dc.contributor.author | ธีระ ศิริสมุด | th_TH |
dc.contributor.author | Teera Sirisamutr | en_EN |
dc.contributor.author | กิตติพงศ์ พลเสน | th_TH |
dc.contributor.author | Kittipong Ponsen | en_EN |
dc.contributor.author | พรทิพย์ วชิรดิลก | th_TH |
dc.contributor.author | Porntip Wachiradilok | en_EN |
dc.date.accessioned | 2018-12-27T08:04:25Z | |
dc.date.available | 2018-12-27T08:04:25Z | |
dc.date.issued | 2561-12 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 12,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2561) : 668-680 | th_TH |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4997 | |
dc.description.abstract | ผู้ป่วยฉุกเฉินที่เรียกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินมีโอกาสที่จะรอดชีวิตและลดความพิการที่อาจจะเกิดขึ้นได้ แต่ปัจจุบันมีการเรียกใช้บริการฯ ค่อนข้างน้อย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติและเหตุผลที่ไม่เรียกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตและเร่งด่วนหรือญาติของผู้ป่วยที่เข้ารับบริการที่ห้องฉุกเฉินตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ในโรงพยาบาลภาครัฐและภาคเอกชน รวม 45 แห่งใน 9 จังหวัด จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 2,028 คน พบว่า ผู้ป่วยฉุกเฉิน 646 คนมาด้วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินและ 1,382 คนมาด้วยตนเองหรือวิธีอื่น เหตุผลหลักของการมาด้วยตนเองหรือวิธีอื่น คือ เห็นว่ามาด้วยรถส่วนตัวสะดวกกว่า (ร้อยละ 76.0) ไม่อยากเสียเวลารอรถพยาบาลฉุกเฉินซึ่งอาจมาช้า (ร้อยละ 31.0) เป็นช่วงภาวะคับขัน ตกใจ จึงไม่ได้นึกถึงรถพยาบาลฉุกเฉิน (ร้อยละ 28.9) ส่วนใหญ่มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับบริการฯ คือ (1) เข้าใจผิดว่ารถพยาบาลฉุกเฉินใช้รับเฉพาะผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุเท่านั้น (2) เข้าใจผิดว่าการใช้บริการรถพยาบาลฉุกเฉินต้องเสียค่าใช้จ่าย ส่วนในด้านทัศนคติพบว่า ผู้ป่วยหรือญาติมีทัศนคติเชิงลบต่อการเรียกใช้บริการฯ ในทุกประเด็น โดยเฉพาะทัศนคติที่เห็นว่าต้องทนเจ็บป่วยและใช้ยาหรืออุปกรณ์ของตนเท่าที่มีให้ถึงที่สุดก่อน จึงค่อยโทรหาหรือเรียกใช้บริการ 1669 รวมทั้ง เมื่อเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตต้องรีบมาโรงพยาบาลด้วยตนเอง เพราะรอรถพยาบาลจะช้าและไม่ได้ช่วยอะไร เหล่านี้เป็นทัศนคติที่พบในกลุ่มผู้ไม่เรียกใช้มากกว่ากลุ่มที่ใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน จากการศึกษาจะพบสาเหตุการไม่เรียกใช้ฯ เกี่ยวข้องกับความเข้าใจผิดและทัศนคติ ซึ่งนอกจากการไม่รู้จักระบบการแพทย์ฉุกเฉินแล้ว สิ่งสำคัญหนึ่งคือความไม่รู้ภาวะคุกคามของอาการฉุกเฉินนั้นๆ ทำให้ไม่ตระหนักต่อประโยชน์ที่จะได้ หากมาด้วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ดังนั้นหน่วยงานระดับพื้นที่ รวมทั้งสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติและกระทรวงสาธารณสุข จึงควรหาแนวทางหรือวิธีการที่ดีในการประชาสัมพันธ์ที่เน้นการส่งเสริมความรู้ ปรับทัศนคติต่อบริการการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อส่งเสริมให้การเรียกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินมีมากขึ้น | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Emergency Medical Services | th_TH |
dc.subject | บริการการแพทย์ฉุกเฉิน | th_TH |
dc.subject | Emergency Medicine | th_TH |
dc.subject | การแพทย์ฉุกเฉิน | th_TH |
dc.title | ความรู้ ทัศนคติ และเหตุผลที่ไม่เรียกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินในประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Knowledge, Perspective, and Reasons of Not-Calling Emergency Medical Services in Thailand | en_EN |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Emergency Medical Service (EMS) can help increase survival rates and reduce possible disability among emergency patients. However, the number of calls for EMS is relatively low in Thailand. This study aimed to inspect the knowledge, perspective, and reasons of calling and not-calling the EMS by patients or their relatives who visited the emergency room in 45 government and private hospitals from December 2015 to February 2016. The hospitals were scattered in 9 provinces with the sample of 2,028 patients, whereby 646 patients had called EMS and 1,368 came by themselves or otherwise. The key reasons for not-calling were: the convenience of personal transportation (76.0%), avoiding waiting time for an ambulance (31.0%), and anxiety on the emergency situation (28.9%). Most misconceptions on the EMS included: (1) Ambulances were used only for casualties from accidents, and (2) Ambulance services were not free. In terms of perspective, most patients or relatives had negative views towards the EMS, especially the idea that they had to help themselves until the condition was severe or medications or relief devices were unavailable. Another view was that the EMS was slower than getting to the hospital on own-self. These perspectives were from non-users more than users. In conclusion, the study indicated that the causes of non-user involved misunderstandings, poor perspectives, and lack of awareness as well as the absence of knowledge on threats related to particular emergency conditions. Hence, regional agencies, the National Institute of Emergency Medicine, and the Ministry of Public Health should discuss the solutions to raise public awareness and to improve the perspective towards the EMS, in order to promote more usage. | en_EN |
.custom.citation | ธีระ ศิริสมุด, Teera Sirisamutr, กิตติพงศ์ พลเสน, Kittipong Ponsen, พรทิพย์ วชิรดิลก and Porntip Wachiradilok. "ความรู้ ทัศนคติ และเหตุผลที่ไม่เรียกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินในประเทศไทย." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4997">http://hdl.handle.net/11228/4997</a>. | |
.custom.total_download | 7861 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 86 | |
.custom.downloaded_this_year | 1200 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 174 | |