• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การศึกษาแบบสหสถาบันเรื่องการฉีดวัคซีนภูมิแพ้ไรฝุ่น เพื่อเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์สำหรับแนวทางการรักษาโรคภูมิแพ้ทางจมูกเรื้อรังที่มีอาการรุนแรงปานกลางหรือรุนแรงมาก (ปีที่ 2)

พงศกร ตันติลีปิกร; Pongsakorn Tantilipikorn; พรรณทิพา ฉัตรชาตรี; สุพินดา ชูสกุล; อิโรชิ จันทาภากุล; สงวนศักดิ์ ธนาวิรัตนานิจ; ภาสุรี แสงศุภวานิช; สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์; ทิชา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์; บุญสาม รุ่งภูวภัทร; สุปราณี ฟูอนันต์; อธิก แสงอาสภวิริยะ; อรทัย พิบูลโภคานันท์; ต่อพงษ์ ทองงาม; ประภาศรี กุลาเลิศ; ฐนิตา ทวีธรรมเจริญ; ประภาพร นพรัตยาภรณ์;
วันที่: 2562-02
บทคัดย่อ
โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ ซึ่งประกอบด้วยโรคภูมิแพ้ทางจมูกและโรคหืดนั้น เป็นโรคที่ใช้ยารักษาที่มีราคาสูง ได้แก่ ยาพ่นและยารับประทานซึ่งไม่ใช่การรักษาที่จำเพาะต่อโรคเป็นเพียงการทุเลาอาการและลดการอักเสบเท่านั้น การรักษาที่จำเพาะเพื่อปรับเปลี่ยนภาวะภูมิแพ้ได้ คือ การรักษาด้วยวัคซีนภูมิแพ้อาสาสมัครที่มีอาการจมูกอักเสบภูมิแพ้ทั้งหมดจำนวน 343 ราย ได้ถูกคัดเลือกจากคลินิกโรคภูมิแพ้ จำนวน 13 แห่ง ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย 8 แห่ง โดยมีผู้ป่วยที่เข้าได้กับเกณฑ์คัดเลือกของการศึกษา จำนวน 146 ราย ผู้ป่วยจำนวน 108 ราย ได้รับการสุ่มให้รับการรักษาด้วยวัคซีนภูมิแพ้ไรฝุ่นร่วมกับการรักษาตามมาตรฐานสำหรับโรคภูมิแพ้และผู้ป่วยจำนวน 36 ราย ได้รับการสุ่มให้อยู่ในกลุ่มควบคุม คือ ได้รับการรักษาภูมิแพ้ตามมาตรฐานร่วมกับการฉีดยาหลอก ข้อมูลพื้นฐานของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยวัคซีนภูมิแพ้ไรฝุ่นรอบ 1 ปี มีค่ามัธยฐานของอาการทางจมูกจากค่าเริ่มต้น 7.30 (6.6, 8.2) ลดลง 3.8 (-1.4, -5.3) ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และมีค่าเฉลี่ยของอาการทางจมูกจากค่าเริ่มต้น 7.45±1.21 ลดลง 3.34±2.65 ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) เช่นกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับยามาตรฐานร่วมกับการฉีดยาหลอก ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของทั้งสองค่า หลังรับวัคซีนภูมิแพ้ครบหนึ่งปี ร้อยละ 66.7 ของอาสาสมัครในกลุ่มที่ได้รับวัคซีน สามารถลดปริมาณการใช้ยาได้ร้อยละ 50 และร้อยละ 23.23 สามารถหยุดยาแก้แพ้ได้ โดยอาสาสมัครในกลุ่มที่ได้รับวัคซีน ร้อยละ 84.85 สามารถรับวัคซีนภูมิแพ้ขนาดสูงสุดคือ 500 unit ได้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ทั้งหมด 423 เหตุการณ์จากจำนวนการฉีดยา 4,444 ครั้ง (ร้อยละ 9.52) ส่วนมากเกิดในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนภูมิแพ้ (325 จาก 423 เหตุการณ์, ร้อยละ 76.83) โดยเป็นการแพ้หลายระบบ 77 เหตุการณ์ (ร้อยละ 2.31) พบในอาสาสมัคร 47 คน (ร้อยละ 32.64) การแพ้หลายระบบพบในกลุ่มที่ได้รับวัคซีน 40 คน และพบในกลุ่มควบคุม 7 คน

บทคัดย่อ
Respiratory allergy, which consists of allergic rhinitis (AR) and allergic asthma (AA), requires high cost of medical treatment. These medications can only temporally relieve the allergic symptoms without any modification of an allergic hypersensitivity status. The only option that can modify the immunologic status is the allergen immunotherapy Three hundred and forty three subjects with chronic rhinitis was screened from 13 centers in Thailand. One hundred and forty six patients had been recruited according to the inclusion criteria, in which 108 subjects was randomly assigned into the intervention group (receiving immunotherapy and standard treatment) and 36 subjects had been assigned to the controlled group (receiving standard treatment with placebo injection). The clinical characteristics between two groups were not statistically significant. After one year, the median composite score in the intervention group decreases 3.8 score comparing to the baseline (p < 0.001). But comparison between the intervention group and control group was not statistically significant. After one year of treatment, 66.7 percent of subjects in the intervention group can reduce their medication use by 50%. Moreover, 23% of subjects in the intervention group were medication-free after 1 year of allergen immunotherapy. Eighty five percent of subject tolerate the 500 allergen unit dosage of vaccine. There were 423 adverse events (AE) out of 4,444 injections, 2.31% of total AEs (77/423 events) were systemic reactions.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2471.pdf
ขนาด: 39.05Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 2
ปีงบประมาณนี้: 6
ปีพุทธศักราชนี้: 5
รวมทั้งหมด: 79
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2470]

    งานวิจัย

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • ข้อเสนอการใช้ภูมิคุ้มกันบำบัดไรฝุ่นชนิดอมใต้ลิ้นและชนิดฉีดเข้าใต้ผิวหนังในการรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้และโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ร่วมกับโรคหืดในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 

    ประยุทธ ภูวรัตนาวิวิธ; Prayuth Poowaruttanawiwit; ชนิดา จันทร์ทิม; Chanida Chantim; ไกลตา ศรีสิงห์; Klaita Srisingh (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2566-06)
    การระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อระบบการรักษาพยาบาลและทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้ยากมากขึ้น ซึ่งในที่สุดแล้วจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและส่งผลกระทบต่อสังคมในภาพรวม บทความนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาและความสำคัญที่จะต ...
  • ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาที่ได้รับนมแม่กับการเกิดโรคผื่นผิวหนังอักเสบภูมิแพ้และโรคหืดในเด็ก 

    รัตน์สีดา สายทอง; Ratsida Saithong; จักร์วิดา อมรวิสัยสรเดช; Chakvida Amornvisaisoradej; กนิษฐา บุญธรรมเจริญ; Kanitta Bundhamcharoen (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2558-09)
    องค์การอนามัยโลกมีข้อแนะนำให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียว (Exclusive breastfeeding) ในช่วงระยะเวลา 6 เดือนแรก เพื่อสุขภาพที่ดีและป้องกันการเจ็บป่วยของบุตร ซึ่งมีงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างนมแม่แล ...
  • การศึกษาผลกระทบทางภูมิคุ้มกันของฝุ่นพิษ PM2.5 ต่อโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ 

    พงศกร ตันติลีปิกร; Pongsakorn Tantilipikorn; บุญรัตน์ ทัศนีย์ไตรเทพ; Boonrat Tassaneetrithep; เจตน์ ลำยองเสถียร; Jate Lumyongsatien; ไตรภูมิ สุวรรณเวช; Triphoom Suwanwech; มงคล สมพรรัตนพันธ์; Mongkhon Sompornrattanaphan; สุวิมล เจตะวัฒนะ; Suwimol Jetawattana; อิทธิพล พ่ออามาตย์; Ittipol Pawarmart; จินตนา พาวงค์; Chintana Phawong (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2567-01)
    ปัจจุบันปัญหาหนึ่งที่สำคัญและมีผลกระทบต่อประชากรทั่วโลกทั้งในด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม คือ ปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองในอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝุ่นละออง (Particulate Matter, PM) ซึ่งก่อให้เกิดการเสียชีวิตของผู้คนเพิ่มขึ้นใน ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1282]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV