• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการดูแลระยะยาว (Long-term care) สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์; ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล; วิชช์ เกษมทรัพย์; วิชัย เอกพลากร; บวรศม ลีระพันธ์;
วันที่: 2561-02
บทคัดย่อ
เป็นที่รับทราบกันดีโดยทั่วไปในสังคมแล้วว่าประเทศไทยเราก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยเรียบร้อยแล้วและในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าประเทศไทยเราก็จะก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย เรามีผู้สูงอายุถึงร้อยละ 20 ของประชากร ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรดังกล่าวมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของภาระโรคที่มาจากโรคติดต่อเรื้อรังที่รักษาไม่หายและมักมีภาวะทุพพลภาพตามมา ขณะเดียวกันอายุที่มากขึ้นก็ตามมาด้วยการถดถอยของสมรรถนะการทำงานของอวัยวะต่างๆ รวมถึงสมรรถนะทางกายและสมอง ส่งผลให้มีจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้หรือได้จำกัดเพิ่มมากขึ้น และต้องการการดูแลจากบุคคลในครอบครัวมากขึ้น สวนทางกับการถดถอยของสมรรถนะของครอบครัวในการให้การดูแลผู้สูงอายุ อันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ครอบครัวมีขนาดเล็กลง การเคลื่อนย้ายของประชากรวัยแรงงานไปต่างถิ่น สตรีมีบทบาททางเศรษฐกิจนอกบ้านมากขึ้น เป็นต้น ทำให้มีผู้สูงอายุที่อาศัยตามลำพังคนเดียวหรืออยู่ลำพังสองคนตายายเพิ่มขึ้น สภาพความเป็นจริงดังกล่าวทำให้หลายๆ พื้นที่ มีการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือกันในชุมชนโดยความร่วมมือของทีมสาธารณสุข ท้องถิ่นและภาคประชาชนในการจัดการบริการแก่ผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิงในชุมชนขึ้น ตลอดจนมีการขับเคลื่อนผลักดันเชิงนโยบายของรัฐบาลในปี 2558 นี้เองและเริ่มมีงบประมาณสนับสนุนให้ในปีงบประมาณ 2559 เป็นปีแรก โดยให้มีการนำร่องใน 1,000 ตำบล ที่มีความพร้อมและมีเป้าหมายการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจำนวน 100,000 คน โดยอาศัยกลไกกองทุนตำบล ซึ่งทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ไปริเริ่มไว้ตั้งแต่ปี 2549 เป็นกลไกหลักให้ครอบครัวเป็นผู้ดูแลหลักและระบบนี้ไปช่วยหนุนเสริมการดูแลภายใต้การสนับสนุนของท้องถิ่นและระบบบริการสาธารณสุข เนื่องจากการดำเนินงานตามนโยบายนี้ยังมีลักษณะเป็นการนำร่อง ไม่ได้ดำเนินการเต็มทุกพื้นที่ หลายประเด็นก็อาจยังไม่ลงตัว ประกอบกับการที่จะขยายไปยังพื้นที่อื่นๆ ที่เหลือต้องมีการพัฒนาด้านกำลังคนก่อน การประเมินระหว่างการดำเนินงาน (Formative Evaluation) ในปีแรกในงานนี้จึงมีประโยชน์ เพื่อการพัฒนาด้านนโยบายและการพัฒนาการดำเนินงานตามนโยบายให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ มีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ และเป็นธรรม และเป็นประโยชน์ในการเตรียมระบบเพื่อขยายไปยังพื้นที่อื่นๆ ต่อไป
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2397.pdf
ขนาด: 4.298Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 1
ปีงบประมาณนี้: 50
ปีพุทธศักราชนี้: 28
รวมทั้งหมด: 38,603
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV