แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

รูปแบบการจ่ายค่าบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคกับผลกระทบต่อพฤติกรรมของผู้ให้บริการ

dc.contributor.authorจิตติ วิสัยพรมth_TH
dc.contributor.authorJitti Wisaipromen_EN
dc.contributor.authorวิทธวัช พันธุมงคลth_TH
dc.contributor.authorWitthawat Pantumongkolen_EN
dc.contributor.authorวิไลลักษณ์ แสงศรีth_TH
dc.contributor.authorWilailak Saengsrien_EN
dc.date.accessioned2018-12-27T04:59:41Z
dc.date.available2018-12-27T04:59:41Z
dc.date.issued2561-12
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 12,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2561) : 575-589th_TH
dc.identifier.issn0858-9437
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4992
dc.description.abstractสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้จัดตั้งกองทุนสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (กองทุน P&P) โดยมีเป้าหมายเพื่อบริหารงบประมาณสำหรับการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ทั้งนี้ การดำเนินงานด้าน P&P ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น มีการปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการงบประมาณเรื่อยมา การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวกับรูปแบบการจ่ายค่าบริการ P&P ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสีย รวมทั้งผลกระทบของการจ่ายค่าบริการด้าน P&P ในรูปแบบต่างๆ โดยใช้วิธีทบทวนวรรณกรรมและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การทบทวนวรรณกรรมแบบพรรณนา (narrative review) และการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (systematic review) จากการสืบค้นฐานข้อมูลด้วยวิธีการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ มีการศึกษาที่ผ่านเกณฑ์การคัดเข้าทั้งสิ้น 12 เรื่อง และยังมีการศึกษาอื่นๆ ที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมแบบพรรณนาอีกจำนวนหนึ่ง ผลการศึกษาพบว่า มีรูปแบบการจ่ายค่าบริการ P&P 5 รูปแบบ ได้แก่ (1) การจ่ายค่าตอบแทนตามรายบริการ (2) การจ่ายค่าตอบแทนแบบเหมาจ่ายรายหัว (3) การจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน (4) การจ่ายค่าตอบแทนเป็นวงเงินแบบมีเพดานและการจ่ายค่าตอบแทนผู้ให้บริการตามเงินเดือน และ (5) การจ่ายแบบผสมผสาน นอกจากนี้ยังสามารถจำแนกผลกระทบของการจ่ายค่าบริการด้าน P&P ได้เป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย ปริมาณและคุณภาพของบริการ ผู้ให้บริการเหนี่ยวนำความต้องการในการรับบริการและการเลือกผู้รับบริการ โดยรูปแบบการจ่ายค่าบริการด้าน P&P แต่ละรูปแบบนั้นมีความเหมาะสมกับบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค อีกทั้งยังมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้สำหรับประเทศไทยการใช้รูปแบบการจ่ายค่าบริการด้าน P&P แบบผสมผสานอาจมีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากสามารถนำข้อดีของการจ่ายค่าบริการรูปแบบอื่นๆ มาปรับใช้ได้ รวมทั้งเหมาะสำหรับการให้บริการด้าน P&P ทุกรูปแบบ อย่างไรก็ตาม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของบริการด้าน P&P ที่มีอยู่ด้วยth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectบริการทางการแพทย์--ค่าใช้จ่ายth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Services Systemth_TH
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพ--งบประมาณth_TH
dc.subjectHealth Promotionth_TH
dc.titleรูปแบบการจ่ายค่าบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคกับผลกระทบต่อพฤติกรรมของผู้ให้บริการth_TH
dc.title.alternativeHealth Promotion and Diseases Prevention Payment Mechanism and Its Effectsen_EN
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeNational Health Security Office (NHSO) has established health promotion and diseases prevention fund (P&P fund) with the primary intention of appropriately managing the P&P budget. However, P&P management approach has been changed over the years. This study reviews relevant literature, using narrative and systematic review approaches, on P&P payment mechanisms published in both domestic and international journals. Furthermore, this paper analyses strengths and weaknesses of each P&P payment mechanism. A total of 12 studies were identified for inclusion in the systematic review. Moreover, other studies gathered by narrative literature review were also included into the analysis. The results showed that P&P payment mechanisms can be categorized into five groups including fee schedule, capitation, pay-for-performance (P4P), global budget, and a blended payment method. The plausible outcomes of each payment mechanisms can be divided into three groups: volume and quality of P&P, supplier-induced demand, and risk selection. Each payment mechanism has its own strengths and weaknesses and is appropriate for different types of P&P services. For Thailand, a blended payment method may be the most appropriate mechanism for all P&P services as it naturally combines the potential benefits of each traditional payment mechanism. However, there should definitely be the consideration of the appropriateness of the list of existing P&P services.en_EN
dc.subject.keywordhealth promotion and diseases preventionth_TH
dc.subject.keywordP&Pth_TH
.custom.citationจิตติ วิสัยพรม, Jitti Wisaiprom, วิทธวัช พันธุมงคล, Witthawat Pantumongkol, วิไลลักษณ์ แสงศรี and Wilailak Saengsri. "รูปแบบการจ่ายค่าบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคกับผลกระทบต่อพฤติกรรมของผู้ให้บริการ." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4992">http://hdl.handle.net/11228/4992</a>.
.custom.total_download2569
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month16
.custom.downloaded_this_year674
.custom.downloaded_fiscal_year100

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v12n ...
ขนาด: 429.0Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย