dc.contributor.author | รุ่งฤดี วงค์ชุม | th_TH |
dc.contributor.author | Rungrudee Wongchum | en_US |
dc.contributor.author | พีรนุช ลาเซอร์ | th_TH |
dc.contributor.author | Peeranuch LeSeure | en_US |
dc.contributor.author | อรทิพา ส่องศิริ | th_TH |
dc.contributor.author | Onthipa Songsiri | en_US |
dc.contributor.author | พิชาภรณ์ จันทนกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Pichaporn Janthanakul | en_US |
dc.contributor.author | วิชชุดา เจริญกิจการ | th_TH |
dc.contributor.author | Vishuda Charoenkitkarn | en_US |
dc.contributor.author | ชุติมา อรรคลีพันธุ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Chutima Akaleephan | en_US |
dc.date.accessioned | 2018-06-28T08:08:34Z | |
dc.date.available | 2018-06-28T08:08:34Z | |
dc.date.issued | 2561-06 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 12,2 (เม.ย.-มิ.ย. 2561) : 292-305 | th_TH |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4911 | |
dc.description.abstract | การศึกษาการเข้ามาทำงานของบุคลากรสุขภาพชาวต่างชาติในประเทศไทยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะส่วนบุคคลของบุคลากรชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานโรงพยาบาลในประเทศไทย ปัจจัยที่ทำให้บุคลากรชาวต่างชาติตัดสินใจมาทำงานโรงพยาบาลในประเทศไทย กระบวนการเข้ามาทำงาน ค่าใช้จ่าย การเตรียมตัว และลักษณะการทำงาน รวมถึงปัญหาและอุปสรรคที่พบ กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรชาวต่างชาติที่ทำงานในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน จำนวน 100 คน คัดเลือกด้วยเทคนิคการบอกต่อ (snowball technique) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่คณะผู้วิจัยจัดทำขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 31.23 ปี มีสัญชาติฟิลิปปินส์ ส่วนใหญ่จบการศึกษาสาขาวิชาชีพด้านสุขภาพ ร้อยละ 41 แบ่งเป็นจบการศึกษาด้านการพยาบาลร้อยละ 36 และการแพทย์ ร้อยละ 5 สำหรับความสามารถทางด้านภาษา ร้อยละ 94 ของกลุ่มตัวอย่างมีความสามารถทางด้านภาษาไทย และร้อยละ 99 มีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ สิ่งสนับสนุนที่ทำให้ประสบความสำเร็จในการเข้ามาทำงานในประเทศไทย 3 อันดับแรกคือ วุฒิการศึกษาร้อยละ 68 ความสามารถหรือความชำนาญเฉพาะทางเป็นที่ต้องการร้อยละ 64 และความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาไทยร้อยละ 55 ปัจจัยที่ทำให้เข้ามาทำงานในประเทศไทย ประกอบไปด้วยปัจจัยผลักดัน ได้แก่ การมีรายได้ไม่เพียงพอ การขาดความก้าวหน้าในการทำงาน การได้รับสวัสดิการที่ไม่ดี และค่าครองชีพที่สูง และปัจจัยดึงดูด ได้แก่ การได้รับประสบการณ์ใหม่ โอกาสได้ทำงาน และการมีโอกาสในการพัฒนาตนเองในสาขาอาชีพที่ทำงาน ส่วนกระบวนการเข้ามาทำงานนั้น ในขั้นตอนการเตรียมตัวพบว่า ส่วนมากได้รับข้อมูลจากเพื่อนที่ทำงานในประเทศไทย มีการเตรียมตัวด้านภาษา ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายการจ้างงานหรือการประกอบอาชีพและสุขภาพ ในขั้นตอนการสมัครงานพบว่า ส่วนใหญ่จะสมัครงานด้วยตนเองภายหลังจากการได้ข้อมูล วีซ่าที่ใช้ในการเข้ามาประเทศไทยครั้งแรกคือวีซ่านักท่องเที่ยว หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นวีซ่าสำหรับทำงานค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทำหนังสือเดินทาง การทำวีซ่าและการเดินทาง ส่วนลักษณะการทำงานในประเทศไทย พบว่า ร้อยละ 93 ทำงานเป็นบุคลากรด้านสนับสนุนสุขภาพ และร้อยละ 7 ทำงานเป็นบุคลากรด้านสุขภาพที่ประกอบวิชาชีพที่มีข้อตกลงยอมรับร่วม (mutual recognition arrangement: MRA) โดยร้อยละ 73 ทำงานในโรงพยาบาลเอกชน ปัญหาอุปสรรคที่พบ ได้แก่ การสื่อสารโดยใช้ภาษาไทย การปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมในการทำงานและการดำเนินชีวิต การได้รับค่าจ้างที่ไม่เป็นธรรม การต่ออายุวีซ่าและใบอนุญาตการทำงาน เสนอว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบายควรพิจารณาปรับปรุงขั้นตอนการต่ออายุวีซ่า การทบทวนการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามข้อตกลงยอมรับร่วม (MRA) ส่วนหน่วยงานระดับปฏิบัติการควรมีการจัดอบรมและพัฒนาทักษะการทำงานให้บุคลากรชาวต่างชาติ ปรับปรุงวัฒนธรรมการทำงาน และการจ่ายค่าค่าตอบแทนให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดรูปแบบการทำงานที่เป็นสากลและเกิดการจ้างงานอย่างเป็นธรรมและเสมอภาค | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ชาวต่างประเทศ | th_TH |
dc.subject | กำลังคนด้านสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health manpower | en_US |
dc.subject | บุคลากรสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Health personnel | en_US |
dc.subject | บุคลากรทางการแพทย์ | th_TH |
dc.subject | Medical personnel | en_US |
dc.subject | Foreign workers | en_US |
dc.title | การเข้ามาทำงานโรงพยาบาลในประเทศไทยของบุคลากรต่างชาติ | th_TH |
dc.title.alternative | Foreigners Employed as Hospital Workforce in Thailand | en_US |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The aims of the present descriptive study of foreigners being employed as hospital workforce in Thailand were to explore the characteristics of foreign hospital employees, factors influencing decision making of foreigners seeking employment in Thailand, the process of being employed as foreign hospital employees, and problems or obstacles encountered while working in Thailand. One hundred foreign hospital employees in both government and private hospitals in Thailand were recruited using snowball sampling. A questionnaire was used for data collection. The data were analyzed using descriptive statistics, including frequency, percentage, mean, and standard deviation. The results revealed that most participants were females with the mean age of 31.23 years. One-third of foreign hospital employees were the Filipinos. Success factors of being employed in Thailand included level of education (68%), competencies/special skills in needed fields (64%), and ability to communicate in Thai (55%). Factors influencing foreigners making decision to work in Thailand covered both push factors (such as low wages, limited career progression, unfair benefits, and high living expenses) and pull factors (including gaining new experience, job opportunities, and opportunity to improve career). The processes for being employed as foreign hospital employees included 1) preparation phase: foreigners prepared on language, working knowledge and employment laws, and health check-ups 2) application phase: most foreigners applied for a job themselves after receiving information. A tourist visa was initially granted at first arrival in Thailand and then changed to a non-immigrant visa “B”. The expenses of application phase included a visa, passport, work permit, and travel. Most participants (93%) were working as medical service assistants, such as interpreters and 7% were qualified to work as health care providers as described under the mutual recognition arrangement (MRA). Communication in Thai, adjusting to social and cultural differences, unfair wage, visa and work permit renewal were indicated as problems or obstacles encountered while working in Thailand. The recommendations from the present research were as follows: 1) stakeholders should revise the process of work permit renewal, and MRA; 2) the organization or employer should provide a basic training program in healthcare competencies, and improve workplace culture, including setting up appropriate remuneration system as international standard and equity basis. | en_US |
dc.subject.keyword | บุคลากรต่างชาติ | th_TH |
.custom.citation | รุ่งฤดี วงค์ชุม, Rungrudee Wongchum, พีรนุช ลาเซอร์, Peeranuch LeSeure, อรทิพา ส่องศิริ, Onthipa Songsiri, พิชาภรณ์ จันทนกุล, Pichaporn Janthanakul, วิชชุดา เจริญกิจการ, Vishuda Charoenkitkarn, ชุติมา อรรคลีพันธุ์ and Chutima Akaleephan. "การเข้ามาทำงานโรงพยาบาลในประเทศไทยของบุคลากรต่างชาติ." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4911">http://hdl.handle.net/11228/4911</a>. | |
.custom.total_download | 1250 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 2 | |
.custom.downloaded_this_year | 263 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 21 | |