บทคัดย่อ
โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) เป็นโรคในกลุ่มของ age-associated neurodegenerative diseases ชนิดหนึ่งที่มักเกิดขึ้นในผู้สูงวัย โดยมีจำนวนผู้ป่วยทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การตรวจวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ตั้งแต่เนิ่นๆ นั้นนับว่าเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งสามารถช่วยในการป้องกันและรักษาโรคได้อย่างทันท่วงที ก่อนที่พยาธิสภาพจะดำเนินไปจนถึงระดับที่รุนแรง มีรายงานพบตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่สัมพันธ์กับพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์คือ โปรตีน beta amyloid โดยสามารถตรวจพบได้ในตัวอย่างสิ่งส่งตรวจจากผู้ป่วย และสามารถใช้ในการพยากรณ์โรคที่มีความน่าเชื่อถือได้ อย่างไรก็ตามวิธีการตรวจสอบ beta amyloid ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาแล้วในปัจจุบันนั้น แม้จะมีการพัฒนาให้มีความไวในการตรวจวัดได้ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดที่สำคัญหลายประการ เช่น ส่วนใหญ่เป็นวิธีใช้เวลานาน ต้องใช้เครื่องมือและขั้นตอนการใช้งานที่มีความซับซ้อน และต้องการผู้เชี่ยวชาญในการใช้งานและอ่านผล ดังนั้นงานวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ ในการพัฒนาวิธีสำหรับการตรวจวัดปริมาณตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ชนิด beta-amyloid 1-42 โดยอาศัยหลักการของ immunoassays ร่วมกับการประยุกต์ใช้gold nanoparticle ในการตรวจสอบสัญญาณสีที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า เพื่อต่อยอดและนำไปใช้ในการพัฒนาชุดตรวจ beta amyloid ชนิด rapid test ให้มีความไวในการตรวจวิเคราะห์ และมีความง่ายในการใช้งานมากขึ้นในอนาคต
บทคัดย่อ
Alzheimer’s disease (AD) is a primary common neurodegenerative disorder worldwide and increases prevalence in elder ages of life span. The critical detection of early diagnosis is the mostly important to support treatments to defense this incapacitating disease. Amyloidbeta proteins have various significant physiological or pathophysiological effects on AD progression. It was affirmed that amyloid-beta protein levels are detected for preclinical diagnosis and prognosis as a reliable biomarker for neurodegeneration. The available methods for detection of amyloid-beta proteins are time consuming and complicated operations. Herein, a gold nanoparticle-labelled dot blot immunoassays was had been developed for detection of beta amyloid 1-42 oligomers providing high potential early diagnosis for AD. The optimization of direct dot blot immunoassay assay was investigated and the interpretation of the colorimetric results can be visualized by naked eyes.