Show simple item record

An Evaluation of Data and Report Systems in the Elementary School Health Services: A Case Study in Two Provinces of Thailand

dc.contributor.authorนิธิเจน กิตติรัชกุลth_TH
dc.contributor.authorNitichen Kittiratchakoolen_US
dc.contributor.authorดนัย ชินคำth_TH
dc.contributor.authorDanai Chinnacomen_US
dc.contributor.authorอรพรรณ โพธิหังth_TH
dc.contributor.authorOrapan Phothihangen_US
dc.contributor.authorนัยนา ประดิษฐ์สิทธิกรth_TH
dc.contributor.authorNaiyana Praditsitthikornen_US
dc.contributor.authorยศ ตีระวัฒนานนท์th_TH
dc.contributor.authorYot Teerawattananonen_US
dc.contributor.authorศรีเพ็ญ ตันติเวสสth_TH
dc.contributor.authorSripen Tantivessen_US
dc.date.accessioned2018-06-28T08:24:43Z
dc.date.available2018-06-28T08:24:43Z
dc.date.issued2561-06
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 12,2 (เม.ย.-มิ.ย. 2561) : 306-327th_TH
dc.identifier.issn0858-9437
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4914
dc.description.abstractกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกันดำเนินโครงการ “โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนด้านสุขภาพควบคู่ไปกับการศึกษา โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐาน และจัดทำเกณฑ์การประเมินเพื่อรับรองเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพใน 4 ระดับ (จากต่ำไปสูง) คือ ทองแดง เงิน ทอง และเพชร โดยหนึ่งในมาตรฐานการดำเนินงานที่สำคัญคือ บริการอนามัยโรงเรียน และมาตรฐานการดำเนินงานดังกล่าวกำหนดให้บันทึกและรายงานข้อมูลสุขภาพนักเรียน เพื่อใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานของโรงเรียน อย่างไรก็ตาม ไม่มีการประเมินคุณภาพและการใช้งานข้อมูลที่ได้มาจากการให้บริการอนามัยโรงเรียน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานการณ์ระบบบริหารจัดการข้อมูลภายใต้บริการอนามัยโรงเรียน ในขอบเขตของการตรวจสุขภาพ 4 ด้าน ได้แก่ การประเมินภาวะการเจริญเติบโต การทดสอบสายตา การทดสอบการได้ยิน และการตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน รวมถึงการให้วัคซีนแก่นักเรียนระดับประถมศึกษา รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ใช้กระบวนการวิจัยแบบผสม (mixed-methods) และใช้การสุ่มแบบชั้นภูมิ ประกอบด้วย ชั้นภูมิที่ 1 คือหน่วยจังหวัด จำนวน 2 จังหวัด ชั้นภูมิที่ 2 คือหน่วยโรงเรียน จำนวน 9 โรงเรียน และชั้นภูมิที่ 3 คือหน่วยผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วยบุคลากรจากภาคการศึกษาและภาคสาธารณสุข รวมถึงผู้ปกครองและเด็กนักเรียน รวม 118 คน วิธีการเก็บข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม การทบทวนข้อมูลสุขภาพนักเรียน และการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลสุขภาพนักเรียนที่เก็บไว้ในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรและทองแดงนั้น ต่างก็ขาดความสมบูรณ์ เนื่องจากโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างมีการใช้เครื่องมือบันทึกและรายงานสุขภาพนักเรียนที่หลากหลาย โดยเครื่องมือเหล่านี้มีความซ้ำซ้อนของสิ่งที่ต้องบันทึก ซึ่งเป็นการสร้างภาระงานให้แก่ผู้รับผิดชอบ อีกทั้งหลังจากได้รับการรับรองแล้ว โรงเรียนไม่ได้จัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง นอกจากนี้ การให้ความสำคัญกับข้อมูลสุขภาพนักเรียนในแต่ละเรื่องของบุคลากรของโรงเรียนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีความแตกต่างกัน โดยบุคลากรของโรงเรียนบันทึกเฉพาะข้อมูลน้ำหนักและส่วนสูงเพื่อส่งต่อไปยังกระทรวงศึกษาธิการ ขณะที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมุ่งเน้นการบันทึกข้อมูลตามตัวชี้วัด ซึ่งไม่สัมพันธ์กับข้อกำหนดของมาตรฐานการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ การสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพนักเรียนระหว่างภาคการศึกษาและภาคสาธารณสุข ที่ไม่เป็นแนวทางเดียวกันสิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพยังขาดระบบบริหารจัดการข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขาดการติดตามเก็บข้อมูลสุขภาพนักเรียนอย่างเป็นระบบth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectอนามัยโรงเรียนth_TH
dc.subjectสุขภาพเด็กวัยเรียนth_TH
dc.subjectโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพth_TH
dc.titleการประเมินระบบข้อมูลและรายงานสุขภาพนักเรียนในงานบริการอนามัยโรงเรียนระดับประถมศึกษา: กรณีศึกษาสองจังหวัดในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeAn Evaluation of Data and Report Systems in the Elementary School Health Services: A Case Study in Two Provinces of Thailanden_US
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeThe Ministry of Education (MoE) and Ministry of Public Health (MoPH) have been jointly implementing the health-promoting school (HPS) program since 1998. This program aimed to improve students’ health and education simultaneously. The Department of Health established operating standards and evaluation processes for accrediting schools in four categories (from lowest to highest): bronze, silver, gold and diamond. One of the operating standards, School Health Services (SHS), required schools to maintain student health records and reports used to evaluate the performance of the schools. However, the quality and use of the health data collected as a result of implementing the SHS had not been assessed since the inception of the program. The purpose of this study was to evaluate the situation of students’ health data management system in the SHS. The study focused on data collected from four physical exams namely, growth assessment, vision testing, hearing testing and dental examination, and vaccinations for primary school students. The study design was a descriptive in nature and applied mixed-methods. A stratified sampling approach was used with three strata: the first strata comprised two provinces; the second, nine schools; and the third, 118 informants from the education and health sectors, parents, and students. The data collection approach included in-depth interviews, a questionnaire, reviews of students’ health data and related documents. Descriptive statistics and content analysis were employed for data analysis. The results indicated that the students’ health data collected in both, diamond and bronze level HPSs, was incomplete. This may be because multiple tools were used for recording and reporting students’ health data in sample schools. Furthermore, many of these tools had overlapping content thus increasing the burden of the staff. In addition, it was found that schools did not maintain students’ health data systematically and continuously after receiving the accreditation. Finally, a difference in the priorities of the data collected by the school staff and health workers was observed. While school staff only recorded weight and height data by the MoE, health workers focused on recording health data related their key performance indicators and not those specified by the operating standards of the program. Therefore, students’ health data was not clearly communicated and exchanged between the education and health sectors. This shows that there was no system for managing the data under this program, especially the system for monitoring and collecting data.en_US
.custom.citationนิธิเจน กิตติรัชกุล, Nitichen Kittiratchakool, ดนัย ชินคำ, Danai Chinnacom, อรพรรณ โพธิหัง, Orapan Phothihang, นัยนา ประดิษฐ์สิทธิกร, Naiyana Praditsitthikorn, ยศ ตีระวัฒนานนท์, Yot Teerawattananon, ศรีเพ็ญ ตันติเวสส and Sripen Tantivess. "การประเมินระบบข้อมูลและรายงานสุขภาพนักเรียนในงานบริการอนามัยโรงเรียนระดับประถมศึกษา: กรณีศึกษาสองจังหวัดในประเทศไทย." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4914">http://hdl.handle.net/11228/4914</a>.
.custom.total_download5016
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month66
.custom.downloaded_this_year175
.custom.downloaded_fiscal_year306

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v12n ...
Size: 1.162Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1334]
    บทความวิชาการ

Show simple item record