ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการขายบุหรี่ให้เยาวชนของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกในเขตสุขภาพที่ 2
dc.contributor.author | จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ | th_TH |
dc.contributor.author | Chakkraphan Phetphum | en_US |
dc.contributor.author | ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน | th_TH |
dc.contributor.author | Narongsak Noosorn | en_US |
dc.contributor.author | อาทิตยา วังวนสินธุ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Artittaya Wangwonsin | en_US |
dc.contributor.author | บุญชณัฎฐา พงษ์ปรีชา | th_TH |
dc.contributor.author | Boonchanuttha Pongpreecha | en_US |
dc.date.accessioned | 2018-03-30T03:09:41Z | |
dc.date.available | 2018-03-30T03:09:41Z | |
dc.date.issued | 2561-03 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 12,1 (ม.ค.-มี.ค. 2561) : 56-70 | th_TH |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4855 | |
dc.description.abstract | การสูบบุหรี่ของเยาวชนไทยเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญมาอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการละเมิดกฎหมายการห้ามขายบุหรี่ให้เยาวชนของผู้ประกอบการร้านค้าปลีก การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับและที่ทำนายพฤติกรรมการขายบุหรี่ให้เยาวชนของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกในเขตบริการสุขภาพที่ 2 โดยสร้างกรอบแนวคิดขึ้นจากตัวแปรอิสระที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิจัยเชิงคุณภาพที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกที่ขายบุหรี่ในเขตบริการสุขภาพที่ 2 จำนวน 658 ร้านค้าที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์ และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุโลจิสติค ผลการวิจัย พบว่า ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกร้อยละ 58.7 ขายบุหรี่ให้เยาวชน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับและที่ทำนายพฤติกรรมการขายบุหรี่ให้เยาวชนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ประกอบด้วย ระยะเวลาประกอบอาชีพค้าขาย (ORAdj=2.099) แรงจูงใจด้านรายได้จากการขายบุหรี่ (ORAdj=2.620) นิยามคำว่าเยาวชนที่ผิดไปจากกฎหมาย (ORAdj=1.993) คล้อยตามบรรทัดฐานทางสังคมเกี่ยวกับการขายบุหรี่ให้เยาวชน (ORAdj=2.955) แบ่งขายบุหรี่แบบแยกมวน (ORAdj=11.504) ขายบุหรี่แบบให้ลูกค้าบริการตนเอง (ORAdj=3.825) อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าในการซื้อและสูบบุหรี่ (ORAdj=2.392) และไม่สอบถามอายุของผู้ซื้อบุหรี่ก่อนขาย (ORAdj=1.734) โดยสามารถทำนายพฤติกรรมการขายบุหรี่ให้เยาวชนได้ร้อยละ 67.2 (Pseudo R2=0.672) จากผลการวิจัยครั้งนี้ ควรเน้นให้หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องดำเนินมาตรการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการห้ามแบ่งขายบุหรี่แบบแยกมวน การห้ามขายบุหรี่แบบให้ลูกค้าบริการตนเอง ร่วมกับการใช้มาตรการเสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเนื้อหาของ พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบให้กับผู้ประกอบการร้านค้าปลีก | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การสูบบุหรี่ | th_TH |
dc.subject | การเข้าถึงบุหรี่ของเยาวชน | th_TH |
dc.subject | ร้านค้าบุหรี่ | th_TH |
dc.title | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการขายบุหรี่ให้เยาวชนของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกในเขตสุขภาพที่ 2 | th_TH |
dc.title.alternative | Retailer Factors Related to Tobacco Sale to Minors in Health Region 2 | en_US |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Youth smoking remains to be a major public health problem of Thailand that partly as a result of a law violation of tobacco retailer in the sale of cigarettes to youth or minors. This research aimed to explore associated and predicting factors of retailer related to tobacco sale to minors in Health Region 2. Independent variables were based on previous systematic review and qualitative research. This study gathered data through questionnaires asking opinions of a sample of 658 tobacco retailers taken through a multi stage sampling in Health Region 2. Data were analyzed by using descriptive statistics, chi-square and multiple logistic regression analysis. The findings revealed 58.7 percent of tobacco sale to minors. The associated and predicting factors of tobacco sale to minors included duration of performing the retailer occupation (ORAdj=2.099), motivation about revenues from tobacco sales. (ORAdj=2.620), defined a youth differed from the law (ORAdj=1.993), conforming to social norms regarding the sale tobacco to minors (ORAdj=2.955), selling individual cigarettes or small packages (ORAdj=11.504), selling tobacco by self-service (ORAdj=3.825), facilitating customers to buy and smoke cigarette (ORAdj=2.392), and not asking buyer age before selling tobacco (ORAdj=1.734). The independent variables have a predictive value of 67.2 percent of the variance (Pseudo R2 = 0.672) in the behavior of selling tobacco to minors. These findings suggested that government agencies involved should strictly enforce the law in particular the ban on selling individual cigarettes or small packages and selling tobacco by self-service, together with enhancing retailer understanding on the content of tobacco control law. | en_US |
.custom.citation | จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ, Chakkraphan Phetphum, ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน, Narongsak Noosorn, อาทิตยา วังวนสินธุ์, Artittaya Wangwonsin, บุญชณัฎฐา พงษ์ปรีชา and Boonchanuttha Pongpreecha. "ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการขายบุหรี่ให้เยาวชนของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกในเขตสุขภาพที่ 2." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4855">http://hdl.handle.net/11228/4855</a>. | |
.custom.total_download | 3890 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 25 | |
.custom.downloaded_this_year | 383 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 73 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ