Show simple item record

Effectiveness and Efficacy of scoring scheme screening microalbuminuria for Type 2 Diabetes in primary care unit of the government and private sector in PathumThani province

dc.contributor.authorสิริมา มงคลสัมฤทธิ์th_TH
dc.contributor.authorคัติยา อีวาโนวิชth_TH
dc.contributor.authorสนธยา ทองพันธ์th_TH
dc.date.accessioned2018-02-08T04:20:59Z
dc.date.available2018-02-08T04:20:59Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.otherhs2387
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4840
dc.description.abstractภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 คือ ความผิดปกติของไต ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะมีผลทำให้การทำงานของไตเสื่อมถอยลงจนถึงขั้นเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง แต่มีผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ป่วยมานานกว่า 10 ปี เพียงร้อยละ 20 ที่ได้รับการประเมินภาวะไมโครแอลบูมินนูเรีย ทาง ADA แนะนำให้มีการติดตามค่าไมโครแอลบูมินนูเรีย ซึ่งวิธีมาตรฐานของการตรวจไมโครแอลบูมินนูเรียจะต้องตรวจจากปัสสาวะทั้งหมด 3 ครั้ง และถ้า positive 2 ใน 3 ครั้ง หมายถึง ไตมีความผิดปกติ แต่ในประเทศไทยผู้ป่วยเบาหวานจะได้รับการตรวจไมโครแอลบูมินนูเรียเพียงปีละ 1 ครั้ง หากมีการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจคัดกรองไมโครแอลบูมินนูเรียในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยใช้หลักการสร้างเครื่องมือจากการประเมินปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่มีผลต่อการเกิดไมโครแอลบูมินนูเรีย จึงมีการพัฒนาเครื่องมือคัดกรองไมโครแอลบูมินนูเรียระบบคะแนนขึ้น แต่ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าสามารถใช้ได้กับสถานบริการระดับปฐมภูมิ ในการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผล และประสิทธิภาพของเครื่องมือคัดกรองด้วยระบบคะแนน และพัฒนาคุณภาพของเครื่องมือคัดกรองด้วยระบบคะแนนความเสี่ยงที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิ โดยใช้รูปแบบการศึกษาแบบการวิจัยเชิงคัดกรอง (Screening accuracy research) ร่วมกับการวิจัยดำเนินการ (implementation research) ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 78 แห่ง และคลินิกเอกชนในพื้นที่จำนวน 8 แห่ง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 1,211 ราย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีระยะเวลาป่วยเป็นเบาหวานมานานไม่เกิน 5 ปี ร้อยละ 44.5 ระยะเวลาที่ป่วยเป็นเบาหวานโดยเฉลี่ย 6.86 + 4.99 ปี มีผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เพียงร้อยละ 24.19 ที่มีดัชนีมวลกายอยู่ในระดับปกติ มากกว่าร้อยละ 50 มีดัชนีมวลกายอยู่ในกลุ่มอ้วน และร้อยละ 78 เป็นกลุ่มอ้วนลงพุง ยังมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 6.06 และ 8.13 ตามลำดับ ร้อยละ 18.35 พบว่ามีประวัติเบาหวานในครอบครัว โรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า เป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 67.22 และไขมันในเลือดสูง ร้อยละ 51.12 จากการประเมินภาวะไมโครแอลบูมินนูเรียในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยการตรวจมาตรฐานวิธี Immunoturbidity ครบ 3 ครั้ง มีจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 536 ราย พบว่า ร้อยละ 7.09 มีภาวะ Marcroalbuminuria และร้อยละ 22.57 มีภาวะ Microalbuminuria เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบค่า sensitivity specificity PPV NPV LR(+) LR(-) และ ROC ของแบบคัดกรองไมโครแอลบูมินนูเรียด้วยระบบคะแนน กับการจุ่มแถบปัสสาวะคัดกรองไมโครแอลบูมินนูเรีย พบว่าความสามารถของการจุ่มแถบปัสสาวะคัดกรองไมโครแอลบูมินนูเรียดีกว่าการคัดกรองไมโครแอลบูมินนูเรียด้วยระบบคะแนน แต่ค่าใช้จ่ายด้วยวิธีการตรวจไมโครแอลบูมินนูเรียด้วยการจุ่มแถบปัสสาวะแพงกว่าการคัดกรองไมโครแอลบูมินนูเรียด้วยระบบคะแนนทั้งนี้เครื่องมือคัดกรองไมโครแอลบูมินนูเรียด้วยระบบคะแนนที่พัฒนาขึ้นใหม่ สำหรับใช้กับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับบริการในระดับปฐมภูมิครั้งนี้ จึงยังไม่มีความสามารถในการคัดกรองไมโครแอลบูมินนูเรียได้ ดังนั้นหากมีการพัฒนาเครื่องมือคัดกรองที่พัฒนาในเชิงนวตกรรมที่สามารถทดแทนวิธีการเดิมและมีราคาที่ถูกลง ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถเข้าถึงการรับบริการคัดกรองได้ตามมาตรฐาน ยังเป็นช่องว่างเพื่อการพัฒนาต่อในอนาคตth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectเบาหวานth_TH
dc.subjectการตรวจคัดกรองth_TH
dc.subjectเบาหวาน--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectเบาหวาน--ผู้ป่วยth_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies)th_TH
dc.titleประสิทธิผลและประสิทธิภาพของเครื่องมือคัดกรองไมโครแอลบูมินนูเรียด้วยระบบคะแนนสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิของรัฐและเอกชน ในจังหวัดปทุมธานีth_TH
dc.title.alternativeEffectiveness and Efficacy of scoring scheme screening microalbuminuria for Type 2 Diabetes in primary care unit of the government and private sector in PathumThani provinceen_US
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoWK810 ส732ป 2561
dc.identifier.contactno60-002
.custom.citationสิริมา มงคลสัมฤทธิ์, คัติยา อีวาโนวิช and สนธยา ทองพันธ์. "ประสิทธิผลและประสิทธิภาพของเครื่องมือคัดกรองไมโครแอลบูมินนูเรียด้วยระบบคะแนนสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิของรัฐและเอกชน ในจังหวัดปทุมธานี." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4840">http://hdl.handle.net/11228/4840</a>.
.custom.total_download307
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year14
.custom.downloaded_fiscal_year17

Fulltext
Icon
Name: hs2387.pdf
Size: 7.466Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record