Types of Wounds and Patterns of Antibiotic Use in Trauma Patients in Mahasarakham Hospital
dc.contributor.author | ชุติมาภรณ์ ไชยสงค์ | th_TH |
dc.contributor.author | Chutimaporn Chaiyasong | en_EN |
dc.contributor.author | พิริยา ติยาภักดิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Piriya Tiyapak | en_EN |
dc.contributor.author | อนันตเดช วงศรียา | th_TH |
dc.contributor.author | Anantadet Wongsriya | en_EN |
dc.contributor.author | สุรศักดิ์ ไชยสงค์ | th_TH |
dc.contributor.author | Surasak Chaiyasong | en_EN |
dc.date.accessioned | 2019-03-28T12:46:25Z | |
dc.date.available | 2019-03-28T12:46:25Z | |
dc.date.issued | 2562-03 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 13,1 (ม.ค.-มี.ค. 2562) : 116-124 | th_TH |
dc.identifier.issn | 26729415 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5040 | |
dc.description.abstract | ในปี 2559 กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ “การใช้ยาปฏิชีวนะในบาดแผลสดจากอุบัติเหตุ” เป็นตัวชี้วัดหนึ่งของ Service Plan สาขาการใช้ยาอย่างสมเหตุผล โดยมีเป้าหมายคือ อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะไม่เกินร้อยละ 40 ซึ่งอ้างอิงตัวเลขมาจากงานวิจัยในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่แห่งเดียว การศึกษาในโรงพยาบาลที่มีขนาดและภูมิภาคที่แตกต่างกันยังมีจำกัด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเภทของบาดแผลและรูปแบบการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยมีบาดแผลจากอุบัติเหตุ ทำการศึกษาแบบไปข้างหน้า โดยเก็บข้อมูลในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินของโรงพยาบาลมหาสารคาม ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ถึงวันที่ 30 เมษายน 2561 ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ ชนิดของบาดแผล ประเภทของบาดแผล ตามแนวทางการใช้ยาปฏิชีวนะ (จำแนกเป็น 3 กลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มที่ 2 และ 3 ที่แนะนำให้ใช้ยาปฏิชีวนะ) ความชุกของการใช้ยาปฏิชีวนะ ชนิดของยาปฏิชีวนะและระยะเวลาของการใช้ยาฯ และสัดส่วนการปฏิบัติตามแนวทางการใช้ยาปฏิชีวนะในบาดแผลสด ผลการศึกษาพบว่า ในผู้ป่วยทั้งหมด 267 คน ร้อยละ 51.7 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 34+21 ปี ร้อยละ 75.3 เป็นผู้ที่ไม่มีโรคร่วม ค่ามัธยฐานของระยะเวลาที่ผู้ป่วยเกิดบาดแผลจนมาถึงโรงพยาบาล เท่ากับ 1 ชั่วโมง (ช่วงควอร์ไทล์ 0.5, 3) ตำแหน่งของบาดแผลที่พบมากที่สุดคือ ขา (ร้อยละ 32.2) ชนิดของบาดแผลที่พบมากที่สุดคือ บาดแผลสัตว์กัด (ร้อยละ 55.1) พบการปนเปื้อนของแผล ร้อยละ 74.5 ความชุกของการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาบาดแผลจากอุบัติเหตุ เท่ากับร้อยละ 65.5 เมื่อจำแนกตามประเภทของบาดแผล เท่ากับร้อยละ 11.1 ในกลุ่มที่ 1 เท่ากับร้อยละ 72.2 ในกลุ่มที่ 2 และเท่ากับร้อยละ 87.0 ในกลุ่มที่ 3 ยาปฏิชีวนะที่ใช้มากที่สุดคือ Amoxycillin (ร้อยละ 62.9) ระยะเวลาใช้ยาเฉลี่ยคือ 5+1 วัน สัดส่วนการปฏิบัติตามแนวทางด้านการใช้/ไม่ใช้ยา คิดเป็นร้อยละ 86.5 สัดส่วนการปฏิบัติตามแนวทางด้านระยะเวลาการใช้ยา คิดเป็นร้อยละ 65.9 โดยสรุป อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะในบาดแผลสดจากอุบัติเหตุในโรงพยาบาลมหาสารคามสูงเกินเป้าหมาย แม้ว่าส่วนใหญ่จะมีการปฏิบัติตามแนวทางการใช้ยาปฏิชีวนะที่กำหนด ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขจึงควรทบทวนการกำหนดเป้าหมายของตัวชี้วัดนี้ โดยสนับสนุนให้มีการศึกษาที่ครอบคลุมในโรงพยาบาลหลากหลายระดับ หลากหลายภูมิภาค เพื่อให้ตัวชี้วัดสามารถสะท้อนคุณภาพของการบริการได้อย่างแท้จริง | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | บาดแผล | th_TH |
dc.subject | ยาปฏิชีวนะ | th_TH |
dc.subject | บาดแผล--การรักษา | th_TH |
dc.subject | การใช้ยาอย่างสมเหตุผล | th_TH |
dc.title | ประเภทของบาดแผลและรูปแบบการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยอุบัติเหตุของโรงพยาบาลมหาสารคาม | th_TH |
dc.title.alternative | Types of Wounds and Patterns of Antibiotic Use in Trauma Patients in Mahasarakham Hospital | en_EN |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | In 2016, Ministry of Public Health’s service plan included antibiotic use in traumatic wound patients as an indicator of rational drug use. The target of this indicator was set at <40% based on a study in one large university hospital. Little is known on antibiotic use particularly in other hospital levels and regions. The objective of this study is to describe types of wounds and patterns of antibiotic use in traumatic wound patients. A prospective study was conducted in emergency unit, Mahasarakham Hospital during 1 March to 30 April 2018. The study measured types of wounds, wound classification according to antibiotic use guideline (antibiotic use is recommended for only class 2 and 3), prevalence of antibiotic use, type and duration of antibiotic use, and proportion of appropriate antibiotic use according to the guideline. Of total 267 patients, most of them were male (51.7%), had no co-morbidity (75.3%) and average age of 34+21 years. Median time from injury to hospital was 1 hour (IQR: 0.3, 3). The most common location of wound was at leg (32.2%) and wound type was animal bite (55.1%). Wound contamination was 74.5%. Prevalence of antibiotic use was 65.5%, when stratified by wound classification the prevalence was 11.1% in class 1, 72.2% in class 2 and 87% in class 3. The most common antibiotic use was Amoxycillin (62.9%). Average duration of antibiotic use was 5+1 days. According to the guideline, the rate of appropriate antibiotic use was 86.5% and appropriate duration of antibiotic use was 65.9%. In conclusion, use of antibiotics in traumatic wounds in Mahasarakham Hospital mostly adhered to the guideline but was higher than the target. Ministry of Public Health should reconsider the target of this indicator and promote further study in various hospitals and regional settings for appropriately reflecting quality of care. | en_EN |
dc.subject.keyword | Rational Drug Use | th_TH |
.custom.citation | ชุติมาภรณ์ ไชยสงค์, Chutimaporn Chaiyasong, พิริยา ติยาภักดิ์, Piriya Tiyapak, อนันตเดช วงศรียา, Anantadet Wongsriya, สุรศักดิ์ ไชยสงค์ and Surasak Chaiyasong. "ประเภทของบาดแผลและรูปแบบการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยอุบัติเหตุของโรงพยาบาลมหาสารคาม." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5040">http://hdl.handle.net/11228/5040</a>. | |
.custom.total_download | 26488 | |
.custom.downloaded_today | 30 | |
.custom.downloaded_this_month | 382 | |
.custom.downloaded_this_year | 8134 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 1614 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ