แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษาทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับให้บริการอนามัยโรงเรียนระดับประถมศึกษาในประเทศไทย

dc.contributor.authorอรพรรณ อ่อนจรth_TH
dc.contributor.authorOrapan Onjonen_EN
dc.contributor.authorนิธิเจน กิตติรัชกุลth_TH
dc.contributor.authorNitichen Kittirachakoolen_EN
dc.contributor.authorดนัย ชินคำth_TH
dc.contributor.authorDanai Chinnacomen_EN
dc.contributor.authorนัยนา ประดิษฐ์สิทธิกรth_TH
dc.contributor.authorNaiyana Praditsitthikornen_EN
dc.contributor.authorยศ ตีระวัฒนานนท์th_TH
dc.contributor.authorYot Teerawattananonen_EN
dc.contributor.authorศรีเพ็ญ ตันติเวสสth_TH
dc.contributor.authorSripen Tantivessen_EN
dc.date.accessioned2018-09-28T06:49:14Z
dc.date.available2018-09-28T06:49:14Z
dc.date.issued2561-09
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 12,3 (ก.ค.-ก.ย. 2561) : 456-468th_TH
dc.identifier.issn0858-9437
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4941
dc.description.abstractในประเทศไทยมีการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในเด็กวัยเรียนผ่านโครงการอนามัยโรงเรียนโดยความร่วมมือระหว่างหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิกับโรงเรียน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทรัพยากรในการให้บริการอนามัยโรงเรียนระดับประถมศึกษา โดยใช้วิธีการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพใน 2 จังหวัดที่เป็นกรณีศึกษา คัดเลือกจังหวัดด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง โดยเป็นจังหวัดที่มีโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรและทองแดง และทั้ง 2 จังหวัดอยู่ต่างภูมิภาคกัน คัดเลือกโรงเรียนในแต่ละจังหวัดด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายจากรายชื่อโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรและทองแดง ในสองจังหวัดนี้ คณะวิจัยได้เก็บข้อมูลในโรงเรียนระดับประถมศึกษาจำนวน 9 แห่ง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวน 3 แห่ง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้อำนวยการโรงเรียน 9 คน ครูอนามัย 9 คน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 3 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า ครูอนามัยส่วนใหญ่เป็นครูที่บรรจุใหม่ยังขาดความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการให้บริการสุขภาพแก่นักเรียน งบประมาณที่โรงเรียนได้รับจากหน่วยงานภาครัฐยังไม่เพียงพอต่อการให้บริการอนามัยโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ตรวจสุขภาพนักเรียน เช่น เครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดส่วนสูง ไม่ได้รับการสอบเทียบมาตรฐานด้วยวิธีที่ถูกต้อง ส่งผลให้ข้อมูลการเจริญเติบโตของนักเรียนไม่ตรงกับความเป็นจริง ไม่สามารถสะท้อนถึงปัญหาที่แท้จริงได้ นอกจากนี้ยังพบว่า ในการดำเนินงานบริการอนามัยโรงเรียนนั้น ยังขาดการบริหารจัดการที่เป็นระบบและขาดการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงาน สรุปได้ว่า การดำเนินงานบริการอนามัยโรงเรียนยังขาดแคลนทรัพยากรที่จำเป็นในทุกๆ ด้าน เพื่อสุขภาพที่ดีของเด็กนักเรียนจำเป็นจะต้องมีการพัฒนาในเรื่องความรู้ของบุคลากรมีการจัดสรรงบประมาณและสนับสนุนเครื่องมือในการตรวจสุขภาพอย่างเหมาะสมและมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบในการให้บริการอนามัยโรงเรียนth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Promotionen_EN
dc.subjectอนามัยโรงเรียนth_TH
dc.subjectSchool Health Servicesen_EN
dc.titleการศึกษาทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับให้บริการอนามัยโรงเรียนระดับประถมศึกษาในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeResources for the Elementary School Health Services in Thailanden_EN
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeIn Thailand, health promotion and disease prevention in children have been operated through school health programs with the collaboration between primary health care units and schools. This study aimed to explore the availability and quality of essential resources at school level of the Elementary School Health Services (ESHS) in Thailand. The methods used in this study were semi-structure interviews and in-depth interviews. Two provinces were purposively selected with specific sampling method, while schools were selected using simple random method. The informants included school directors and school-health teachers from 9 schools and health care workers from 3 health promoting hospitals at the subdistrict level. Although school-health teachers played an important role in this program, this study showed that most of the teachers were newly recruited with little or no experience in providing school health services and that the turn-over rate was high. This was because the unclear career path for such a position also due to inadequate training provided. Moreover, school directors mentioned about shortages of ESHS budget. Devices and equipment for health checks in most study settings were not properly maintained or regularly calibrated. As a result, health information of students was likely not accurate. Also, it was found that a lack of management and linkage between the agencies were the problems in school health services. To sum up, the school health services lacked the necessary resources in all aspects. Therefore, there was a need for knowledge development of human resources, supported budget and materials for health checks, and better management of school health services.en_EN
.custom.citationอรพรรณ อ่อนจร, Orapan Onjon, นิธิเจน กิตติรัชกุล, Nitichen Kittirachakool, ดนัย ชินคำ, Danai Chinnacom, นัยนา ประดิษฐ์สิทธิกร, Naiyana Praditsitthikorn, ยศ ตีระวัฒนานนท์, Yot Teerawattananon, ศรีเพ็ญ ตันติเวสส and Sripen Tantivess. "การศึกษาทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับให้บริการอนามัยโรงเรียนระดับประถมศึกษาในประเทศไทย." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4941">http://hdl.handle.net/11228/4941</a>.
.custom.total_download1857
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month30
.custom.downloaded_this_year280
.custom.downloaded_fiscal_year95

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v12n ...
ขนาด: 312.0Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย