Show simple item record

Situation, Personal and Household Characteristics Associated with Disability in Children

dc.contributor.authorรักมณี บุตรชนth_TH
dc.contributor.authorRukmanee Butchonen_EN
dc.contributor.authorสุรเดช ดวงทิพย์สิริกุลth_TH
dc.contributor.authorSuradech Doungthipsirikulen_EN
dc.contributor.authorศุภวรรธน์ เพิ่มผลสุขth_TH
dc.contributor.authorSuppawat Permpolsuken_EN
dc.contributor.authorDabak, Saudamini Vishwanathen_EN
dc.contributor.authorยศ ตีระวัฒนานนท์th_TH
dc.contributor.authorYot Teerawattananonen_EN
dc.date.accessioned2019-03-28T12:42:40Z
dc.date.available2019-03-28T12:42:40Z
dc.date.issued2562-03
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 13,1 (ม.ค.-มี.ค. 2562) : 106-115th_TH
dc.identifier.issn26729415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5039
dc.description.abstractคนพิการส่วนใหญ่มีความยากลำบากในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะเด็กซึ่งมักจะต้องเผชิญกับการเลือกปฏิบัติและการจำกัดการเข้าถึงบริการทางสังคม แม้จะพบว่าความพิการในเด็กจะมีผลกระทบต่อพัฒนาการ ต่อครอบครัวและต่อเศรษฐกิจ แต่ข้อมูลที่สำคัญก็ยังมีไม่เพียงพอ เช่น ความชุกจำแนกตามกลุ่มอายุ และลักษณะครัวเรือนของเด็กพิการ ดังนั้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์เด็กพิการแรกเกิดถึง 14 ปี จำแนกตามประเภทความพิการและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพิการ การศึกษานี้ได้เริ่มต้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2558 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยศึกษาเฉพาะข้อมูลรายบุคคลของเด็กและครัวเรือนเด็กแรกเกิดถึง 14 ปี จำนวน 22,499 คน และ 15,538 ครัวเรือน จากนั้นจึงประมาณค่าข้อมูลตัวอย่างและใช้การถ่วงน้ำหนักข้อมูล (weight) เพื่อให้ได้ค่าประมาณของประชากรทั้งประเทศ ผลการศึกษา พบว่าเด็กแรกเกิดถึง 14 ปี มีความพิการด้านร่างกายและ/หรือสติปัญญา ประมาณ 93,129 คน คิดเป็นร้อยละ 0.87 ของกลุ่มอายุดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นผู้พิการแต่กำเนิด (ร้อยละ 0.80) และเมื่อพิจารณาร้อยละของเด็กพิการเทียบกับเด็กปกติของแต่ละกลุ่ม พบว่า กลุ่มที่มีความพิการสูงคือ กลุ่มเพศชาย (ร้อยละ 0.93) กลุ่มอายุระหว่าง 11 – 14 ปี (ร้อยละ 1.12) กลุ่มหัวหน้าครัวเรือนที่จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ร้อยละ 1.20) และกลุ่มหัวหน้าครัวเรือนไม่ได้ประกอบอาชีพ (ร้อยละ 1.16) เด็กวัยเรียนอายุ 5 - 14 ปีที่มีความพิการทางด้านสติปัญญาและ/หรือร่างกายตั้งแต่กำเนิดมากกว่า 1 ใน 3 คนไม่ได้เรียนหนังสือ เด็กที่มีความพิการแต่กำเนิดทางกายร่วมสติปัญญาเกือบทุกคนไม่สามารถดูแลตนเองในชีวิตประจำวันและออกนอกเขตพื้นที่ได้ (ร้อยละ 81.6 และ 94.5) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพิการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุของเด็กและอาชีพของหัวหน้าครัวเรือน กล่าวคือ เด็กอายุ 7 – 14 ปีมีความชุกของความพิการเป็น 1.39 เท่าของเด็กแรกเกิดถึง 6 ปี (Adj.OR=1.39; 95%CI=1.05-1.84) ครัวเรือนที่มีหัวหน้าครัวเรือนรับราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือพนักงานบริษัทมีความชุกน้อยกว่าครัวเรือนที่หัวหน้าครัวเรือนไม่ได้ประกอบอาชีพ ร้อยละ 51 และ 41 ตามลำดับ สรุปว่า ความชุกของเด็กพิการที่อยู่ในวัยเรียน (อายุ 5 – 14 ปี) มีมากกว่าวัยอื่นและมักอาศัยในครัวเรือนที่หัวหน้าครัวเรือนไม่มีงานทำ เด็กในวัยนี้จึงขาดโอกาสทางการศึกษา ดังนั้น รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับเรื่องการศึกษาพิเศษของคนพิการอย่างจริงจัง จะต้องจัดให้เด็กพิการในวัยเรียนได้รับการศึกษาหรือการฝึกอาชีพอย่างเหมาะสมกับลักษณะความพิการ และควรทบทวนและประเมินประสิทธิผลของนโยบายการศึกษาพิเศษ รวมทั้งควรมีมาตรการการจ้างงานแก่หัวหน้าครัวเรือนหรือสมาชิกในครัวเรือนที่มีคนพิการเพื่อให้คนเหล่านั้นสามารถดูแลเด็กพิการได้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectเด็กพิการth_TH
dc.subjectChildren with disabilitiesth_TH
dc.subjectเด็กพิการ--การดูแลth_TH
dc.subjectเด็กพิการ--การศึกษาth_TH
dc.titleสถานการณ์ ปัจจัยส่วนบุคคลและครัวเรือนที่มีความสัมพันธ์กับความพิการของเด็กth_TH
dc.title.alternativeSituation, Personal and Household Characteristics Associated with Disability in Childrenen_EN
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativePeople with disabilities face several challenges, especially children who are often discriminated against and have limited access to social services. Despite the significant impact on a child’s development, family life, and its economic implications, research on childhood disability is inadequate. This study aimed to study the situation of children with disabilities up to the age of 14 years by type of disability and explored factors associated with disability. The study involved analyzing the National Statistical Office’s 2015 Household Socio-Economic Survey. There were 22,499 children aged 0 – 14 years in the sample of 15,538 households. Applying sampling weights, the country-wide estimates were derived. The study found that 93,129 children aged 0 to 14 years (0.87%) suffered from some kind of physical and intellectual disabilities, and most of them were congenital disabilities (0.80%). High prevalence of child disability was found in the following groups: males (0.93%), the 11-14 year old age group (1.12%), household heads with vocational diploma (1.20%) and unemployed household heads (1.16%). Among children with disabilities, more than one-third did not attend school. In addition, almost all children with both physical and intellectual disabilities could not take care of themselves or go out independently (81.6% and 94.5%). After multivariate adjustment, it was found that the children aged 7 – 14 years had a 1.39-time higher prevalence of disability compared to children aged 0 – 6 years (Adj.OR=1.39; 95%CI= 1.05-1.84). On the other hand, the prevalence of children with disabilities was lower in households where the heads were employed by the government and by private companies (51% and 41%, respectively) than those with unemployed household heads. The prevalence of child disability was concluded to be high among school age children (5 – 14 years) and in households with unemployed household heads. School aged children lacked educational opportunities especially those with congenital disabilities. The present study suggests that the government should pay more attention on special education of people with disabilities, and children with disabilities should have education or vocational training appropriate to their condition. Special education policies for children with disabilities have to be evaluated for improving the effectiveness. Moreover, authorities should promote private or public organizations to employ the head of family having children with disabilities.en_EN
.custom.citationรักมณี บุตรชน, Rukmanee Butchon, สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล, Suradech Doungthipsirikul, ศุภวรรธน์ เพิ่มผลสุข, Suppawat Permpolsuk, Dabak, Saudamini Vishwanath, ยศ ตีระวัฒนานนท์ and Yot Teerawattananon. "สถานการณ์ ปัจจัยส่วนบุคคลและครัวเรือนที่มีความสัมพันธ์กับความพิการของเด็ก." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5039">http://hdl.handle.net/11228/5039</a>.
.custom.total_download2457
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month32
.custom.downloaded_this_year412
.custom.downloaded_fiscal_year99

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v13n ...
Size: 624.4Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

Show simple item record