การพัฒนาระบบเครือข่ายบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและกลุ่มติดเตียง (กรณีศึกษาผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดเตียงในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.ฮ่องห้า อ.แม่ทะ จ.ลำปาง)
dc.contributor.author | สุมิตรา วิชา | th_TH |
dc.contributor.author | ณัชพันธ์ มานพ | th_TH |
dc.contributor.author | สุภา ศรีรุ่งเรือง | th_TH |
dc.contributor.author | เบญจพร เสาวภา | th_TH |
dc.contributor.author | ศิริรัตน์ ศรีภัทรางกูร | th_TH |
dc.contributor.author | ณัฐกานต์ ตาบุตรวงศ์ | th_TH |
dc.contributor.author | ธณกฤษ หมื่นก้อนแก้ว | th_TH |
dc.contributor.author | ธนัชพร มณีวรรณ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2018-01-05T04:14:38Z | |
dc.date.available | 2018-01-05T04:14:38Z | |
dc.date.issued | 2561-01 | |
dc.identifier.other | hs2382 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4827 | |
dc.description.abstract | รายงานผลการวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบระบบเครือข่ายการบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและกลุ่มติดเตียง โดยการมีส่วนร่วมของภาคีหลัก 3 ภาคี ในชุมชน (ภาคีบริการสุขภาพ ภาคีบริการชุมชน/ท้องถิ่น และภาคีบริการสังคม) และ (2) พัฒนาระบบสารสนเทศให้ตอบสนองต่อความต้องการของบุคลากรที่ต้องการใช้ประโยชน์จากข้อมูลของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและกลุ่มติดเตียง ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ จากบุคคลและภาคีที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนฮ่องห้า (หมู่ 1 หมู่ 6 หมู่ 7 และ หมู่ 8 ตำบลน้าโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง) ได้แก่ (1) ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (กลุ่มติดบ้านและกลุ่มติดเตียง) จำนวน 62 คน และญาติผู้ดูแล จำนวน 62 คน (2) ผู้ดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (caregiver: CG) จำนวน 15 คน และ (3) ตัวแทนภาคีหลัก 3 ภาคี (ภาคีบริการสุขภาพ ภาคีบริการชุมชน/ท้องถิ่น และภาคีบริการสังคม) และจากแหล่งเรียนรู้ที่เป็น Best Practice ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ลำปาง และเชียงใหม่ แล้วนำข้อมูลเชิงปริมาณมาวิเคราะห์ด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพหลังจากตรวจสอบข้อมูลนำมาจัดระเบียบข้อมูล และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบระบบเครือข่ายบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและกลุ่มติดเตียง ในพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.ฮ่องห้า หรือชุมชนฮ่องห้า (หมู่ 1 หมู่ 6 หมู่ 7 และ หมู่ 8 ตำบลน้าโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การประเมินสภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและศักยภาพของญาติผู้ดูแล (2) การดูแลช่วยเหลือโดยกลุ่มคนในชุมชน (3) การจัดระบบบริการสุขภาพระบบการดูแลต่อเนื่อง และระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีของ รพ.สต.ฮ่องห้า รพ.แม่ทะ และ รพ.ลำปาง (4) การกำหนดนโยบาย แผนงานโครงการ และงบประมาณจากเทศบาลน้าโจ้ และ (5) การดำเนินงานดูแลผู้สูงอายุจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องโดยแต่ละส่วนประกอบมีความเชื่อมโยงเพื่อประสานการทำงานและการใช้ทรัพยากรร่วมกัน 2. โปรแกรม COC Link ระบบ Off Line ได้รับการพัฒนาให้เป็นระบบ On Line สามารถส่งข้อมูลไป-กลับ (two way) และเชื่อมโยงข้อมูลในการติดตามดูแลต่อเนื่องระหว่างโรงพยาบาลแม่ทะและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในอำเภอแม่ทะได้ครอบคลุมทั้งหมดทุกแห่ง 3. ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 78.15 ปี ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว และเคยเข้านอนรักษาในโรงพยาบาล ภาวะสุขภาพที่ผิดปกติของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ได้แก่ มีความผิดปกติของช่องปาก (ร้อยละ 58.06) มีปัญหาการมองเห็น (ร้อยละ 66.13) มีปัญหาการรู้คิด (ร้อยละ 62.90) มีอาการปวดเข่าและเสี่ยงต่อภาวะหกล้ม (ร้อยละ 70.97) มีค่า BMI ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (ร้อยละ 38.71) เสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหาร (ร้อยละ 66.13) และมีภาวะปัสสาวะเร็ดหรือปัสสาวะราด (ร้อยละ 37.10) 4. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ (Effectiveness Index : E.I.) ของผู้ดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (caregiver: CG) ภายหลังจากที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีค่าเท่ากับ 0.4909 ซึ่งแสดงว่า ผู้ดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีความรู้เพิ่มขึ้น 0.4909 หรือคิดเป็นร้อยละ 49.09 การวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า ระบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน ควรตอบสนองต่อความต้องการของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและญาติผู้ดูแลโดยคำนึงถึงความแตกต่างของบุคคล ซึ่งผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและญาติผู้ดูแลควรได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มีความสามารถในการประเมินและการดูแลตนเอง กลุ่มคนในชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนควรมีส่วนร่วมกำหนดทิศทางการดำเนินงานการดูแลผู้สูงอายุให้เป็นรูปธรรมอย่างบูรณาการ มีความต่อเนื่องและเชื่อมโยงของการดูแล ลดความซ้ำซ้อนของบทบาทหน้าที่ในการทำงาน วางแผนการใช้ทรัพยากรในชุมชน (บุคลากร วัสดุครุภัณฑ์ งบประมาณ และการบริหารจัดการ) ร่วมกัน รวมถึงควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบสารสนเทศและการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการดูแลคือ ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดำรงไว้ซึ่งคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ผู้สูงอายุ--บริการทางการแพทย์ | th_TH |
dc.subject | Health services for the aged | en_EN |
dc.subject | Age Groups | en_EN |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | |
dc.title | การพัฒนาระบบเครือข่ายบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและกลุ่มติดเตียง (กรณีศึกษาผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดเตียงในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.ฮ่องห้า อ.แม่ทะ จ.ลำปาง) | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This research is a participatory action research study which aims to (1) develop a health service network for elderly people in home-bound and bed-bound groups while the involvement of 3 main community parties (health service providers, social service providers, community/local service providers) was considered, and (2) develop information technology systems regarding home-bound and bed-bound elderly information to meet the needs of any use. Data were collected using quantitative and qualitative methods from persons and parties involved in the care of dependent elderly people in the communities of Hong Ha (Moo 1, 6, 7, and 8, Nam Cho Sub-district, Mae Tha District, Lampang Province). Involved persons and parties were (1) 62 elderly people with dependency and 62 relative caregivers of both home-bound and bed-bound, (2) 15 caregivers (CG) of elderly with dependency, and (3) 3 representatives from the main community parties (health service providers, social service providers, community/local service providers). More data were from best practice sources in Surin, Lampang and Chiang Mai Provinces. Quantitative data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and the Effectiveness Index (E.I.) of learning. After verified, qualitative data were organized and used content analysis. Results: 1. Health Networking System for the elderly, home-bound and bed-bound groups In the responsible area of Hong Ha Health Promotion Hospital was summarized by a linkage of 5 components which are (1) assessing the condition of the elderly with dependency and the potential of the caregivers, (2) caring for the elderly with dependency by the community, (3) health service system, continuous care system and management information system & technology, (4) the policy formulation, the project plan and the budget from Nam Cho Subdistrict Municipality, and (5) the care of the elderly with dependency from other related organizations. 2. COC Link Program was an off-line system that had been developed to an on-line. It can transmit two-way information and link the continuum of follow-up care between Mae Tha Hospital and all Health Promotion Hospitals in its area. 3. Most of dependent elderlies were 78.15 years old female with chronic illnesses and hospitalized experience. Health problems included oral disorder (58.06%), reduced sight (66.13%), cognitive disorder (62.90%), knee pain and risk of falls (70.97%), lower standard BMI (38.71%), risk of malnutrition (66.13%), and urinary leakage or incontinence (37.10%). 4. For Effectiveness Index (E.I) in learning of the caregivers (CG), the value of developed skills and potential, after related knowledge and skills development, was at 0.4909, indicating that caregivers had gained 0.4909 related knowledge and skills on dependent elderly caregiving. It was accounted for 49.09 percent. It can be concluded that health care system in the community should respond to the needs of dependent elderly people and relative caregivers, taking into account on the differences of individuals. Dependent elderly people and caregivers should be encouraged with an ability to assess and care for themselves. It is recommended that the care direction should be integrated and substantial by people in the community, government agencies, and the private sector. Continuity and care linkage are considered while redundancy of health care roles can be reduced. Community and local resources planning is applied together in all community levels (personnel, materials and equipment, budget and allocation, management). The importance of information technology system development and introduction of new technologies should be recognized in elderly with dependency caregiving. It is to maintain and to achieve the goal of health care service for elderly people with dependency in order to have a good quality of life and to live with value and dignity of human beings. | th_TH |
dc.identifier.callno | WT100 ส843ก 2561 | |
dc.identifier.contactno | 59-049 | |
.custom.citation | สุมิตรา วิชา, ณัชพันธ์ มานพ, สุภา ศรีรุ่งเรือง, เบญจพร เสาวภา, ศิริรัตน์ ศรีภัทรางกูร, ณัฐกานต์ ตาบุตรวงศ์, ธณกฤษ หมื่นก้อนแก้ว and ธนัชพร มณีวรรณ. "การพัฒนาระบบเครือข่ายบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและกลุ่มติดเตียง (กรณีศึกษาผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดเตียงในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.ฮ่องห้า อ.แม่ทะ จ.ลำปาง)." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4827">http://hdl.handle.net/11228/4827</a>. | |
.custom.total_download | 1076 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 66 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 7 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Research Reports [2419]
งานวิจัย