ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
dc.contributor.author | จักรกฤษณ์ วังราษฎร์ | th_TH |
dc.contributor.author | Jukkrit Wungrath | en_EN |
dc.contributor.author | กิตติพันธุ์ ฤกษ์เกษม | th_TH |
dc.contributor.author | Kittipan Rerkasem | en_EN |
dc.contributor.author | สุวินัย แสงโย | th_TH |
dc.contributor.author | Suwinai Saengyo | en_EN |
dc.contributor.author | ศศิณัฏฐ์ พงษ์ธรรม | th_TH |
dc.contributor.author | Sasinat Pongtam | en_EN |
dc.contributor.author | นิภาภรณ์ ปิ่นมาศ | th_TH |
dc.contributor.author | Nipaporn Pinmars | en_EN |
dc.date.accessioned | 2018-12-27T05:35:43Z | |
dc.date.available | 2018-12-27T05:35:43Z | |
dc.date.issued | 2561-12 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 12,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2561) : 625-635 | th_TH |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4994 | |
dc.description.abstract | ภาวะทุพโภชนาการจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะโรคร่วมและอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ณ หน่วยไตเทียม โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จำนวน 120 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์การรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร แบบสัมภาษณ์ด้านการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการบริโภคอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา หาค่าความสัมพันธ์ของปัจจัยกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยด้วยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและหาค่าความสามารถในการทำนายของตัวแปรด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับปานกลาง (xˉ = 2.58, SD = 0.47) โดย อายุ รายได้ ระยะเวลาการฟอกเลือด การรับรู้สมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 60.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (R2=0.607, p < 0.01) ข้อมูลที่ได้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วย เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยเกิดการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้ถูกต้องเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ โดยอาศัยการสนับสนุนทางสังคมร่วมด้วย จึงจะทำให้ผู้ป่วยมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | โรคไตเรื้อรัง | th_TH |
dc.subject | Chronic kidney disease | th_TH |
dc.subject | Hemodialysis--Patients | th_TH |
dc.subject | พฤติกรรมการบริโภค | th_TH |
dc.title | ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ | th_TH |
dc.title.alternative | Factors Predicting Food Consumption Behavior of Hemodialysis Patients with End Stage Renal Disease at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital | en_EN |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Malnutrition from inappropriate food consumption behaviors is often found in end stage renal disease (ESRD) with hemodialysis (HD) patients. It may be a risk factor for increased morbidity and mortality in these patients. The purposes of the present study were to examine factors predicting of consumption behavior among ESRD with HD patients. Sample was 120 ESRD patients on HD in hemodialysis unit, Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital, by purposive sampling according to the specification. Data were collected using the questionnaire interviewing personal data, the self-efficacy, the social support and the food consumption behavior. Data were analyzed using descriptive statistics, Pearson’s correlation and multiple regression analysis. The results showed that the sample had overall food consumption behaviors at a medium level (xˉ= 2.58, SD = 0.47). Patient’s age, income, duration of hemodialysis treatment, self-efficacy, and social support could predict food consumption behavior (R2 = 0.607, p < 0.01). The finding of this study could be used as a guideline to promote the appropriate food consumption behavior along with social support to stimulate self-efficacy of the patients that enhance appropriate food consumption behavior in ESRD patients to improve their health status and quality of life. | en_EN |
.custom.citation | จักรกฤษณ์ วังราษฎร์, Jukkrit Wungrath, กิตติพันธุ์ ฤกษ์เกษม, Kittipan Rerkasem, สุวินัย แสงโย, Suwinai Saengyo, ศศิณัฏฐ์ พงษ์ธรรม, Sasinat Pongtam, นิภาภรณ์ ปิ่นมาศ and Nipaporn Pinmars. "ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4994">http://hdl.handle.net/11228/4994</a>. | |
.custom.total_download | 9579 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 112 | |
.custom.downloaded_this_year | 1346 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 216 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ