แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การจัดการนโยบายสาธารณะและปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพของเทศบาลสามระดับในประเทศไทย

dc.contributor.authorฐิติภรณ์ ตวงรัตนานนท์th_TH
dc.contributor.authorTitiporn Tuangratananonen_US
dc.contributor.authorฐิติกร โตโพธิ์ไทยth_TH
dc.contributor.authorThitikorn Topothaien_US
dc.contributor.authorธีรพงษ์ คำพุฒth_TH
dc.contributor.authorTeerapong Khamputen_US
dc.contributor.authorนิธิวัชร์ แสงเรืองth_TH
dc.contributor.authorNithiwat Saengruangen_US
dc.contributor.authorหทัยรัตน์ โกษียาภรณ์th_TH
dc.contributor.authorHathairat Kosiyapornen_US
dc.contributor.authorอานนท์ กุลธรรมานุสรณ์th_TH
dc.contributor.authorAnond Kulthanmanusornen_US
dc.contributor.authorจิราภรณ์ กมลรังสรรค์th_TH
dc.contributor.authorJirapron Kamonrungsanen_US
dc.contributor.authorกิตติพงษ์ ภัสสรth_TH
dc.contributor.authorKittipong Patsornen_US
dc.contributor.authorระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์th_TH
dc.contributor.authorRapeepong Suphanchaimaten_US
dc.date.accessioned2018-09-28T03:02:35Z
dc.date.available2018-09-28T03:02:35Z
dc.date.issued2561-09
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 12,3 (ก.ค.-ก.ย. 2561) : 384-403th_TH
dc.identifier.issn0858-9437
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4936
dc.description.abstractการจัดการปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพเป็นการส่งเสริมสุขภาพประชาชนที่ต้นน้ำ โครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนเอื้อต่อการจัดการปัจจัยทางสังคม ด้วยการกำหนดรูปแบบการจัดการสุขภาพที่เหมาะสมกับประชาชนในพื้นที่ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายสาธารณะและการจัดการปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพของประชาชน โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละระดับ เก็บข้อมูลในพื้นที่เทศบาลนครเชียงราย เทศบาลเมืองอ่างทองและเทศบาลตำบลท่ายาง โดยการสัมภาษณ์ร่วมกับการสังเกตและการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า เทศบาลทั้งสามแห่งมีความแตกต่างกันในบริบท แต่มีการกำหนดเป้าหมายเหมือนกันคือประชาชนมีสุขภาวะที่ดี ด้วยการดำเนินการในมิติสุขภาพ การศึกษา สิ่งแวดล้อมและสังคม เช่น การจัดหาสถานที่และให้บริการด้านสาธารณสุขอย่างครอบคลุม การสร้างความตระหนักและความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยประชาชนมีส่วนร่วม การจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนสังกัดของเทศบาลให้แก่ประชาชน การสร้างสภาพแวดล้อมที่สวยงามและเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ ทั้งการสร้างทางเดิน การสร้างสวนสาธารณะ การสร้างพื้นที่สีเขียว มีกระบวนการบริหารจัดการที่ชัดเจนและประชาชนมีส่วนร่วม ตั้งแต่การวางแผนโครงการ การบูรณาการการทำงานและการแสวงหาพันธมิตรในพื้นที่ การจัดหาและบริหารงบประมาณ การพัฒนาศักยภาพและองค์ความรู้ในการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลลัพธ์ทางสุขภาพของประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงควรเป็นองค์กรหลักของการส่งเสริมสุขภาพในพื้นที่ ดังนั้นหน่วยงานที่มีหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพอื่นควรให้ความร่วมมือและอาศัยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกหนึ่งในการจัดการปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพและส่งเสริมความเป็นธรรมทางสุขภาพในสังคมth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณะth_TH
dc.subjectPublic Policyen_US
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Promotionen_US
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)en_US
dc.subjectการแพทย์กับสังคมth_TH
dc.subjectSocial Medicineen_US
dc.titleการจัดการนโยบายสาธารณะและปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพของเทศบาลสามระดับในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativePublic Policy and Social Determinants of Health Management at Three Levels of Municipalities in Thailanden_US
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeSocial determinants of health management is proximal to health promotion of people. The organizational structure of local authorities is conducive for addressing social determinants of health management in communities. This study aims to explore local public policies that managed the social determinants of health and the role of public administration at three different tiers of municipalities. Qualitative study by using direct observations, in depth interviews, and document reviews were conducted in Chiang Rai (Metropolitan) Municipality, Ang Thong (City) Municipality, and Tha Yang (Subdistrict) Municipality. The study revealed that despite different contexts among the three municipalities, a common goal for the well-being of people was set. Those three municipalities provided sustainable public services on health, education, environment and society for their respective communities. For example, they increased the number of healthcare facilities in order to promote accessibility, build health literacy through people engagement, establish student-centered curriculum for children in pre-school to high school along with life-long learning, support and create environment conducive to physical activity (i.e. footpaths, parks and green public spaces). Local authority administration ensured implementation of policies and programs to improve health equity through project planning, building partnerships, budget management, capacity building, and monitoring health outcomes. The study concludes that local authorities should be the main agency for local health promotion. Therefore all related stakeholders should collaborate and synergize their health-promoting effort with local public administrations and regard this approach as key mechanism to address social determinants of health and promote health equity.en_US
.custom.citationฐิติภรณ์ ตวงรัตนานนท์, Titiporn Tuangratananon, ฐิติกร โตโพธิ์ไทย, Thitikorn Topothai, ธีรพงษ์ คำพุฒ, Teerapong Khamput, นิธิวัชร์ แสงเรือง, Nithiwat Saengruang, หทัยรัตน์ โกษียาภรณ์, Hathairat Kosiyaporn, อานนท์ กุลธรรมานุสรณ์, Anond Kulthanmanusorn, จิราภรณ์ กมลรังสรรค์, Jirapron Kamonrungsan, กิตติพงษ์ ภัสสร, Kittipong Patsorn, ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์ and Rapeepong Suphanchaimat. "การจัดการนโยบายสาธารณะและปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพของเทศบาลสามระดับในประเทศไทย." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4936">http://hdl.handle.net/11228/4936</a>.
.custom.total_download2331
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month22
.custom.downloaded_this_year483
.custom.downloaded_fiscal_year58

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v12n ...
ขนาด: 873.2Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย