การติดตามราคาและปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลก่อนและหลังการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลของประเทศไทย
dc.contributor.author | กมลพัฒน์ มากแจ้ง | th_TH |
dc.contributor.author | Kamolphat Markchang | en_US |
dc.contributor.author | สุลัดดา พงษ์อุทธา | th_TH |
dc.contributor.author | Suladda Pongutta | en_US |
dc.date.accessioned | 2019-06-27T08:28:31Z | |
dc.date.available | 2019-06-27T08:28:31Z | |
dc.date.issued | 2562-06 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 13,2 (เม.ย.-มิ.ย. 2562) : 128-144 | th_TH |
dc.identifier.issn | 26729415 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5069 | |
dc.description.abstract | ประเทศไทยมีการบังคับใช้พระราชบัญญัติสรรพสามิต พ.ศ. 2560 โดยมีการเปลี่ยนแปลงพิกัดอัตราภาษีและวิธีการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล (sugar-sweetened beverages: SSBs) ส่งผลให้มีการปรับโครงสร้างและอัตราภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเพิ่มขึ้น โดยมีเป้าหมายที่จะลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลลง โครงสร้างภาษีใหม่นี้ เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงกว่า 6 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตรจะถูกเก็บภาษีในอัตราที่แตกต่างกันตามระดับปริมาณน้ำตาล อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์นมยังคงได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษีดังกล่าว การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามราคาและปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล การศึกษานี้ใช้วิธีการวิเคราะห์เปรียบเทียบราคาและปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลจากการสำรวจ 2 ครั้ง ซึ่งจัดเก็บข้อมูลในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 และในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 และใช้สถิติ Mann-Whitney U test ในการทดสอบความสัมพันธ์ของข้อมูลก่อนและหลังการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิต ผลการศึกษาพบว่า หลังจากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ราคาเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลในภาพรวมปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนร้อยละ 11.1 (คำนวณจากค่ามัธยฐาน) โดยเครื่องดื่มที่ผลิตในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 และเครื่องดื่มนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 สำหรับปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มที่ผลิตในประเทศมีการปรับลดลงร้อยละ 9.6 ขณะที่เครื่องดื่มนำเข้ากลับมีปริมาณน้ำตาลเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งผลิตภัณฑ์นม ซึ่งถูกละเว้นภาษียังคงมีปริมาณน้ำตาลค่อนข้างสูง การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าในภาพรวมสถานการณ์ราคาและปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมีการเปลี่ยนแปลงไปในเชิงบวกภายหลังการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำตาลของเครื่องดื่มบางชนิดไม่ลดลงและบางส่วนเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าควรมีความเสมอภาคในการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและควรมีมาตรการเพิ่มเติมในการควบคุมปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มที่ยังไม่มีการปรับลดปริมาณน้ำตาลดังกล่าวต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | Sugar | en_US |
dc.subject | น้ำตาล | th_TH |
dc.subject | Beverages | en_US |
dc.subject | เครื่องดื่ม | th_TH |
dc.subject | อากรสรรพสามิต | th_TH |
dc.title | การติดตามราคาและปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลก่อนและหลังการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลของประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Monitoring Prices of and Sugar Content in Sugar-Sweetened Beverages from Pre to Post Excise Tax Adjustment in Thailand | en_US |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Thailand has enacted the Excise Tax Act B.E. 2560 and relevant regulations since 2017. As a result, the structure and tax rates of sugar-sweetened beverages (SSBs) have been adjusted with an intention to reduce sugar intake from SSBs. The majority of SSBs containing sugar more than 6 grams/100 ml. have been taxed with different rates according to the sugar contents. However, dairy products have been exempted. The objective of this study was to monitor SSBs’ prices and sugar content, compared between pre and post SSBs tax adjustment. This study used a comparative analysis of prices of and sugar content in SSBs from two surveys (March 2015 and March 2018) and used Mann-Whitney U test to test differences between pre and post SSBs tax adjustment. The results indicated that overall of SSBs’ prices were increased after the tax adjustment (+11.1% by median), both domestic beverages (+12.7% by median) and imported beverages (+18.1% by median). Sugar contents in domestic SSBs were declined (-9.6%), while in imported SSBs increased. In addition, high sugar content in dairy products was not decreased. Conclusion, the study shows that the SSBs tax adjustment may provide a positive change in terms of prices and sugar content as intended, except for imported SSBs and dairy products. Therefore, the excise tax should cover all SSBs and there should be complementary measures to reduce SSBs consumption. | en_US |
.custom.citation | กมลพัฒน์ มากแจ้ง, Kamolphat Markchang, สุลัดดา พงษ์อุทธา and Suladda Pongutta. "การติดตามราคาและปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลก่อนและหลังการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลของประเทศไทย." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5069">http://hdl.handle.net/11228/5069</a>. | |
.custom.total_download | 2951 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 15 | |
.custom.downloaded_this_year | 263 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 47 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ