Show simple item record

The Civil Society Development of Nan Province for Health Promotion and Disease Prevention

dc.contributor.authorถนัด ใบยาth_TH
dc.contributor.authorธนูศิลป์ สลีอ่อนth_TH
dc.contributor.authorวิชัย นิลคงth_TH
dc.contributor.authorจินตนา จันทร์ดีth_TH
dc.date.accessioned2018-03-26T09:41:57Z
dc.date.available2018-03-26T09:41:57Z
dc.date.issued2561-02
dc.identifier.otherhs2398
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4851
dc.description.abstractการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามกลุ่มวัยต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น จังหวัดน่านมีกลุ่มและองค์กรเครือข่ายทางสังคมที่เข้มแข็งหลากหลาย แต่ผลลัพธ์ทางสุขภาพยังไม่ได้ผลที่ดีหลายเรื่อง ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ศึกษาการพัฒนาประชาคมสุขภาพในการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค เพื่อศึกษาสถานการณ์และปัจจัยเงื่อนไขของการดำรงความเข้มแข็งของกลุ่ม/องค์กรด้านสุขภาพ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและผลลัพธ์การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่ ที่ประชาคมสุขภาพมีส่วนร่วม และสังเคราะห์ข้อเสนอในการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน โดยใช้การวิจัย Implementation Research ดำเนินการใน ๓ ระยะ ได้แก่ ๑) การศึกษาสถานการณ์กลุ่ม/องค์กร/เครือข่ายด้านสุขภาพ ๒) การปฏิบัติการ และ ๓) การประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ อัตรา ความถี่ และร้อยละ ระยะเวลาดำเนินการ ๑ ปี ๙ เดือน (เดือนเมษายน ๒๕๕๙ – ธันวาคม ๒๕๖๐) ผลการวิจัยพบว่า จังหวัดน่านมีต้นทุนที่ดีในการจัดการสุขภาพหลากหลายโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายต่างๆ ในแต่ละพื้นที่อยู่แล้ว การริเริ่มก่อตั้งกลุ่ม มีหลายรูปแบบทั้ง ๑) เริ่มจากนโยบายของหน่วยงานรัฐหรือเอกชนจากภายนอก ๒) เริ่มจากหน่วยงานหรือองค์กรภายในพื้นที่ ๓) ริเริ่มจากกลุ่มองค์กรในชุมชนเอง สำหรับปัจจัยเงื่อนไขของการดำรงความเข้มแข็งของกลุ่มและองค์กรด้านสุขภาพที่สำคัญ ได้แก่ การมีผู้นำที่เข้มแข็งเป็นที่ศรัทธายอมรับ, มีความโปร่งใส, มีกลุ่มเครือข่ายหลากหลายระดับ, มีการประสานแบบทั้งไม่เป็นทางการและเป็นทางการ, มีการประชุมสม่ำเสมอ มีความรักสามัคคีกัน, รวมกลุ่มทำกิจกรรมบนฐานวัฒนธรรมชุมชน, แลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อเนื่อง, มีการพัฒนาศักยภาพที่ต่อเนื่อง, มีการออมและจัดกองทุนสวัสดิการ, มีการกำหนดมาตรการชุมชน/ธรรมนูญสุขภาพตำบล, และมีการทบทวนสรุปประเมินผลร่วมกัน ซึ่งรูปแบบการพัฒนาประชาคมสุขภาพเริ่มตั้งแต่การคิดริเริ่มจากคนในชุมชนที่มีความต้องการพัฒนาหรือนโยบายภาครัฐ รวมตัวกันทบทวนศักยภาพ ข้อจำกัด กำหนดเป้าหมายการพัฒนาร่วมกัน แล้วจัดทำแผนพัฒนาต่อยอดสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่มีอยู่เดิมให้ดียิ่งขึ้น มีการพัฒนาศักยภาพแกนนำ/อาสาสมัครให้มีองค์ความรู้ แล้วยกระดับการจัดการให้เข้มแข็ง และสั่งสมความรู้ให้เกิดการพัฒนาต่อเนื่องซ้ำๆ จนเกิดแนวปฏิบัติที่ดี กลุ่มองค์กรมีความเข้มแข็ง ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จและผลลัพธ์การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่ที่ประชาคมสุขภาพมีส่วนร่วมที่สำคัญ ได้แก่ การมีหลักคิดในการทำงาน, มีโครงสร้างกลุ่มองค์กรและบทบาทที่ชัดเจนขึ้น, ชุมชนมีความตระหนักในปัญหาร่วมกัน, มีผู้นำที่เข้มแข็ง, บริหารแบบมีส่วนร่วม, สร้างคนรุ่นใหม่ให้เข้ามามีส่วนร่วมเรียนรู้, ทำงานเป็นเครือข่ายเชื่อมประสานกัน, มีการประสานงานแบบไม่เป็นทางการ, มีการเรียนรู้จากกรณีตัวอย่างและการปฏิบัติการจริง, มีกลุ่มจิตอาสาและภาคีหลากหลายมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน, มีการสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆที่หลากหลาย โดยเฉพาะกลุ่ม Line Facebook, ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรที่เกี่ยวข้องที่ต่อเนื่อง และมีการติดตามประเมินผลร่วมกัน จากการวิจัยได้ข้อเสนอแนะในการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคนั้นควรเริ่มจากกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขและกลุ่มผู้สูงอายุก่อน เนื่องจากเป็นกลุ่มแกนที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างสุขภาพและป้องกันโรคในทุกกลุ่มวัย โดยบุคลากรสาธารณสุขควรมีบทบาทในการเป็นโค้ชให้กับกลุ่มองค์กรชุมชนที่มีอยู่ให้เข้มแข็ง จนสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืนth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพth_TH
dc.subjectประชาคมจังหวัดth_TH
dc.subjectHealth Promotionth_TH
dc.subjectDisease--prevention & controlth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการพัฒนาประชาคมสุขภาพจังหวัดน่านในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคth_TH
dc.title.alternativeThe Civil Society Development of Nan Province for Health Promotion and Disease Preventionth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeHealth promotion and disease prevention for all at all ages relies on the participation of local communities. Nan province has strong and various social groups, organizes and health networks, but many health outcomes are not achieved. Therefore, the aims of this study were toexamine the development of the civil society in health promotion, to study the situation and the condition of the sustainability of health groups / organizations, to determine factors that affect the success and outcome of policy implementation and the participation of the civil society, and to synthesize proposals for the development of community health systems. Implementation research were conducted in three phases: 1) study of situational, group and health networking, 2) operations and 3) assessment, between April 2516 and December 2517. The quantitative data was analyzed using frequency and percentage, and the qualitative data was analyzed using content analysis. The study found that Nan has a good cost of health care, with the involvement of network partners in all of study area. The civil society were formed through three different processes: 1) to start with governmental or private policy from the outside, 2) to start from the organization within the area, 3) to initiate from the community organization itself. Factors of maintaining the strength of the civil society include strong leadership, faithful acceptance, transparency, multi-level networking, informal and formal coordination, having regular meetings, continuously develop the potential, running and managing the welfare fund, set up community or district health measures, and having a review summary evaluation together. The development of the civil society begins with the initiation of people in the community who need development or government policies. The process start with aggregate review of potential, limitations, goals, common development of community health care. Next, they develop a plan to improve the existing learning process. Then they build the learning process to develop the potential for leaders and volunteer. In addition, they raise the strength of the management with repeatedly accumulate knowledge. Finally, they achieve the best practices for community health carethat isled to the strength of the health community. Factors influencing the success and outcome of policy implementation are as follows : building central concept, creating an organizational structure with a clear roles, raising community awareness, Based on the results, we suggest that health promotion and disease prevention should be initiated by the public health volunteers and the elderly. They are a core group that plays an important role in the development of health and disease prevention in all age groups. Furthermore, toward self-reliance and sustainable community, the role of the health workers is to act as the coach of community health and networks by using an empowered communities approach. building strong leader, enhancing community cooperation, empowering and learning with the young people's community worker, working with collaborating networks, using informal communication, learning by using case studies and being put into practice, actively involving diverse volunteers in community, making a variety of communication channels, particularly, Facebook and Line applications, continuously supporting by stakeholders, and making a participatory monitoring and evaluation. Based on the results, we suggest that health promotion and disease prevention should be initiated by the public health volunteers and the elderly. They are a core group that plays an important role in the development of health and disease prevention in all age groups. Furthermore, toward self-reliance and sustainable community, the role of the health workers is to act as the coach of community health and networks by using an empowered communities approach.th_TH
dc.identifier.callnoW84.6 ถ211ก 2561
dc.identifier.contactno60-001
.custom.citationถนัด ใบยา, ธนูศิลป์ สลีอ่อน, วิชัย นิลคง and จินตนา จันทร์ดี. "การพัฒนาประชาคมสุขภาพจังหวัดน่านในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4851">http://hdl.handle.net/11228/4851</a>.
.custom.total_download156
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs2398.pdf
Size: 2.956Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record