Show simple item record

Developing Appropriate Tools for Hearing Screening in Preschoolers

dc.contributor.authorพศิน อิศรเสนา ณ อยุธยาth_TH
dc.contributor.authorPasin Israsenath_TH
dc.contributor.authorขวัญชนก ยิ้มแต้th_TH
dc.contributor.authorKwanchanok Yimtaeth_TH
dc.contributor.authorพนิดา ธนาวิรัตนานิจth_TH
dc.contributor.authorPanida Thanawirattananitth_TH
dc.contributor.authorพรเทพ เกษมศิริth_TH
dc.contributor.authorPornthep Kasemsirith_TH
dc.contributor.authorอนุกูล น้อยไม้th_TH
dc.contributor.authorAnukool Noymaith_TH
dc.contributor.authorสังวรณ์ ศรีสุทัศน์th_TH
dc.contributor.authorSangvorn Seesutasth_TH
dc.contributor.authorธราพงษ์ สูญราชth_TH
dc.contributor.authorTharaphong Soonrachth_TH
dc.contributor.authorศิวัตม์ สายบัวth_TH
dc.contributor.authorSiwat Saibuath_TH
dc.date.accessioned2018-05-01T03:34:15Z
dc.date.available2018-05-01T03:34:15Z
dc.date.issued2560-12
dc.identifier.otherhs2407
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4883
dc.description.abstractโครงการวิจัย เป็นการพัฒนาเครื่องมือเพื่อใช้คัดกรองการได้ยินในเด็กปฐมวัย ที่มุ่งเน้นให้สามารถคัดกรองได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และมีราคาประหยัด โดยใช้เทคนิคการคัดกรองการได้ยินโดยการชี้ภาพที่สอดคล้องจากการฟังเสียงพูดภาษาไทย พัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่นบนแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ราคาประหยัด (Audiometer version 1) นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายรองในการทดลองออกแบบและประเมินความเป็นไปได้ในการพัฒนาฟังก์ชันการตรวจการได้ยินเพิ่มเติม (Audiometer version 2) คือ การตรวจการได้ยินโดยใช้เสียงบริสุทธิ์ และระบบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ไขการได้ยินทางไกล (tele-consult) ซึ่งจะเป็นทางเลือกที่หลากหลายตามเงื่อนไขของทรัพยากร เช่น บุคลากรหรืองบประมาณที่มีในพื้นที่นั้นๆ แก่ผู้ต้องการนำอุปกรณ์เหล่านี้ไปใช้ในระบบบริการในไทย ผลการวิจัยได้พัฒนาชุดคำศัพท์จำนวน 4 ชุดๆละ 6 คำ ทำงานร่วมกับอัลกอริทึ่มลำดับขั้นในการแสดงภาพดังกล่าวและเสียงพูดในระดับความดังต่างๆ เพื่อการคัดกรอง เมื่อทดสอบแอพพลิเคชัน Audiometer version 1 กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่าระบบมีความไว 100% และความจำเพาะ 79.44% สามารถแยกเด็กหูดีออกจากเด็กที่มีการสูญเสียการได้ยินมากกว่า 25 เดซิเบลได้ โดยใช้เวลาน้อยกว่า 2 นาที เทียบกับ 12 นาทีจากการตรวจโดยใช้อุปกรณ์มาตรฐาน ในส่วนการพัฒนาฟังก์ชั่นตรวจการได้ยินเสริม ใน Audiometer version 2 พบว่าสามารถสร้างฟังก์ชั่นตรวจการได้ยินได้จริง แต่ยังมีความคลาดเคลื่อนในเรื่องความแม่นยำ โดยการตรวจการได้ยินโดยใช้เสียงบริสุทธิ์ (pure tone measurement) ผ่านอากาศ สามารถตั้งค่าความดังของเสียงได้ใกล้เคียงของเครื่องตรวจการได้ยินไฟฟ้าแบบมาตรฐาน เสียงที่ได้ยินผ่านอากาศยังมีความเบากว่าเสียงจากเครื่องตรวจการได้ยินไฟฟ้าแบบมาตรฐานเล็กน้อย แต่สามารถพัฒนาต่อยอดให้มีความแม่นยำยิ่งขึ้นได้ ส่วนการตรวจการได้ยินเสียงผ่านกระดูก พบปัญหาเรื่องการปรับเทียบเสียง เนื่องจากขาดอุปกรณ์ที่เป็นตัววัดเสียงมาตรฐานจากกระดูก ทำให้เสียงจากเครื่องวิจัยมีความดังมากกว่าเครื่องตรวจการได้ยินไฟฟ้า แบบมาตรฐาน ผลตรวจการได้ยินเสียงผ่านกระดูกจึงน้อยกว่า อย่างไรก็ตามที่ความถี่ 1000, 2000, 3000 Hz. ผลตรวจการได้ยินที่วัดได้มีความแตกต่างกันน้อยกว่า 5 dB น่าจะพัฒนาการปรับจูนเสียงที่ความถี่อื่นๆ ต่อไปได้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectเครื่องช่วยฟังth_TH
dc.subjectเครื่องช่วยการได้ยินth_TH
dc.subjectเด็กปฐมวัยth_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies)th_TH
dc.titleการพัฒนาอุปกรณ์เพื่อการคัดกรองการได้ยินในเด็กปฐมวัยที่เหมาะสมth_TH
dc.title.alternativeDeveloping Appropriate Tools for Hearing Screening in Preschoolersth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe main objective of this project was to develop a cost effective, tablet-based hearing screening system that can perform a rapid minimal speech recognition level test. An android-based screening application was developed. The screening protocol involved asking the child to pick pictures corresponding to the set of predefined words heard at different sound levels offered in a specifically designed sequence. For screening purposes, the developed screening system was 100% sensitive (95% CI = 83.18% to 100%) for children with speech reception threshold (SRT) or pure tone average threshold > 25 dBHL, with a specificity 0f 79.44% (95% CI = 70.83% to 86.01%). The time taken for screening of each child was less than 2 minutes on average, compared to 12 minutes required in normal procedure. Also, to explore other options that could suit a variety of resource settings, the secondary objective was to implement and evaluate standard pure tone audiometric measurement and tele-audiometry functions on the tablet-based system. It was found that, with additional hardware to increase the dynamic range, function-wise both could successfully be realized. However, due to calibration difficulties especially for the bone-conduction audiometry, accuracies were found to be less than those measured with standard audiometric equipment. Still, the results were encouraging enough to warrant further research and development on this.th_TH
dc.identifier.callnoHV2391 พ479ก 2560
dc.identifier.contactno59-046
.custom.citationพศิน อิศรเสนา ณ อยุธยา, Pasin Israsena, ขวัญชนก ยิ้มแต้, Kwanchanok Yimtae, พนิดา ธนาวิรัตนานิจ, Panida Thanawirattananit, พรเทพ เกษมศิริ, Pornthep Kasemsiri, อนุกูล น้อยไม้, Anukool Noymai, สังวรณ์ ศรีสุทัศน์, Sangvorn Seesutas, ธราพงษ์ สูญราช, Tharaphong Soonrach, ศิวัตม์ สายบัว and Siwat Saibua. "การพัฒนาอุปกรณ์เพื่อการคัดกรองการได้ยินในเด็กปฐมวัยที่เหมาะสม." 2560. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4883">http://hdl.handle.net/11228/4883</a>.
.custom.total_download125
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year4

Fulltext
Icon
Name: hs2407.pdf
Size: 14.35Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record