dc.contributor.author | พินิจ ฟ้าอำนวยผล | th_TH |
dc.contributor.author | Pinij Faramnuayphol | en_EN |
dc.date.accessioned | 2018-06-05T06:05:53Z | |
dc.date.available | 2018-06-05T06:05:53Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.other | hs2422 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4898 | |
dc.description.abstract | โครงการวิจัยและพัฒนาระบบสารสนเทศแบบบูรณาการเพื่อสนับสนุนบริการปฐมภูมิจากชุดข้อมูลมาตรฐานเป็นงานวิจัยและพัฒนาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการมาตรฐานในการรวบรวมข้อมูล การบันทึกข้อมูล และการใช้ข้อมูล สำหรับบริการระดับปฐมภูมิ และเพื่อพัฒนาเครื่องมือสารสนเทศในการประมวลผลข้อมูลและแสดงผลข้อมูลตามชุดข้อมูลมาตรฐานของสถานบริการปฐมภูมิสำหรับสนับสนุนการให้บริการ และเพิ่มคุณภาพของข้อมูล วิธีการศึกษา เริ่มต้นจากการทบทวนชุดข้อมูลมาตรฐานที่มีการส่งออกมาจากสถานบริการปฐมภูมิ ทบทวนกระบวนการให้บริการและบันทึกข้อมูลบริการปฐมภูมิตามชุดข้อมูลมาตรฐาน รวมทั้งสรุปปัญหาคุณภาพของข้อมูลที่ส่งออกมา หลังจากนั้นจึงทำการเลือกแฟ้มข้อมูลมาตรฐานที่มีความสำคัญนำมาออกแบบและพัฒนาเครื่องมือสารสนเทศในการนำเข้าข้อมูลเชื่อมโยงข้อมูล ประมวลผลข้อมูล และแสดงผลข้อมูลร่วมกับกระบวนการบันทึกข้อมูล จัดการข้อมูล และใช้ข้อมูลในการสนับสนุนการให้บริการและเพิ่มความครอบคลุมของข้อมูล ผลการศึกษา จากชุดข้อมูลมาตรฐาน 43 แฟ้ม ที่เป็นข้อมูลที่สถานบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุขส่งออกขึ้นมาให้หน่วยงานในระดับที่สูงขึ้น มีแฟ้มข้อมูลจำนวน 38 แฟ้มที่เกี่ยวข้องกับสถานบริการระดับปฐมภูมิ โดยการศึกษาได้เลือกแฟ้มข้อมูลจำนวน 14 แฟ้ม ที่มีความสำคัญในการดำเนินงานของสถานบริการปฐมภูมิเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานหลัก 10 ด้าน ได้แก่ ด้านประชากรและครัวเรือน ด้านโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ด้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ด้านการตรวจทางห้องปฏิบัติการผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ด้านการคัดกรองโรคเรื้อรัง ด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ด้านหญิงวัยเจริญพันธุ์ ด้านหญิงตั้งครรภ์และการดูแลก่อนคลอด ด้านหญิงคลอดและการดูแลหลังคลอด และด้านทารกแรกเกิดและการดูแลทารกหลังคลอด โดยในการพัฒนาเครื่องมือสารสนเทศสำหรับการประมวลผลและแสดงผลข้อมูลใช้โปรแกรม Qlikview เป็นฐานของการพัฒนา โดยสามารถนำเข้าข้อมูลที่ส่งออกมาจากโปรแกรมทั้ง JHCIS และ HOSXP-PCU ในรูปแบบของแฟ้มข้อมูลมาตรฐานที่เป็น Text file ได้โดยตรงเมื่อข้อมูลถูกนำเข้าสู่ระบบแล้วแฟ้มข้อมูลทั้ง 14 แฟ้มจะเชื่อมโยงกันโดยอัตโนมัติ และจะสามารถแสดงผลข้อมูลได้ทันที ประกอบด้วยการแสดงผลข้อมูลทั้ง 10 ด้าน โดยมีหน้าแสดงผลทั้งหมด 23 หน้า ซึ่งแต่ละหน้าจะมีหน้าต่างที่เป็นตัวแปรที่ใช้ในการกรองข้อมูลหน้าต่างแสดงกราฟจำแนกตามตัวแปร และหน้าต่างแสดงข้อมูลรายบุคคลโดยแต่ละหน้าต่างจะมีการแสดงผลที่สัมพันธ์กัน และสอดคล้องกับตัวแปรที่เลือก รวมทั้งยังส่งผลต่อทุกหน้าแสดงผล เนื่องจากข้อมูลมีการเชื่อมโยงกันทั้งหมดนอกจากนี้เครื่องมือสารสนเทศดังกล่าวยังสามารถแสดงและพิมพ์รายชื่อของกลุ่มเป้าหมายที่ต้องติดตามเพื่อสนับสนุนการใช้งานในชุมชนหรือติดตามกลุ่มเป้าหมายได้โดยการเลือกเงื่อนไขที่ต้องการ เช่น ผู้ที่มีภาวะอ้วน ผู้ที่ตรวจพบความดันโลหิตสูง ผู้ที่ตรวจพบน้ำตาลในเลือดสูง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการผิดปกติ หรือแสดงรายชื่อกลุ่มเป้าหมาย พร้อมประวัติการได้รับบริการ เช่น รายชื่อเด็กพร้อมประวัติการได้รับวัคซีนแต่ละชนิด รายชื่อหญิงตั้งครรภ์พร้อมประวัติการฝากครรภ์ เป็นต้น โดยสรุป เครื่องมือสารสนเทศในการประมวลผลและแสดงผลข้อมูลที่พัฒนาขึ้นมีประโยชน์ในการสะท้อนการกระจายของสถานการณ์สุขภาพของแต่ละกลุ่มประชากร ช่วยชี้กลุ่มเป้าหมายประชากรหรือผู้ป่วยที่ต้องได้รับการติดตาม ช่วยชี้ความแปรปรวนตามช่วงเวลาของการเกิดโรค ช่วยในการติดตามผลงานบริการ ช่วยประเมินสุขภาพและการได้รับบริการในระดับบุคคล ระดับครัวเรือน และระดับชุมชน ช่วยชื้ให้เห็นการกระจายของข้อมูลที่บันทึก และข้อมูลที่ผิดปกติอันเป็นการสนับสนุนการทำงานของสถานบริการปฐมภูมิ และพัฒนาคุณภาพของข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยระบบดังกล่าวมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาต่อยอดและขยายผลการใช้งาน รวมทั้งการพัฒนาระบบประมวลผลและแสดงผลข้อมูลในระดับอำเภอ ที่เชื่อมโยงข้อมูลของสถานบริการในอำเภอเดียวกันเข้าด้วยกัน | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ระบบสารสนเทศ | th_TH |
dc.subject | สารสนเทศทางการแพทย์ | th_TH |
dc.subject | บริการปฐมภูมิ | th_TH |
dc.subject | ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Information Systems | en_EN |
dc.subject | ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) | th_TH |
dc.title | การวิจัยและพัฒนาระบบสารสนเทศแบบบูรณาการเพื่อสนับสนุนบริการปฐมภูมิจากชุดข้อมูลมาตรฐาน (ปีที่ 2) | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.identifier.callno | W26.5 พ685ก 2561 | |
dc.identifier.contactno | 59-035 | |
dc.subject.keyword | ชุดข้อมูลมาตรฐาน | th_TH |
.custom.citation | พินิจ ฟ้าอำนวยผล and Pinij Faramnuayphol. "การวิจัยและพัฒนาระบบสารสนเทศแบบบูรณาการเพื่อสนับสนุนบริการปฐมภูมิจากชุดข้อมูลมาตรฐาน (ปีที่ 2)." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4898">http://hdl.handle.net/11228/4898</a>. | |
.custom.total_download | 337 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 2 | |
.custom.downloaded_this_year | 20 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 5 | |