบันบำราศนราดูร ที่ยินดีเข้าร่วมวิจัย จะได้รับการตรวจปัสสาวะเพื่อหาสารพันธุกรรมของไวรัสซิกา และหลังป่วยประมาณ 2 สัปดาห์จะได้รับการตรวจซีโรโลยีเพื่อหาแอนติบอดีที่จำเพาะต่อเชื้อไวรัสซิกาและเดงกี่ โดยวิธี ELISA ผลการศึกษา ผู้ป่วยที่แพทย์สงสัยไข้เดงกี่เข้าร่วมโครงการ 73 ราย เป็นผู้ป่วยใน 64 ราย ผู้ป่วยนอก 9 ราย เป็นเด็ก (อายุน้อยกว่า 15 ปี) 46 ราย ผู้ใหญ่ 27 ราย (เด็ก:ผู้ใหญ่ 1.7:1) พบการติดเชื้อไวรัสซิกา 3 ราย ซึ่งยืนยันโดยการพบสารพันธุกรรมของไวรัสซิกาในปัสสาวะ ทั้งหมดเป็นผู้ใหญ่และเป็นผู้ป่วยนอก คิดเป็นอุบัติการณ์ร้อยละ 4.1 โดยพบในช่วงเดือนมิถุนายน–สิงหาคม ผลการตรวจพบระดับ anti-zika IgG ที่ 2 สัปดาห์หลังป่วย พบว่าเป็นบวกทั้ง 3 ราย (ค่าเฉลี่ย cutoff titer = 4.43 unit, range 2.6–6.9 unit) ส่วนระดับ anti-zika IgM เป็นบวก (titer 2.9 unit), ก้ำกึ่ง (titer 0.9 unit) และเป็นลบ (titer 0.4 unit) อย่างละ 1 รายตามลำดับ และผล anti-dengue IgG และ IgM titer เป็นลบทั้งสามราย สรุป ผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้เดงกี่ แท้จริงแล้วอาจเป็นการติดเชื้อไวรัสซิกา แม้ในอัตราที่ไม่สูง และ anti-zika IgM มีความไวในการวินิจฉัยโรคต่ำ ผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยงเช่นหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการคล้ายไข้เดงกี่ควรได้รับการตรวจหาเชื้อไวรัสซิกาth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectไวรัสซิกาth_TH
dc.subjectZika Virusen_EN
dc.subjectDengue feveren_EN
dc.titleอุบัติการณ์การติดเชื้อไวรัสซิกาในผู้ป่วยที่สงสัยไข้เดงกี่ (ผลการรายงานเบื้องต้น)th_TH
dc.title.alternativeZika Incidence among Patients with Suspected Dengue Fever (Preliminary Report)en_EN
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeIntroduction: Zika virus infection and its consequences have become increasingly concerned recently. As a member of Flaviviruses, zika virus shares some clinical dengue fever manifestations. The actual burden of zika virus infection in Thailand is unclear, and could be underestimated due to nonspecific clinical pictures and the diagnostic testing has not been routinely available. We aim to study the zika incidence among the suspected dengue fever patients. Methodology: From December 2016 to August 2017, adult and children who had clinical diagnosis of dengue fever at Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute were prospectively enrolled. After informed consent, a urine sample would be collected for zika molecular testing by polymerase chain reaction (PCR). At 2 weeks later, a blood sample was collected for zika and dengue serologic tests by ELISA. Results: A total of 73 suspected dengue fever patients were enrolled; 64 were hospitalized, 46 cases were children (< 15 years of age). The ratio of children to adult was 1.7:1. There were 3 confirmed zika-infected cases by urine PCR, a 4.1% incidence. All were adult treated as outpatients. The cases were found during June–August. All 3 cases had positive anti zika IgG (mean titer of 4.43 unit, range: 2.6-6.9 unit), but anti-zika IgM was found to be positive (titer 2.9 unit), indeterminate (titer 0.9 unit) and negative (0.4 unit), one case each. All had negative anti-dengue IgG or IgM titer. Conclusions: The patients presented with dengue fever may actually had zika infection, although at low rate. The anti-zika IgM was not useful in making diagnosis. High risk group such as pregnant women who presented with dengue fever should be tested for zika infection.en_EN
dc.subject.keywordไข้เดงกี่th_TH
.custom.citationจุไร วงศ์สวัสดิ์, Jurai Wongsawat, ปฐมา สุทธา, Patama Suttha, สุมนมาลย์ อุทยมกุล, Sumonmal Utayamakul, สุมาลี ชะนะมา, Sumalee Chanama, กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ and Kulkanya Chokephaibulkit. "อุบัติการณ์การติดเชื้อไวรัสซิกาในผู้ป่วยที่สงสัยไข้เดงกี่ (ผลการรายงานเบื้องต้น)." 2560. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4818">http://hdl.handle.net/11228/4818</a>.
.custom.total_download2400
.custom.downloaded_today3
.custom.downloaded_this_month32
.custom.downloaded_this_year149
.custom.downloaded_fiscal_year401

Fulltext
Icon
Name: hsri_journal_v11n ...
Size: 236.3Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1334]
    บทความวิชาการ

Show simple item record