บทคัดย่อ
การถ่ายโอนหน่วยบริการปฐมภูมิไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหนึ่งในหลายรูปแบบของการกระจายอำนาจด้านสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 จนถึงปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุขได้ถ่ายโอนหน่วยบริการปฐมภูมิไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้วทั้งสิ้น 51 แห่ง จากจำนวน 9,787 แห่งทั่วประเทศ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการถ่ายโอนหน่วยบริการปฐมภูมิ และประเมินผลการถ่ายโอนหน่วยบริการปฐมภูมิที่ผ่านมาว่ามีจุดแข็ง จุดอ่อนตลอดจนปัจจัยสำเร็จและอุปสรรคในการดำเนินงานอย่างไร รวมถึงจัดทำข้อเสนอแนะในการจัดบริการปฐมภูมิที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยในอนาคต โดยใช้การศึกษาเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยการทบทวนวรรณกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลอัตราการคัดกรองโรคของหน่วยบริการปฐมภูมิและข้อมูลจากแบบสอบถามที่หน่วยบริการปฐมภูมิที่ถ่ายโอนเป็นผู้ประเมิน การสัมภาษณ์เชิงลึกและจัดการสนทนากลุ่มใน 4 พื้นที่
ผลการศึกษาพบว่าหน่วยบริการปฐมภูมิที่ถ่ายโอนไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีค่าเฉลี่ยอัตราการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และมะเร็งปากมดลูก น้อยกว่าหน่วยบริการปฐมภูมิที่ไม่ถ่ายโอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.0400, 0.0438 และ 0.0000 ตามลำดับ) ส่วนอัตราการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value = 0.1974)
ด้านงบประมาณ อุปกรณ์ทางการแพทย์ และสถานที่พบว่าเพียงพอต่อการให้บริการ บางแห่ง ยังประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ การทำงานบางแห่งมีบริการทางการแพทย์ที่เพิ่มมากขึ้น จากแบบสอบถาม 41 ฉบับ พบว่าเจ้าหน้าที่ร้อยละ 75.61 เห็นว่าคุณภาพการให้บริการประชาชนในพื้นที่ และการตอบสนองต่อปัญหาของประชาชนในพื้นที่ดีขึ้น การบริหารงานที่มีสายบังคับบัญชาสั้นเป็นทั้งข้อดีที่จะทำให้บริหารงานได้คล่องตัว แต่ก็มีข้อเสียเนื่องจากเจ้าหน้าที่กังวลปัญหาการเมืองท้องถิ่นส่งผลต่อการปฏิบัติงาน หลังการถ่ายโอนยังคงมีความสัมพันธ์กับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ใกล้ชิด แต่มีเพียง 19 แห่ง ที่ได้รับการนิเทศงานจากหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่เป็นประจำ มีเจ้าหน้าที่ 7 แห่งต้องการย้ายกลับกระทรวงสาธารณสุข และกระบวนการถ่ายโอนที่ผ่านมาพบว่าไม่มีส่วนร่วมจากประชาชนในพื้นที่และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับปฏิบัติงาน
ในอนาคตหากต้องการให้การกระจายอำนาจด้านสุขภาพประสบความสำเร็จ รัฐบาลจะต้องมีนโยบายที่ชัดเจนในการกระจายอำนาจ โดยกรปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารราชการแผ่นดิน ให้สอดคล้องกับการกระจายอำนาจ กระทรวงสาธารณสุขควรมีการติดตามการทำงานของหน่วยบริการปฐมภูมิที่ถ่ายโอนไปแล้วอย่างต่อเนื่อง หากพบปัญหาในการให้บริการควรมีแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกันอย่างชัดเจน ส่วนหน่วยบริการปฐมภูมิที่ยังไม่ได้ถ่ายโอนต้องถ่ายโอนไปให้เฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความพร้อมเท่านั้น และควรส่งเสริมให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการถ่ายโอนหน่วยบริการ
บทคัดย่อ
The devolution of health centers to Local Government Units (LGUs) in Thailand has been one of the many tools that the Ministry of Public Health (MOPH) used in its healthcare decentralization policy. Fifty-one out of 9,787 health centers have been devolved since 2007. This study aimed to (1) understand devolution process; (2) evaluate outcomes of the devolution; (3) analyze strengths, weaknesses, enabling factors, and threats of the devolution of health centers in Thailand and (4) make policy recommendations on the provision of primary health care that fits with the Thai context. The study employed qualitative and quantitative approaches consisting of literature review, data analyses of four selected quality indicators and self-administered questionnaires by health personnel at devolved health centers, in-depth interviews and focus-group discussions in four representative provinces.
The study showed that the rates of screening for diabetes mellitus, hypertension, and cervical cancer in devolved health centers were lower than those in non-devolved health centers (p-value = 0.0400, 0.0438, and 0.0000 respectively). The analysis found no statistically significant result for the rate of early access to antenatal care (p-value = 0.1974).
The findings from 41 questionnaires suggested that budgets, medical supplies and equipments, and facilities in devolved health centers were sufficient although some health centers still lacked adequate health personnel. Some devolved health centers could extend the range of their medical services. 75.61 percent of the respondents reported that quality of care and responsiveness were improved after the devolution. The short chain of command between LGUs and devolved health centers could contribute to less bureaucratic management but might also involve local politics. Although the relationship between devolved health centers and Public Health Organizations remained close after the devolution, only 19 devolved health centers reported to have routine audit by Public Health Organizations. Seven respondents indicated they would prefer to move back to MOPH. Lastly, it was reported that the devolution process lacked the participation from people and frontline health personnel.
Successful healthcare decentralization requires clearer devolution policy and supportive laws and regulations from the government. The MOPH should maintain its roles of supervision and regulation in all devolved health centers and collectively address any arising challenges with the LGUs. The devolution of health centers should maintain within the LGUs with sufficient capacities and people participation must be strongly promoted.