Show simple item record

Options for Urban Health Services System Development in Thailand: A Case Study of Health Region 3

dc.contributor.authorภูดิท เตชาติวัฒน์th_TH
dc.contributor.authorPhudit Tetjativaddhanaen_EN
dc.contributor.authorรมย์นลิน ทองหล่อth_TH
dc.contributor.authorRomnalin Thongloren_EN
dc.contributor.authorวินัย ลีสมิทธิ์th_TH
dc.contributor.authorVinai Leesmidten_EN
dc.contributor.authorทวีศักดิ์ นพเกษรth_TH
dc.contributor.authorTawesak Nopkesornen_EN
dc.contributor.authorพัชรินทร์ สิรสุนทรth_TH
dc.contributor.authorPatcharin Sirasoonthornen_EN
dc.contributor.authorอภิชาต วิสิทธิ์วงษ์th_TH
dc.contributor.authorApichart Wisitwongen_EN
dc.contributor.authorไพฑูรย์ อ่อนเกตุth_TH
dc.contributor.authorPaitoon Ongateen_EN
dc.date.accessioned2018-12-27T04:53:59Z
dc.date.available2018-12-27T04:53:59Z
dc.date.issued2561-12
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 12,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2561) : 556-574th_TH
dc.identifier.issn0858-9437
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4991
dc.description.abstractการวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ทางเลือกของการพัฒนาระบบบริการสุขภาพเขตเมือง เขตสุขภาพที่ 3 โดยศึกษาเฉพาะระบบบริการปฐมภูมิเขตเมือง ของอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ และของอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เก็บข้อมูลโดยการทบทวนเอกสาร การศึกษาจากกรณีศึกษา การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม โดยเน้นความคิดเห็นและการตัดสินใจร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการและการพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิเขตเมืองจำนวน 260 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสรุปประเด็นผลการศึกษาพบว่าทั้ง 2 พื้นที่มีกลุ่มงานเวชกรรมสังคมของโรงพยาบาลเป็นแกนหลักในการจัดบริการปฐมภูมิเขตเมือง โดยร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชนและท้องถิ่นจัดบริการภายใต้นโยบายคลินิกหมอครอบครัวที่ดำเนินการโดยหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขเป็นหลักและพบว่า ในปัจจุบันนั้น คุณภาพการรักษาพยาบาลดีขึ้น แต่มาตรฐานยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่และยังไม่สามารถสร้างความเป็นเจ้าของระบบฯ ให้แก่ภาคีเครือข่ายได้ ปัญหาท้าทายที่สำคัญคือ ปริมาณการใช้บริการเพิ่มขึ้นจากจำนวนผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การขาดแคลนกำลังคน โดยเฉพาะแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และการไม่สามารถนำงบประมาณไปใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงยังขาดการสื่อสารเชิงนโยบายในการให้ความสำคัญกับเรื่องการพัฒนาระบบบริการสุขภาพเขตเมืองการสังเคราะห์ทางเลือกการพัฒนาระบบบริการสุขภาพเขตเมืองพบ 3 รูปแบบสำคัญ ได้แก่ (1) รูปแบบที่มีภาวะการนำหลักโดยกระทรวงสาธารณสุข (รูปแบบปัจจุบัน) (2) รูปแบบการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วน ผ่านโครงสร้างคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และ (3) รูปแบบการถ่ายโอนภารกิจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยพบว่ารูปแบบปัจจุบันไม่สามารถตอบสนองต่อปัญหาท้าทายได้อย่างมีประสิทธิภาพ รูปแบบในอุดมคติของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือการถ่ายโอนภารกิจสู่ อปท. เนื่องจากอยู่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด มีความเข้าใจบริบทปัญหาสุขภาพของพื้นที่มากที่สุด อย่างไรก็ตาม ยังขาดความชัดเจนเชิงนโยบายเกี่ยวกับการกระจายอำนาจและการถ่ายโอนภารกิจ รวมถึงความพร้อมในเชิงมาตรฐานการจัดบริการสุขภาพและภาวะผู้นำของผู้บริหาร งานวิจัยนี้เสนอว่า รูปแบบการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วน ผ่านโครงสร้างคณะกรรมการ พชอ. เป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดในระยะเปลี่ยนผ่านของการกระจายอำนาจ เพราะน่าจะสามารถสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเข้ามาเรียนรู้และมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของระบบฯ มีความเข้าใจในบทบาทของแต่ละภาคส่วนมากยิ่งขึ้น อันจะนำไปสู่การสนับสนุนการจัดการสุขภาพตนเองของประชาชนและการส่งมอบภารกิจสู่ อปท. ในอนาคตth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Services Systemth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectPublic health administrationth_TH
dc.titleการสังเคราะห์ทางเลือกของการพัฒนาระบบบริการสุขภาพเขตเมืองของประเทศไทย: กรณีศึกษาเขตสุขภาพที่ 3th_TH
dc.title.alternativeOptions for Urban Health Services System Development in Thailand: A Case Study of Health Region 3en_EN
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeThis qualitative study aimed to propose options to develop urban health services system in Health Region 3. The study’s scope involved only primary care systems in urban areas of Nakhon Sawan and Kamphaeng Phet provinces. Literature review, case studies, in-depth interviews, and focus group discussions were administered to collect the data, which focused on 260 participant’s recommendations and collaborative decision-making. The data were analyzed by thematic and content analysis. The Social Medicine Departments of the Regional and Provincial Hospitals were the major organizations responsible for management of primary care services delivery in urban areas. Though public, private, and local government sectors also provided these services. However, under the primary care cluster policy, primary care service planning was done mainly by those under the management of the Ministry of Public Health (MOPH). At present, despite the improvement of curative service quality, it cannot cover all areas nor create a sense of ownership for those in other sectors. The major challenge both at present and in the future is the increasing service demand due to the increase in the number of aging population and patients with non-communicable diseases. Also, there is a problem of not being able to use the budget to effectively promote health and disease prevention because of incomprehensible understanding between the service units and the Office of the Auditor General and the lack of policy communication focused on the development of urban health services. The result showed that there could be three major options for urban health services system development: (1) Management through single leadership of the MOPH (the current model), (2) Management by collaboration between sectors through District Health Board (DHB), and (3) Management through transfer of health mission to the local government. The assessment of the options showed that the current model may not be able to respond to the challenge effectively. The ideal option proposed by the key informants is management through the transfer of health mission to the local government, mainly because they are close to the people and can understand the context of the area well, and encourage the people to take responsibility for their health effectively. However, limitations were identified as: the unclear government policy to transfer health services mission from the MOPH to the local government; the lack of local administration and personnel capacity to manage health services; and the leadership of local government executives. The present study proposes that a model of collaboration between sectors through DHB is the best option to move forward. This option can encourage all sectors to become involved in the development of the primary care system in an urban setting. It can encourage all related sectors, including the people, to have a better understanding of the roles and responsibilities of each sector and lead to better self-management of the people in the future.en_EN
dc.subject.keywordเขตสุขภาพth_TH
.custom.citationภูดิท เตชาติวัฒน์, Phudit Tetjativaddhana, รมย์นลิน ทองหล่อ, Romnalin Thonglor, วินัย ลีสมิทธิ์, Vinai Leesmidt, ทวีศักดิ์ นพเกษร, Tawesak Nopkesorn, พัชรินทร์ สิรสุนทร, Patcharin Sirasoonthorn, อภิชาต วิสิทธิ์วงษ์, Apichart Wisitwong, ไพฑูรย์ อ่อนเกตุ and Paitoon Ongate. "การสังเคราะห์ทางเลือกของการพัฒนาระบบบริการสุขภาพเขตเมืองของประเทศไทย: กรณีศึกษาเขตสุขภาพที่ 3." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4991">http://hdl.handle.net/11228/4991</a>.
.custom.total_download2203
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month15
.custom.downloaded_this_year291
.custom.downloaded_fiscal_year55

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v12n ...
Size: 2.022Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

Show simple item record