บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณาแบบผสมโดยทำการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาระงานและปัจจัยกำหนดผลิตภาพ 2) ศึกษาความสอดคล้องของภาระงานกับอัตรากำลังบุคลากรที่มี และ3) สังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านกำลังคนสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเชิงปริมาณ คือ บุคลากรทุกตำแหน่ง/ทุกคนที่ปฏิบัติงานจริง ณ รพ.สต. 5 ขนาด (S, M, L, Extra และพิเศษ) จำนวน 336 คน ใน 48 แห่งที่สุ่มโดยวิธี Stratified Random Sampling จาก 12 จังหวัด ใน 12 เขตสุขภาพ และกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย บุคลากรทุกตำแหน่ง/ทุกคนที่ปฏิบัติงานจริง ณ รพ.สต. ดีเด่น จำนวน 8 แห่ง ที่คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จาก 4 ภูมิภาคของประเทศ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลการใช้เวลาในการการปฏิบัติงานประจำวัน และภาระงานในระยะเวลา 3 เดือน แบบสังเกตชนิดมีโครงสร้างและประเด็นในการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลความต้องการอัตรากำลังคนเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงบรรยายได้แก่ จำนวนและร้อยละ วิเคราะห์เชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ในภาพรวมการทำงานของบุคลากรใน รพ.สต. ใช้เวลาส่วนใหญ่กับงานรักษาพยาบาล (ร้อยละ 60 – 70) มากกว่างานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคซึ่งเป็นภารกิจหลักของรพ.สต. 2) ในภาพรวม รพ.สต. ยังมีความขาดแคลนกำลังคนเมื่อเทียบกับภาระงาน อัตรากำลังบุคลากรที่มีในปัจจุบัน ไม่สอดคล้องกับกรอบอัตรากำลังที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยเฉลี่ยบุคลากรแต่ละคนในรพ.สต. มีการทำงานประมาณ 1.2 FTE และบุคลากรทุกตำแหน่งมีการใช้เวลากว่าร้อยละ 30 ของเวลาการทำงานทั้งหมด เพื่อทำรายงานผลงานตามตัวชี้วัดที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด รวมถึงการทำงานด้านบริหาร งานเอกสารอื่นๆ เช่น งานพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง การเงิน การบันทึกข้อมูล มีผลทำให้เวลาที่ให้บริการสุขภาพประชาชนลดน้อยลง ในขณะเดียวกันบุคลากรส่วนใหญ่รู้สึกขาดขวัญกำลังใจ ที่ทำงานหนัก แต่ไม่ได้รับค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาและไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุข จึงควรมีการทบทวนการกำหนดกรอบมาตรฐานอัตรากำลัง,การสร้างขวัญกำลังใจในรูปแบบต่างๆ และการปรับปรุงกระบวนการทำงานใหม่เพื่อให้ใช้ประโยชน์จากกำลังคนที่มีอยู่อย่างเต็มศักยภาพ ตามลักษณะงานและปริมาณงานของ รพ.สต.แต่ละขนาด ส่งเสริมการทำงานให้สอดคล้องกับภารกิจหลัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพัฒนาสมรรถนะผู้อำนวยการรพ.สต. ในการบริหารจัดการเพื่อลดภาระงานที่ไม่จำเป็น และควรมีการจัดสรรบุคลากร รพ.สต. ให้มีจำนวนเพียงพอภาระงานในปัจจุบัน รวมทั้งการทบทวนเกี่ยวกับการกำหนดตัวชี้วัด และระบบรายงาน ที่จะไม่เป็นภาระแก่บุคลากรโดยไม่จำเป็น
บทคัดย่อ
This descriptive mixed method study aimed to 1) investigate workload and factors associated with productivity of health personnel in District Health promotion Hospitals 2) describe relationship between workload and existing staffs and 3) formulate policy recommendations for health workforce planning and development. Stratified random sampling was applied to select samples for quantitative data collection. 48 District Health promotion Hospitals (DHPH) of 5 sizes (S,M,L,Extra and special size) were selected from 12 provinces in 12 health regions of Ministry of Public Health. All 336 health personnel in 48 selected DHPH were requested to record their daily time spent and productivity in electronic forms for 3 months. Purposive sampling was applied to select 8 outstanding DHPHs from 4 geographic regions across country. Focus Group Discussions were conducted, all health personnel who working in selected settings were participated. Descriptive statistic and content analysis were applied for data analysis. The main findings from this study indicated that 1) Health personnel in DHPH spent their working hours for curative activity 60%-70% more than health promotion and prevention activities which were their major responsibility 2) Comparing with staffing standard and current workload, there was shortage of health personnel in DHPH. In average each staff provided 1.2 FTE to complete their jobs. They also complaint about not balancing between their effort and reward, they did not get overtime payment and career advancement. 3) Health personnel had to share 30% of their working hours for administrative and clerical jobs which led to decrease time to provide health services. These jobs consisted of performance reporting associated with MOPH mandatory indicators, financial and accounting report, supply and inventory document and input data into management information system for various public agencies etc. These finding suggested that, MOPH should improve staffing standard and allocation, improve morale and optimize resources utilization. Moreover, development of administrative competency for directors of DHPH and re-orientation of mandatory reporting system need to be concerned as well.