Show simple item record

Situation on Antimicrobial Use and Knowledge on Antimicrobials: A National Health and Welfare Survey in Thailand 2017

dc.contributor.authorสุณิชา ชานวาทิกth_TH
dc.contributor.authorSunicha Chanvatiken_US
dc.contributor.authorอังคณา เลขะกุลth_TH
dc.contributor.authorAngkana Lekagulen_US
dc.contributor.authorวุฒิพันธุ์ วงษ์มงคลth_TH
dc.contributor.authorVuthiphan Vongmongkolen_US
dc.contributor.authorวลัยพร พัชรนฤมลth_TH
dc.contributor.authorWalaiporn Patcharanarumolen_US
dc.contributor.authorอภิชาติ ธัญญาหารth_TH
dc.contributor.authorApichart Thunyahanen_US
dc.contributor.authorวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียรth_TH
dc.contributor.authorViroj Tangcharoensathienen_US
dc.date.accessioned2018-09-28T03:52:44Z
dc.date.available2018-09-28T03:52:44Z
dc.date.issued2561-09
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 12,3 (ก.ค.-ก.ย. 2561) : 420-436th_TH
dc.identifier.issn0858-9437
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4938
dc.description.abstractในปัจจุบัน ปัญหาการดื้อยาของเชื้อจุลชีพมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุสำคัญมาจากการใช้ยาต้านจุลชีพที่ไม่เหมาะสม ทั้งการใช้โดยไม่จำเป็นและมากเกินความจำเป็น รวมทั้งใช้ยาต้านจุลชีพอย่างไม่ถูกต้อง ดังนั้น เพื่อเป็นการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับความเข้าใจของประชาชนในการใช้ยาต้านจุลชีพและเพื่อเป็นการติดตามประเมินผลตามเป้าประสงค์ของแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข จึงพัฒนาข้อคำถามเพื่อประเมินความรู้เกี่ยวกับยาต้านจุลชีพและความตระหนักเรื่องเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 27,762 คน โดยให้ตอบแบบสำรวจด้วยตนเอง ข้อคำถามนี้ผนวกเข้ากับการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2560 ซึ่งการสำรวจนี้มีการดำเนินการเป็นประจำอย่างต่อเนื่องมายาวนานหลายสิบปี แต่เป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการผนวกชุดข้อคำถามที่เกี่ยวข้องกับยาต้านจุลชีพ โดยประกอบด้วยข้อคำถามรวมทั้งหมด 12 ข้อใน 4 หัวข้อเรื่อง ได้แก่ การใช้ยาต้านจุลชีพ ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับยาต้านจุลชีพ การตระหนักรู้ของประชาชนในเรื่องการใช้ยาต้านจุลชีพและการใช้ยาต้านจุลชีพในภาคเกษตรกรรมและปศุสัตว์ ผลการสำรวจพบว่า ในรอบหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ประชาชนที่มีอายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไปใช้ยาต้านจุลชีพประมาณร้อยละ 7.9 โดยส่วนใหญ่ได้รับมาจากสถานพยาบาล (ร้อยละ 70.3) รองลงมาคือร้านขายยา (ร้อยละ 26.7) ซึ่งการใช้ยาต้านจุลชีพดังกล่าวมีเป้าหมายหลักคือเพื่อใช้ในรักษาโรคในระบบทางหายใจ (ร้อยละ 62.7) ในส่วนภาพรวมความรู้ที่เกี่ยวข้องกับยาต้านจุลชีพผ่านการตอบคำถามทั้งหมด 5 ข้อของประชาชนไทยพบว่าอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากมีผู้ที่ตอบถูกทุกข้อ เพียงร้อยละ 3.1 โดยประเด็นที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนมากที่สุดได้แก่ ยาต้านจุลชีพฆ่าไวรัสได้และยาต้านจุลชีพรักษาไข้หวัดได้ อีกทั้ง พบว่าในรอบสิบสองเดือนที่ผ่านมา ประชาชนเพียงร้อยละ 17.8 ได้รับคำแนะนำเรื่องการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม โดยผู้ให้ข้อมูลได้แก่ แพทย์ (ร้อยละ 36.1), บุคลากรทางการแพทย์ (ร้อยละ 24.8) และเภสัชกร (ร้อยละ 17.7) ตามลำดับ นอกจากนี้ พบว่าเกือบ 2 ใน 3 ของประชาชนไม่ทราบว่ามีการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์ที่นำมาเป็นอาหารและร้อยละ 68.2 ของประชาชนไม่ทราบว่ารัฐบาลประกาศห้ามใช้ยาต้านจุลชีพเพื่อเร่งการเจริญเติบโตในสัตว์ที่นำมาเป็นอาหารในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะต้องควบคุมการใช้ยาต้านจุลชีพให้เป็นไปอย่างสมเหตุสมผล โดยเฉพาะบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา ได้แก่ แพทย์ เภสัชกรและสัตวแพทย์ ควบคู่ไปกับการรณรงค์สื่อสารความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาต้านจุลชีพและสร้างความตระหนักเรื่องเชื้อดื้อยาไปสู่ประชาชนทั่วไป โดยผ่านช่องทางต่างๆ รวมทั้งช่องทางใหม่ๆ เช่น สื่อสังคม (social media) อีกทั้งควรประเมินการใช้ยาต้านจุลชีพและความรู้ในการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นให้มีการดำเนินงานเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทยth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectยาต้านจุลชีพth_TH
dc.subjectAntimicrobialen_US
dc.subjectการใช้ยาth_TH
dc.subjectDrug Utilizationen_US
dc.titleสถานการณ์การใช้ยาต้านจุลชีพและความรู้เรื่องยาต้านจุลชีพ: ข้อมูลจากการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2560th_TH
dc.title.alternativeSituation on Antimicrobial Use and Knowledge on Antimicrobials: A National Health and Welfare Survey in Thailand 2017en_US
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeThe antimicrobial resistance (AMR) crisis is rising continuously, which has accelerated by the inappropriate use of antimicrobials either unnecessary or overuse and misuse. To better understand about the appropriate use of antibiotics and monitor as well as evaluate of implementing the National Strategic Plan on Antimicrobial Resistance 2017-2021, the National Statistical Office (NSO) and the International Health Policy Program (IHPP) jointly developed a module to assess the levels of knowledge on antimicrobials and awareness of antimicrobial resistance among the Thai population. The 27,762 adults older than 15 years were asked to self-administer this module. The module was integrated into the decade long National Health and Welfare Survey (HWS) conducted by the National Statistical Office. HWS 2017 was the first time in Thailand that introduced a modified version of the Eurobarometer antimicrobial resistance module into the survey. The module consisted of four sections including antimicrobial use profiles, antimicrobial literacy, public information on proper use of antimicrobial and antimicrobial resistance, and awareness on the use of antimicrobial in farm animals. The key findings showed that 7.9% of Thai adults older than 15 years received antimicrobial drugs in the last month. The majority of Thai people (70.3%) obtained antimicrobial drugs from health facilities (both private and public sectors at all levels), followed by drug stores (26.7%). Respiratory track symptoms were the most commonly reported reasons for taking antimicrobials; 62.7% of the total. In addition, the antimicrobial literacy is probed using five true and false statements. Poor level of knowledge on antimicrobials was alarmingly found in Thai population, only 3.1% gave correct answers to all statements and the most misunderstood statements were “antimicrobials kill viruses” and “antimicrobials are effective against colds and flu”. Moreover, only 17.8% of Thai people received information about proper use of antimicrobials in the last 12 months. Three common sources of the information were doctors (36.1%), other health professionals such as nurses and health workers (24.8%) and pharmacists (17.7%). Almost two-thirds of respondents were not aware of antimicrobial use in food producing animals and about 68.2% of adults did not know that Thailand had banned the use of antimicrobials as growth promoters in food animals. The Ministry of Public Health and the relevant authorities need to steward appropriate use of antimicrobials by health professionals, pharmacists and veterinarians (supply side) as well as create effective public communication and awareness program on antimicrobials use and AMR in general population through new channels such as social media for increasing the potential reach of the information (demand side). The progress of antimicrobials use and literacy should be monitored continuously as part of improving knowledge on antimicrobial resistance and awareness of appropriate use of antimicrobials and monitoring the progress of the National Strategic Plan on Antimicrobial Resistance.en_US
dc.subject.keyworden_US
.custom.citationสุณิชา ชานวาทิก, Sunicha Chanvatik, อังคณา เลขะกุล, Angkana Lekagul, วุฒิพันธุ์ วงษ์มงคล, Vuthiphan Vongmongkol, วลัยพร พัชรนฤมล, Walaiporn Patcharanarumol, อภิชาติ ธัญญาหาร, Apichart Thunyahan, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร and Viroj Tangcharoensathien. "สถานการณ์การใช้ยาต้านจุลชีพและความรู้เรื่องยาต้านจุลชีพ: ข้อมูลจากการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2560." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4938">http://hdl.handle.net/11228/4938</a>.
.custom.total_download3712
.custom.downloaded_today1
.custom.downloaded_this_month56
.custom.downloaded_this_year1063
.custom.downloaded_fiscal_year190

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v12n ...
Size: 639.9Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

Show simple item record