บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Collaborative Action Research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพเพื่อชะลอการล้างไต โดยทำการวิจัยที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ระหว่างเดือนมกราคมถึงธันวาคม 2560 กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง (ระยะของโรคไม่เกิน 3b) มีสาเหตุของโรคมาจากโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง และเป็นผู้ป่วยที่มารับบริการสุขภาพการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชุมแพ และ 2) ทีมสุขภาพ ได้แก่ อายุรแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ และเภสัชกร ขั้นตอนดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์ของระบบบริการสุขภาพ การพัฒนารูปแบบระบบบริการสุขภาพ และการประเมินผลลัพธ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่า มีการพัฒนารูปแบบระบบบริการสุขภาพเพื่อชะลอการล้างไตของโรงพยาบาลชุมแพขึ้น (Chumphae model for delaying dialysis in CKD patients [Chumphae DDCKD model]) ซึ่งได้จากการวิเคราะห์สถานการณ์ของระบบบริการสุขภาพ และตามกรอบแนวคิดของการดูแลผู้ป่วยเรื้องรัง (Chronic Care Model [CCM]) รูปแบบดังกล่าวประกอบด้วย 4 ส่วน คือ การออกแบบระบบบริการสุขภาพ การสนับสนุนการจัดการตนเอง การจัดการระบบฐานข้อมูลสุขภาพ และการสนับสนุนการตัดสินใจ หลังจากใช้รูปแบบพบว่าในเดือนที่ 3 และ 6 ผู้ป่วยในกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการจัดการตนเองดีขึ้นกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ และมีอัตราการกรองของไตลดลงเพียงร้อยละ 27.1 ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบมีอัตราการกรองของไตลดลงถึงร้อยละ 75.0 นอกจากนี้กลุ่มเปรียบเทียบมีโอกาสที่จะเกิดการลดลงของอัตราการกรองของไตมากกว่ากลุ่มทดลองถึง 7.89 เท่า (95% CI 4.79 ถึง 12.77) และยังพบว่ากลุ่มทดลองมีความพึงพอใจหลังได้รับบริการสุขภาพในระดับสูง 23.8 (SD 0.05) ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบมีความพึงพอใจหลังได้รับบริการสุขภาพในระดับปานกลาง 16.3 (SD 1.7) โดยสรุป รูปแบบระบบบริการสุขภาพเพื่อชะลอการล้ำงไตของโรงพยาบาลชุมแพ (Chumphae DDCKD model) ที่สร้างขึ้นสามารถช่วยให้พฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยดีขึ้น และชะลอการล้างไตของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะ 3 และ 6 เดือน
บทคัดย่อ
This collaborative action research aimed to develop a health service system for delaying dialysis in patients with chronic kidney disease (CKD). The research was conducted from January to December, 2017 at the outpatient department of Chumphae Hospital, Khon Kaen. Participants consisted of two groups: (1) the patients who had a diagnosis of chronic kidney disease (not more than stage 3b), had the underlying diseases of diabetes and hypertension, and received treatments at the study setting; and (2) The multidisciplinary team including physicians, registered nurses, and pharmacists. The process of conducting the research consisted of situation analysis, development of health service system model, and outcome evaluation. Data were analyzed through quantitative and qualitative methods. The results revealed that from the situation analysis and based on the chronic care model (CCM), the Chumphae model for delaying dialysis in CKD patients (Chumphae DDCKD model) was developed which has four components, including delivery system design, self-management support, clinical information system, and decision support. After the model was implemented at the 3rd and 6th month, the patients in a treatment group performed self-management behaviors better than before and better than those in a control group. Also, their eGFR declined only 27.1%, comparing to the control group 75% or 7.89 times of the treatment group (95% CI 4.79-12.77). Patient satisfactions of health service system in the treatment group were higher than the control group, comparing between mean 23.8 (SD 0.05) and mean 16.3 (SD 1.7). In conclusion, the Chumphae DDCKD model can help to improve self-management behaviors and effectively delay dialysis at the 3rd and 6th month in patients with CKD.