แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การเรียนรู้ อยู่กับภัยพิบัติ: นิเวศวัฒนธรรม สื่อ รัฐ กับพลวัตชุมชน ปีที่ 2

dc.contributor.authorสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพth_TH
dc.contributor.authorSociety and Health Instituteen_US
dc.contributor.authorโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์th_TH
dc.contributor.authorKomatra Chuengsatiansupen_US
dc.contributor.authorKaewta Sungkhacharten_US
dc.contributor.authorสิทธิโชค ชาวไร่เงินth_TH
dc.contributor.authorSittichoke Chawraingernen_US
dc.contributor.authorสุจิตรา ปัญญาth_TH
dc.contributor.authorSujittra Panyaen_US
dc.contributor.authorประชาธิป กะทาth_TH
dc.contributor.authorPrachatip Kataen_US
dc.contributor.authorธนวรรณ สาระรัมย์th_TH
dc.contributor.authorThanawan Sararumen_US
dc.contributor.authorบุษบงก์ วิเศษพลชัยth_TH
dc.contributor.authorBussabong Wisetpholchaien_US
dc.contributor.authorแก้วตา สังขชาติth_TH
dc.date.accessioned2019-04-04T08:48:46Z
dc.date.available2019-04-04T08:48:46Z
dc.date.issued2562-04
dc.identifier.otherhs2479
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5042
dc.description.abstractโครงการเรียนรู้อยู่กับภัยพิบัติ: นิเวศวัฒนธรรม สื่อ รัฐ กับพลวัตชุมชน (ปีที่2) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์และปฏิกิริยาของชุมชนที่มีต่อภัยพิบัติ ทั้งก่อน ระหว่างและหลังการเกิดภัยพิบัติในบริบทนิเวศวัฒนธรรมท้องถิ่นที่แตกต่างกัน เพื่อเปรียบเทียบแบบแผน ลักษณะ เงื่อนไขและผลที่เกิดตามมาต่อการรับมือกับภัยพิบัติและวิเคราะห์ประเมินกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์รับมือภัยพิบัติของชุมชนในการรับมือกับภัยพิบัติ รวมทั้งการเรียนรู้ที่เกิดจากสื่อ มาตรการของรัฐและการทำงานกับองค์กรภายนอก การศึกษานี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาข้อเสนอและรูปแบบ (Model) การเสริมศักยภาพชุมชนในการจัดการภัยพิบัติจากบทเรียนและประสบการณ์ชุมชนเองกับการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนของมาตรการเสริมศักยภาพชุมชนที่ดำเนินการโดยองค์กรต่างๆ จากภายนอก โดยดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 ถึงเดือนมีนาคม 2561 การวิจัยในปีที่ 2 นี้เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากการศึกษาในระยะแรกที่เน้นการศึกษาประสบการณ์ชุมชนในด้านอุทกภัย โดยได้ขยายไปศึกษาเพื่อเปรียบเทียบประสบการณ์ของชุมชนในภัยพิบัติหลายประเภทขึ้น ได้แก่ ไฟป่า ภัยแล้ง ดินโคลนถล่มและแผ่นดินไหว โดยเน้นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การสนทนากลุ่ม (Focused group) และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน โดยในกระบวนการวิจัยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยเปิดพื้นที่ให้ผู้นำและสมาชิกชุมชนร่วมค้นหาและสะท้อนประสบการณ์การเผชิญกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในบริบทนิเวศวัฒนธรรมชุมชน ทั้งจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ ปฏิกิริยาการรับมือของชุมชนท้องถิ่น ศักยภาพและทุนทางสังคมต่อการรับมือภัยพิบัติ เพื่อนำมาพัฒนาฐานข้อมูลนิเวศวัฒนธรรมชุมชน (Community Cultural Ecology Profile) และวิเคราะห์รูปแบบการจัดการภัยพิบัติพื้นที่กรณีศึกษา ซึ่งการศึกษาวิจัยนี้เป็นความร่วมมือระหว่างนักวิจัยจากสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขและนักวิชาการจากสถาบันการศึกษา ร่วมกับนักวิจัยท้องถิ่นในชุมชน ที่ร่วมศึกษาเรียนรู้ทั้งในการทบทวนวรรณกรรม การวิจัยภาคสนามและการพัฒนาประเด็นวิชาการเพิ่มเติมเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านภัยพิบัติศึกษา (Disaster study) เชื่อมโยงไปสู่ประเด็นการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ (Climate change) มุมมองสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) ซึ่งทำให้ประเด็นด้านนิเวศวัฒนธรรมของภัยพิบัติขยายไปกว้างกว่าการมองเฉพาะผลกระทบต่อมนุษย์เท่านั้น การเชื่อมโยงไปสู่ประเด็นที่กว้างขึ้นทำให้เห็นผลกระทบต่อพืชพันธุ์และสิ่งมีชีวิตอื่นในระบบนิเวศ นอกจากนั้น การทบทวนประวัติศาสตร์ภัยพิบัติและการพัฒนาพันธุ์ข้าวที่สัมพันธ์กับภัยพิบัติน้ำท่วมเป็นตัวอย่างของการขยายมุมมองความสัมพันธ์เรื่องภัยพิบัติไปสู่ประเด็นการพัฒนาพืชเศรษฐกิจ เป็นต้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectภัยพิบัติth_TH
dc.subjectDisasterth_TH
dc.subjectชุมชนth_TH
dc.subjectนิเวศวัฒนธรรมth_TH
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleการเรียนรู้ อยู่กับภัยพิบัติ: นิเวศวัฒนธรรม สื่อ รัฐ กับพลวัตชุมชน ปีที่ 2th_TH
dc.title.alternativeLearning from Disaster, Living with Risk: Cultural Ecology, Media, State and Community Dynamicsen_US
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoGB5005 ส691ก 2562
dc.identifier.contactno59-047
dc.subject.keywordCultural Ecologyth_TH
.custom.citationสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ, Society and Health Institute, โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, Komatra Chuengsatiansup, Kaewta Sungkhachart, สิทธิโชค ชาวไร่เงิน, Sittichoke Chawraingern, สุจิตรา ปัญญา, Sujittra Panya, ประชาธิป กะทา, Prachatip Kata, ธนวรรณ สาระรัมย์, Thanawan Sararum, บุษบงก์ วิเศษพลชัย, Bussabong Wisetpholchai and แก้วตา สังขชาติ. "การเรียนรู้ อยู่กับภัยพิบัติ: นิเวศวัฒนธรรม สื่อ รัฐ กับพลวัตชุมชน ปีที่ 2." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5042">http://hdl.handle.net/11228/5042</a>.
.custom.total_download97
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year4
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2479.pdf
ขนาด: 9.959Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย