แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยนอกโรคหัวใจล้มเหลวโดยสหสาขาวิชาชีพ

dc.contributor.authorอุษาศิริ ศรีสกุลth_TH
dc.contributor.authorUsasiri Srisakulen_EN
dc.contributor.authorวราวุธ อัมพรวิโรจน์กิจth_TH
dc.contributor.authorWarawut Umpornwirojkiten_EN
dc.contributor.authorสุภาพร พัฒนสารth_TH
dc.contributor.authorSupapron Pattanasanen_EN
dc.contributor.authorอภิโชติ โซ่เงินth_TH
dc.contributor.authorApichot So-ngernen_EN
dc.contributor.authorเฉลิมศรี ภุมมางกูรth_TH
dc.contributor.authorCharlermsri Pummanguraen_EN
dc.contributor.authorภาณุพงศ์ รักษาวงศ์th_TH
dc.contributor.authorPanupong Rucksawongen_EN
dc.contributor.authorกมลวรรณ ตันติพิวัฒนสกุลth_TH
dc.contributor.authorKamolwan Tuntiphiwantanakulen_EN
dc.contributor.authorพิธาน โฆษิตชัยวัฒน์th_TH
dc.contributor.authorPithan Kositchaivaten_EN
dc.date.accessioned2019-05-01T06:54:59Z
dc.date.available2019-05-01T06:54:59Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.otherhs2485
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5050
dc.description.abstractภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขทั่วโลก การดูแลโดยทีมสหสาขาวิชาชีพส่งผลเพิ่มอัตราการได้รับยาตามมาตรฐาน ลดความเสี่ยงต่อการนอนโรงพยาบาลจากภาวะหัวใจล้มเหลวและการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุและเพิ่มคะแนนคุณภาพชีวิตดีแก่ผู้ป่วย แต่เนื่องจากปัญหาด้านจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น การไม่มีแนวทางในการดูแลผู้ป่วย ส่งผลให้เกิดปัญหาการจัดการข้อมูล การบันทึกข้อมูลผู้ป่วยซ้ำซ้อนและเป็นอุปสรรคต่อการรวบรวมข้อมูลเพื่อการรายงานภาระงานและการพัฒนาเป็นผลงานทางวิชาการ การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมจากบุคลากรในคลินิกรักษ์หัวใจ บุคลากรนอนคลินิกรักษ์หัวใจ ผู้ป่วยหรือญาติผู้ดูแล การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโดยสหาสาขาวิชาชีพและแนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวในคลินิก การพัฒนาระบบจัดการข้อมูลผู้ป่วยและเครื่องมือต่างๆ และการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ระหว่างก่อน-หลังได้รับการดูแลจากคลินิกรักษ์หัวใจ ผลการศึกษาจากการสำรวจปัญหาพบว่าปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุด ได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล การบันทึกและรายงานข้อมูลผลการทำงานซ้ำซ้อนและการสื่อสารระหว่างบุคลากรในหน่วยงานและปัญหาการติดตามผู้ป่วย จากนั้นนำมาพัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ป่วย การจัดทำแนวทางเวชปฏิบัติฯ และการพัฒนาเครื่องมืออื่นๆ ที่ช่วยในการดูแลผู้ป่วย ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลจากคลินิกรักษ์หัวใจเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน จำนวนทั้งหมด 100 คน เป็นเพศชายร้อยละ 58.00 มีอายุเฉลี่ย 61.92 + 15.75 ปี ค่า EF (ejection fraction) เฉลี่ยร้อยละ 30.80 + 8.48 โดยมีสาเหตุของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงมากที่สุดคือจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (ร้อยละ 70.0) การประเมินผลสัมฤทธิ์เชิงกระบวนการทุกด้านดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ คะแนนความรู้ในการดูแลตนเอง ค่าตัวชี้วัดของการรักษาด้วยยาตามแนวทางเวชปฏิบัติสูงขึ้น (ร้อยละ 64.35 + 38.25 และร้อยละ 88.50 + 21.76, p=0.009) ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันดีขึ้น (NYHA class I) จำนวนมากขึ้น ผู้ป่วยมีสมรรถภาพทางร่างกายดีขึ้น (6-minute walk test) ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องจากยาพบทั้งหมด 134 ปัญหา โดยปัญหาที่เกี่ยวเนื่องจากยาที่พบบ่อยที่สุด คือ การได้รับยาในขนาดที่ต่ำเกินไป (ร้อยละ 47.00) ความร่วมมือในการใช้ยา (ร้อยละ 37.00) และการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยา (ร้อยละ 21.00) ผู้ป่วยได้รับการแก้ไขปัญหาส่วนใหญ่แพทย์ปรับยาร่วมกับเภสัชกรให้คำแนะนำผู้ป่วย (ร้อยละ 61.94) ปัญหาส่วนใหญ่ได้รับการแก้โดยสมบูรณ์ (ร้อยละ 70) และบางส่วนรอการติดตามผล (ร้อยละ 29.00) ผลสัมฤทธิ์หลังการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยในคลินิกรักษ์หัวใจ พบว่าผู้ป่วยมีมีอัตราการนอนโรงพยาพบาลลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 33 และร้อยละ 8, p<0.001) และส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายการนอนรักษาพยาบาลลดลง 8,839.72 บาทต่อคน ผู้ป่วยมีคะแนนคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและมีความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยในระดับดี-ดีมากที่สุดth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectโรคหัวใจth_TH
dc.subjectHeart Failureen_EN
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยนอกโรคหัวใจล้มเหลวโดยสหสาขาวิชาชีพth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of Multidisciplinary Care Model for Outpatients with Chronic Heart Failureen_EN
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeHeart failure (HF) is a major health problem globally. Multidisciplinary team care increases standard medication treatment, decreases risk of hospitalization with heart failure and all-causes mortality, also improve quality of life in patient with heart failure. However, with the increasing of number of patients and lacking the clinical practice guidelines in the HF clinic, are affecting the problems of data management, redundancy of documentation. These are obstacles for data management in patient care, quality assurance and initiating of academic work. This is a participatory action research among staffs inside the HF clinics and outside the HF clinic, also patients or care givers. The objectives of this study including the development of multidisciplinary care model and the clinical practice guidelines for HF patients in the clinic, the development of data management system and other tools, and the comparisons of outcomes between before-after receiving care from the HF clinic The results from problem survey found that problem related to data management was the most important including data collection, documentation and report, redundancy of data documentation and communication within the clinic. The patient’s data-base system was developed, as well as the clinical practice guidelines and other tools for supporting patients’ care. A total of 100 patients, 58.00 percent were male, the mean age of 6 1 . 9 2 + 1 5 . 7 5 years old. Patients received treatment in the HF clinic for at least 6 months. The mean of ejection fraction (EF) was 30.80 + 8.48 %. The common cause of cardiomyopathy (CMP) was ischemic CMP (70.00%). The evaluation of all process outcomes found improved significantly including patient’s knowledge for self-care score, the mean guideline adherence indicator (GAI) increased from 64.35 + 38.25 % to 88.50 + 21.76 (p=0.009), the New York heart association functional class was improved, and also the 6-minute walk test. All drug related problems (DRPs) found were 134 problems. The common DRPs were dosage too low (47.00%), non-compliance (37.00%), and adverse drug reactions (21.00%). The DRPs were solved mostly by physicians adjusted the medication combined with pharmacist provided counseling to patients (61.94%). The majority of DRPs were solved completely (70.00%) with 29.00 percent were pending for following-up. The outcomes after development of patient’s care model resulted in the numbers of hospitalization with heart failure decreased significantly (33.0 and 8.0%, p<0.001) and saved the total of hospitalization cost 8,839.72 baht per patient, the quality of life score increased significantly, and the mean patient satisfaction score was in the level of good-best after received the developed patient’s care system.en_EN
dc.identifier.callnoWG300 อ864ก 2562
dc.identifier.contactno61-001
dc.subject.keywordภาวะหัวใจล้มเหลวth_TH
.custom.citationอุษาศิริ ศรีสกุล, Usasiri Srisakul, วราวุธ อัมพรวิโรจน์กิจ, Warawut Umpornwirojkit, สุภาพร พัฒนสาร, Supapron Pattanasan, อภิโชติ โซ่เงิน, Apichot So-ngern, เฉลิมศรี ภุมมางกูร, Charlermsri Pummangura, ภาณุพงศ์ รักษาวงศ์, Panupong Rucksawong, กมลวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, Kamolwan Tuntiphiwantanakul, พิธาน โฆษิตชัยวัฒน์ and Pithan Kositchaivat. "การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยนอกโรคหัวใจล้มเหลวโดยสหสาขาวิชาชีพ." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5050">http://hdl.handle.net/11228/5050</a>.
.custom.total_download228
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year34
.custom.downloaded_fiscal_year6

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2485.pdf
ขนาด: 2.102Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย