Show simple item record

Public Health Professions Health Workforce Requirements in Thailand 2026

dc.contributor.authorบุญเรือง ขาวนวลth_TH
dc.contributor.authorBoonruang Khaonuanen_US
dc.contributor.authorนงลักษณ์ พะไกยะth_TH
dc.contributor.authorNonglak Pagaiyaen_US
dc.contributor.authorประยูร ฟองสถิตย์กุลth_TH
dc.contributor.authorPrayoon Fongsatitkulen_US
dc.contributor.authorสถิรกร พงศ์พานิชth_TH
dc.contributor.authorSathirakorn Pongpanichen_US
dc.contributor.authorวิทยา อยู่สุขth_TH
dc.contributor.authorWittaya Yoosuken_US
dc.contributor.authorขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อth_TH
dc.contributor.authorKwanjai Amnatsatsueen_US
dc.contributor.authorทัศนีย์ ศิลาวรรณth_TH
dc.contributor.authorTasanee Silawanen_US
dc.date.accessioned2018-06-28T06:58:10Z
dc.date.available2018-06-28T06:58:10Z
dc.date.issued2561-06
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 12,2 (เม.ย.-มิ.ย. 2561) : 245-253th_TH
dc.identifier.issn0858-9437
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4907
dc.description.abstractประเทศไทย นอกจากจะต้องประสบกับปัญหาในด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ที่นำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำแล้ว ระบบสุขภาพก็กำลังได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆ ได้แก่ โครงสร้างประชากรที่กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆ การเพิ่มขึ้นของชุมชนเมือง ภัยธรรมชาติที่จะมีความรุนแรงและมีความถี่มากขึ้น โรคอุบัติใหม่ทั้งในพืชและในสัตว์ การเข้ามาทำงานของแรงงานต่างชาติ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น ซึ่งคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพของประเทศในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2560–2569) มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายในการวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพในอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งวิชาชีพสาธารณสุขเป็นกำลังคนหลักด้านหนึ่งที่สำคัญในการพัฒนาระบบสุขภาพ การศึกษานี้เป็นการคาดการณ์กำลังคนกลุ่มวิชาชีพสาธารณสุขในอนาคต การคาดการณ์ความต้องการกำลังคนครั้งนี้ใช้วิธีการคาดการณ์ความต้องการ (demand projection) และการคาดการณ์อุปทาน (supply projection) ซึ่งวิธีการคาดการณ์ความต้องการใช้ health demand approach คิดเฉพาะภาคให้บริการ (service setting) และอัตราส่วนต่อประชากร (population ratio) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันกำลังคนกลุ่มวิชาชีพสาธารณสุขส่วนใหญ่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) รองลงมาเป็นสำนักงานสาธารณสุขอำเภอและโรงพยาบาลชุมชน ส่วนสถาบันการผลิตกำลังคนกลุ่มวิชาชีพสาธารณสุขในปัจจุบัน ทั้งหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี และหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่อง มีจำนวนอย่างน้อย 76 แห่ง มีกำลังการผลิตวิชาชีพสาธารณสุข จำนวนระหว่าง 30–3,776 คนต่อสถาบันต่อปี การคาดการณ์ความต้องการกำลังคนกลุ่มวิชาชีพสาธารณสุขในอีก 10 ปีข้างหน้า (demand projection) พบว่า หากยังคงผลิตกำลังคนกลุ่มวิชาชีพสาธารณสุขในอัตราเดิม กำลังคนจะเกินความต้องการของระบบบริการสุขภาพในการคำนวณทั้ง 2 รูปแบบ โดยรูปแบบที่ 1 ซึ่งคำนวณความต้องการตามอัตราส่วนต่อประชากร จะเกินความต้องการ 75,626-89,894 คน ส่วนรูปแบบที่ 2 ฉากทัศน์ที่ 1 คือระบบบริการดำเนินไปตามปกติ จะเกินความต้องการ 68,122-82,390 คน และรูปแบบที่ 2 ฉากทัศน์ที่ 2 คือระบบบริการให้ความสำคัญกับระบบบริการปฐมภูมิอย่างเข้มข้น และถ่ายงานผู้ป่วยนอกจากระบบบริการตติยภูมิมายังระบบบริการปฐมภูมิ ร้อยละ 25 เช่นนี้จะเกินความต้องการ 50,830-65,098 คน จากงานวิจัยที่ชี้ชัดว่า กำลังคนด้านวิชาชีพสาธารณสุขจะเกินความต้องการของระบบสุขภาพในอนาคต งานวิจัยนี้จึงมีข้อเสนอแนะว่า สภาการสาธารณสุขชุมชนจะต้องกำหนดมาตรฐานและสมรรถนะหลักของกำลังคนกลุ่มวิชาชีพสาธารณสุขให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของระบบสุขภาพในทศวรรษหน้า และต้องควบคุมและกำกับมาตรฐานของสถาบันการศึกษาด้านสาธารณสุขศาสตร์ให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งควรมีการวางแผนความต้องการกำลังคนด้านวิชาชีพสาธารณสุขร่วมกันระหว่างสถานบริการสุขภาพและผู้ผลิตบัณฑิต เพื่อไม่ให้ผลิตบัณฑิตเกินความต้องการของระบบบริการสุขภาพในอนาคตth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth manpoweren_US
dc.subjectบุคลากรสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth personnelen_US
dc.subjectบุคลากรทางการแพทย์th_TH
dc.subjectMedical personnelen_US
dc.titleความต้องการกำลังคนวิชาชีพสาธารณสุขของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2569th_TH
dc.title.alternativePublic Health Professions Health Workforce Requirements in Thailand 2026en_US
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeThailand is encountering problems regarding the economic, social and political instability leading to inequality. Significant factors affecting the next decade health system include the complete aged Thailand, increment urban communities, more frequent and severe natural disasters, emerging infectious animal and plant diseases related to migration and increasing chronic diseases. In this regard, the National Human Resource for Health Committee has appointed a subcommittee to study public health human resources planning for the next decade. Human resources requirements can be forecasted through the demand and supply projection. The demand projection relies on a health demand approach involving only the service setting, and population ratio. The findings of the study revealed that most public health human resources are currently working for the Ministry of Public Health, i.e., sub-district health promoting hospital, followed by district public health office, and community hospital. At present, there are at least 76 educational institutes producing public health graduates by offering both 4 year bachelor’s degree program and continuing bachelor’s degree program, at a capacity ranging from 30–3,776 persons/institute/year. The public health human resources demand projection over the next decade found that if the production capacity of public health human resources remains unchanged, the human resources will exceed requirements of the health system in all scenarios as follows: scenario 1 the population ratio, 75,626-89,894 persons will exceed requirements; scenario 2 the status quo primary care system, 68,122-82,390 persons will exceed requirements; and scenario 3 the intensive primary care system (with no outpatient service at the tertiary care level and 25% transferred to the primary care system), 50,830-65,098 persons will exceed requirements. According to the present research results of a high surplus of public health human resources, the Council of Community Public Health should establish standards and core competencies of public health human resources in alignment with changing health system over the next decade, take controls and oversee quality of public health educational institutes, as well as jointly plan public health human resources requirements under the collaboration between health systems and educational institutes in order to contain number of graduates not exceeding requirements.en_US
.custom.citationบุญเรือง ขาวนวล, Boonruang Khaonuan, นงลักษณ์ พะไกยะ, Nonglak Pagaiya, ประยูร ฟองสถิตย์กุล, Prayoon Fongsatitkul, สถิรกร พงศ์พานิช, Sathirakorn Pongpanich, วิทยา อยู่สุข, Wittaya Yoosuk, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ, Kwanjai Amnatsatsue, ทัศนีย์ ศิลาวรรณ and Tasanee Silawan. "ความต้องการกำลังคนวิชาชีพสาธารณสุขของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2569." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4907">http://hdl.handle.net/11228/4907</a>.
.custom.total_download1804
.custom.downloaded_today1
.custom.downloaded_this_month31
.custom.downloaded_this_year314
.custom.downloaded_fiscal_year83

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v12n ...
Size: 273.1Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

Show simple item record