การเข้าถึงบริการทันตกรรมประเภทต่างๆ ของประชากรไทย
dc.contributor.author | วรารัตน์ ใจชื่น | th_TH |
dc.contributor.author | Wararat Jaichuen | en_EN |
dc.date.accessioned | 2018-12-27T05:48:48Z | |
dc.date.available | 2018-12-27T05:48:48Z | |
dc.date.issued | 2561-12 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 12,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2561) : 636-644 | th_TH |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4995 | |
dc.description.abstract | เป้าหมายหลักของการจัดบริการสุขภาพภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คือการเข้าถึงบริการที่จำเป็นอย่างเท่าเทียมกันของประชากร อัตราการรับบริการสุขภาพจึงเป็นตัวชี้วัดสำคัญในการประเมินการดำเนินงานตามเป้าหมายดังกล่าว แต่จากข้อมูลการสำรวจระดับประเทศพบว่า ในช่วงสิบปีที่ผ่านมานั้น อัตราการใช้บริการทันตกรรมของประชากรไทยมีระดับต่ำกว่าร้อยละ 10 มาโดยตลอด แม้จะมีการเพิ่มจำนวนทันตแพทย์ผู้ให้บริการเข้าสู่ระบบบริการอย่างต่อเนื่อง การศึกษานี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อวิเคราะห์รายละเอียดการได้รับบริการทันตกรรมของประชากรไทย โดยจำแนกตามกลุ่มประเภทบริการ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มบริการประเภทส่งเสริมป้องกัน กลุ่มบริการประเภทรักษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มบริการประเภทรักษาฟื้นฟูขั้นเฉพาะทาง โดยอาศัยข้อมูลทุติยภูมิจากการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ จำนวน 5 รอบการสำรวจ ระหว่างปี พ.ศ. 2550 - 2558 ผลการศึกษาพบว่า แม้ว่าประชากรที่ได้รับบริการทันตกรรมในรอบปีที่ผ่านมาจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่ผู้ที่ไม่ได้รับบริการไม่ได้มีจำนวนลดลงเลย อีกทั้งประชากรที่เคยมีปัญหาสุขภาพช่องปากและต้องการเข้ารับบริการแต่ไม่ได้เข้ารับบริการก็ยังคงมีอยู่ในทุกปีที่สำรวจ ในขณะที่การได้รับบริการประเภทรักษาฟื้นฟูขั้นเฉพาะทางมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับบริการประเภทรักษาขั้นพื้นฐานที่มีแนวโน้มลดลง ผลิตภาพการจัดบริการในภาพรวมที่เพิ่มขึ้นจึงน่าจะเป็นผลจากการจัดบริการเฉพาะทางนี้ ซึ่งหากปล่อยให้ระบบบริการดำเนินไปในลักษณะนี้ต่อไป จะยิ่งสร้างช่องว่างระหว่างผู้เข้าถึงและเข้าไม่ถึงบริการทันตกรรมที่จำเป็นได้ในระยะยาว การประเมินสถานการณ์การจัดบริการทันตกรรมในการศึกษานี้จึงน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวางแผนระบบบริการทันตกรรมและการกำกับติดตามต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ทันตกรรม--การรักษา | th_TH |
dc.subject | Dental care | th_TH |
dc.subject | บริการทางการแพทย์ | th_TH |
dc.subject | Health Service | th_TH |
dc.subject | Medical Services | th_TH |
dc.title | การเข้าถึงบริการทันตกรรมประเภทต่างๆ ของประชากรไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Accessibility to Dental Care According to Type of Service in Thai Population | en_EN |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Equity in health and health service are the ultimate goals of Universal Health Coverage. One key performance indicator for achieving that goal is about accessibility. However, Thailand in previous 10 years, while the number of dentists in service system was steadily increased, the utilization rates for dental service were nearly stable at lower than 10 percent. This study aimed to analyze utilization of dental services in 3 categories (oral health prevention, simple dental treatment, and complicated dental treatment), by using secondary data from the series of 5 Health and Welfare Surveys from 2007 to 2015. The results showed an increased number of people who received some dental service in the last 12 months. However, the number of people who did not receive any dental service were nearly the same in every survey. Moreover, people with unmet dental service need still exist. The proportion of complicated dental service use was increasing while simple level was in the contrast. Therefore, dental service productivity might be mainly from those complicated dental services. This would lead to a wider gap of accessibility to dental service among the population in the long-term. The findings from this study might be useful for planning and monitoring the future dental service system. | en_EN |
.custom.citation | วรารัตน์ ใจชื่น and Wararat Jaichuen. "การเข้าถึงบริการทันตกรรมประเภทต่างๆ ของประชากรไทย." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4995">http://hdl.handle.net/11228/4995</a>. | |
.custom.total_download | 4766 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 126 | |
.custom.downloaded_this_year | 1208 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 272 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ