แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

อุทกภัยในกรุงเทพมหานครและภาคกลางของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2554: ความท้าทายต่อความยืดหยุ่นของระบบสุขภาพ

dc.contributor.authorชาฮีดา วิริยาทรth_TH
dc.contributor.authorShaheda Viriyathornen_EN
dc.contributor.authorเยาวลักษณ์ แหวนวงษ์th_TH
dc.contributor.authorYaowaluk Wanwongen_EN
dc.contributor.authorสุลัดดา พงษ์อุทธาth_TH
dc.contributor.authorSuladda Ponguttaen_EN
dc.contributor.authorนพคุณ ธรรมธัชอารีth_TH
dc.contributor.authorNoppakun Thammatachareeen_EN
dc.contributor.authorคนางค์ คันธมธุรพจน์th_TH
dc.contributor.authorKanang Kantamaturapojen_EN
dc.contributor.authorระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์th_TH
dc.contributor.authorRapeepong Suphanchaimaten_EN
dc.date.accessioned2019-03-27T12:39:55Z
dc.date.available2019-03-27T12:39:55Z
dc.date.issued2562-03
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 13,1 (ม.ค.-มี.ค. 2562) : 11-22th_TH
dc.identifier.issn26729415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5032
dc.description.abstractอุทกภัยในปี พ.ศ. 2554 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อพื้นที่กรุงเทพมหานครและภาคกลางของประเทศไทย นับเป็นความท้าทายที่สำคัญต่อความยืดหยุ่นของระบบสุขภาพไทยในการรับมือกับภาวะวิกฤติในครั้งนั้น การศึกษานี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาว่าระบบสาธารณสุขไทยสามารถตอบสนองต่อภาวะวิกฤติได้เพียงใด ผ่านมุมมองเรื่องความยืดหยุ่นของระบบสุขภาพ โดยในที่นี้เน้นเฉพาะเรื่อง "การตระหนักรู้" และ "การปรับตัว" ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้จากการสำรวจครัวเรือน ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2554 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ในภาพรวมระบบสาธารณสุขไทยค่อนข้างยืดหยุ่นในการรับมือกับภาวะวิกฤต โดยเฉพาะในเรื่อง "การตระหนักรู้" ซึ่งสะท้อนผ่านการที่ประชาชนมีความพึงพอใจในระดับดีเกี่ยวกับการเตือนภัยน้ำท่วม อย่างไรก็ตามในเรื่องของ "การปรับตัว" ซึ่งใช้การบรรเทาสาธารณภัยเป็นตัวชี้วัดนั้น ไม่ได้อยู่ในระดับที่ดีนัก นอกจากนี้ ยังพบว่า ครัวเรือนในกรุงเทพมหานครมีการตระหนักรู้ในระดับที่ดีกว่าครัวเรือนในภาคกลาง ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากครัวเรือนในกรุงเทพมหานครได้รับข้อความเตือนจากหลายช่องทาง ในทางกลับกัน ครัวเรือนยากจนในกรุงเทพมหานคร เป็นกลุ่มที่สูญเสียรายได้จากเหตุการณ์น้ำท่วมมากที่สุด ส่วนครัวเรือนในภาคกลาง มีความพึงพอใจในการได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกมากกว่าครัวเรือนในกรุงเทพมหานคร ด้วยเหตุที่ครัวเรือนในภาคกลางที่ประสบอุทกภัยส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการรับมือน้ำท่วมมากกว่า และโครงสร้างระบบบริการสุขภาพนอกกรุงเทพมหานครมีการกระจายการปฏิบัติงานมากกว่า และมีขอบเขตรับผิดชอบที่ชัดเจน โดยสรุป ระบบสุขภาพไทยมีความยืดหยุ่นในการรับมือกับปัญหาภาวะวิกฤติทางสาธารณสุข แต่ก็ยังมีความท้าทายที่พึงปรับปรุงในอนาคต ตัวอย่างเช่น ควรมีการเสริมสร้างความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงชุมชนท้องถิ่น หน่วยงานนอกภาครัฐ องค์กรสื่อและเครือข่ายทางสังคม ด้วยกลไกดังกล่าวจะช่วยขยายความช่วยเหลือไปยังประชากรกลุ่มเปราะบางได้มากขึ้น และเพิ่มการตระหนักรู้ต่อภาวะวิกฤตในครัวเรือนกลุ่มเสี่ยง ยิ่งไปกว่านั้น พึงมีการปรับระบบการขึ้นทะเบียนการให้บริการแก่ประชาชนทุกคน โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีพื้นที่ที่รับผิดชอบชัดเจนยิ่งขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isoenth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectอุทกภัยth_TH
dc.subjectFlooden_EN
dc.subjectภัยพิบัติth_TH
dc.subjectDisastersen_EN
dc.subjectHealth Systemen_EN
dc.subjectระบบสุขภาพth_TH
dc.titleอุทกภัยในกรุงเทพมหานครและภาคกลางของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2554: ความท้าทายต่อความยืดหยุ่นของระบบสุขภาพth_TH
dc.title.alternativeThe 2011 Flood Crisis in Bangkok and the Central Region of Thailand: Challenges to a Resilient Health Systemen_EN
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeBackground and Rationale: The flood disaster which affected Bangkok and the central region of Thailand in 2011 presented a critical challenge to the resilience of Thailand’s health system in the face of sudden crisis. Objective: To explore the extent to which the Thai health system was capable of responding to a public health shock, through the lens of health system resilience, with a particular focus on the issues of ‘awareness’ and ‘adaptability’. Methodology: A cross sectional study design was applied. Data were obtained from the representative household survey in 2011. Descriptive statistics and inferential statistics using t-test, Chi-square test and rank-sum test were applied. Results: Overall, the Thai health system is quite ‘resilient’ especially in terms of ‘awareness’, as demonstrated by the good level of satisfaction that people had with the flood warning messages that they received. However, concerning ‘adaptability’, and using public health relief as an indicator, the Thai health system did not appear to perform well. Households in Bangkok had a better level of awareness than those in the central region. Households in the central region reported greater satisfaction in obtaining external public health assistance than the Bangkokian households. Conclusion: The Thai health system is somewhat resilient in coping with public health shocks, but there remains room for further improvement. An expansion of public health collaboration to all relevant sectors including local communities, non-governmental organizations, as well as media and social networks is needed. Furthermore, re-orientating the health registration system to have clearer catchment areas is recommended.en_EN
.custom.citationชาฮีดา วิริยาทร, Shaheda Viriyathorn, เยาวลักษณ์ แหวนวงษ์, Yaowaluk Wanwong, สุลัดดา พงษ์อุทธา, Suladda Pongutta, นพคุณ ธรรมธัชอารี, Noppakun Thammatacharee, คนางค์ คันธมธุรพจน์, Kanang Kantamaturapoj, ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์ and Rapeepong Suphanchaimat. "อุทกภัยในกรุงเทพมหานครและภาคกลางของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2554: ความท้าทายต่อความยืดหยุ่นของระบบสุขภาพ." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5032">http://hdl.handle.net/11228/5032</a>.
.custom.total_download700
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month8
.custom.downloaded_this_year143
.custom.downloaded_fiscal_year38

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v13n ...
ขนาด: 394.7Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย