Show simple item record

Work Pattern and Job Satisfaction among Thai Physical Therapists in Public and Private Sectors

dc.contributor.authorสาริณี แก้วสว่างth_TH
dc.contributor.authorSarinee Kaewsawangen_US
dc.contributor.authorวีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์th_TH
dc.contributor.authorVirasakdi Chongsuvivatwongen_US
dc.contributor.authorบุญสิน ตั้งตระกูลวนิชth_TH
dc.contributor.authorBoonsin Tangtrakulwanichen_US
dc.date.accessioned2018-06-28T08:02:43Z
dc.date.available2018-06-28T08:02:43Z
dc.date.issued2561-06
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 12,2 (เม.ย.-มิ.ย. 2561) : 280-291th_TH
dc.identifier.issn0858-9437
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4910
dc.description.abstractในประเทศไทยนั้น กำลังคนด้านกายภาพมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การคาดการณ์กำลังคนด้านนี้ในอีก 10 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2569) ก็เป็นเรื่องสำคัญเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับกระทรวงสาธารณสุขในการเตรียมการรองรับการก้าวเข้าสู่สังคมดังกล่าวในอนาคต การคาดการณ์กำลังคนด้านกายภาพบำบัด จำเป็นต้องอาศัยการศึกษาสถานภาพการทำงาน การเปลี่ยนงาน ความพึงพอใจในการทำงาน และปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของนักกายภาพบำบัดไทย ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยเก็บข้อมูลจากนักกายภาพบำบัดที่ปฏิบัติงานอยู่ใน 360 โรงพยาบาลใน 13 จังหวัดของประเทศไทย ระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน พ.ศ. 2556 ตัวแปรที่เก็บในงานวิจัยนี้ประกอบด้วย สถานภาพทางประชากรและสังคม สถานภาพการทำงาน ความพึงพอใจในการทำงาน และการวางแผนเปลี่ยนงาน ใช้สถิติเชิงพรรณนา เช่น ความถี่ ค่าเฉลี่ย หรือมัธยฐานของตัวแปรต่างๆ นำมาเปรียบเทียบระหว่างนักกายภาพบำบัดที่ทำงานในภาครัฐและภาคเอกชน การวิเคราะห์ปัจจัยนำมาใช้วิเคราะห์ความพึงพอใจในการทำงานของนักกายภาพบำบัดจาก 10 ข้อคำถามที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์หาปัจจัยที่ทำนายการวางแผนลาออกจากวิชาชีพกายภาพบำบัดระหว่างนักกายภาพบำบัดทั้งสองกลุ่ม ภายหลังการปรับตัวแปรด้านต่างๆ แล้ว โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก จากการสำรวจและสอบถามนักกายภาพบำบัดจำนวน 553 คน จากทั้งหมด 858 คน (ร้อยละ 64.5) พบว่า นักกายภาพบำบัดที่ทำงานในภาคเอกชนมีสถานภาพการทำงานที่ดีกว่า ในเรื่องของอัตราเงินเดือนที่สูงกว่า มีตำแหน่งเป็นพนักงานประจำมากกว่า ภาระงานน้อยกว่า และทำงานด้านป้องกันกับด้านวิจัยน้อยกว่านักกายภาพบำบัดที่ทำงานในภาครัฐ ขณะที่นักกายภาพบำบัดในภาครัฐได้รับสิทธิประโยชน์จากการทำงานมากกว่าภาคเอกชน ความพึงพอใจในการทำงานกายภาพบำบัด มี 3 ปัจจัยคือ ความภาคภูมิใจในวิชาชีพ ความเครียดจากการทำงาน และร่างกายเหนื่อยล้า ส่วนการศึกษาการวางแผนเปลี่ยนงานภายในระยะเวลา 5 ปี พบว่า นักกายภาพบำบัดที่ทำงานในภาครัฐเกือบ 1 ใน 4 คน (ร้อยละ 23.5) และ 1 ใน 3 (ร้อยละ 36.1) ของนักกายภาพบำบัดที่ทำงานในภาคเอกชน มีแผนที่จะลาออกจากงานกายภาพบำบัด ในขณะที่การศึกษาการทำงานกายภาพบำบัดในระยะยาว พบว่า ครึ่งหนึ่งของนักกายภาพบำบัดในภาครัฐมีแผนที่จะทำงานต่อไปจนเกษียณอายุราชการ นอกจากนี้ยังพบว่านักกายภาพบำบัดในภาคเอกชนมีแผนในการลาออกจากวิชาชีพมากกว่านักกายภาพบำบัดในภาครัฐสูงถึง 2.4 เท่า ภายหลังการปรับตัวแปรด้านอายุ รายได้และมิติทั้ง 3 ของความพึงพอใจในการทำงานแล้ว ข้อเสนอแนะคือ ประเทศไทยควรส่งเสริมสถานภาพการทำงานของวิชาชีพกายภาพบำบัดให้ดีขึ้น เพื่อก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในวิชาชีพ อีกทั้งช่วยในการแก้ไขปัญหาความขาดแคลนนักกายภาพบำบัดและธำรงรักษากำลังคนไว้ได้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isoenth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectนักกายภาพบำบัดth_TH
dc.subjectความพึงพอใจในการทำงานth_TH
dc.subjectPhysical therapistsen_US
dc.titleสถานะการทำงานและความพึงพอใจในการทำงานของนักกายภาพบำบัดไทยในภาครัฐและภาคเอกชนth_TH
dc.title.alternativeWork Pattern and Job Satisfaction among Thai Physical Therapists in Public and Private Sectorsen_US
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeIn Thailand, health system has increasing concerns on physical therapy (PT) workforce planning for aging population. The workforce projection study should also cover on attrition and retention. To determine work pattern, job mobility, satisfaction of Thai physical therapists and their determinants among public and private sector physical therapists were necessity. During January to April 2013, we conducted a cross-sectional survey on a subgroup of physical therapists (PTs) working in 360 healthcare facilities in 13 provinces of Thailand. A self-administered questionnaire was used to collect variables including socio-demographic characteristic, work status, job satisfaction, and professional mobility. Descriptive statistics such as frequency, mean, median were compared between public and private sectors. Factor analysis was also applied for 10 items of job satisfaction. Plan to leave the PT profession was compared with adjustment for the variables using logistic regression. From a total of 858 active PTs, there were 553 respondents (64.5%) in the study. Working status of private PTs was better than public one in terms of higher incomes, more permanent positions, less work load, and less involvement in prevention and research. However, PTs in the public sector had significantly higher work benefits. Job satisfaction of PTs was influenced by 3 main factors including professional fulfillment, job stress, and physical exhaustion. Within 5 years, one-quarter of the public PTs (23.5%) and one-third of the private PTs (36.1%) had a plan to leave the profession. For longer term, half of the public sector PTs (50.8%) were going to work until retirement. The private PTs were 2.4 times more likely to leave the profession after adjustment for age, income, and all 3 sub-domains of job satisfaction. In conclusion, the national health workforce planning in Thailand should improve the PT’s working conditions in consequence of fulfilling and solving the problem of inadequate PT workforce and high attrition.en_US
.custom.citationสาริณี แก้วสว่าง, Sarinee Kaewsawang, วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์, Virasakdi Chongsuvivatwong, บุญสิน ตั้งตระกูลวนิช and Boonsin Tangtrakulwanich. "สถานะการทำงานและความพึงพอใจในการทำงานของนักกายภาพบำบัดไทยในภาครัฐและภาคเอกชน." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4910">http://hdl.handle.net/11228/4910</a>.
.custom.total_download2118
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month26
.custom.downloaded_this_year130
.custom.downloaded_fiscal_year236

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v12n ...
Size: 281.6Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1334]
    บทความวิชาการ

Show simple item record