Show simple item record

Outcome of Alcohol-Free Funeral Policy in Lampang Province, Thailand

dc.contributor.authorกัณณพนต์ ภักดีเศรษฐกุลth_TH
dc.contributor.authorKannapon Phakdeesettakunen_US
dc.contributor.authorสุรศักดิ์ ไชยสงค์th_TH
dc.contributor.authorSurasak Chaiyasongen_US
dc.contributor.authorโศภิต นาสืบth_TH
dc.contributor.authorSopit Nasueben_US
dc.contributor.authorทักษพล ธรรมรังสีth_TH
dc.contributor.authorThaksaphon Thamarangsien_US
dc.contributor.authorศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์th_TH
dc.contributor.authorSiriwan Pitayarangsariten_US
dc.date.accessioned2019-06-27T09:11:21Z
dc.date.available2019-06-27T09:11:21Z
dc.date.issued2562-06
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 13,2 (เม.ย.-มิ.ย. 2562) : 145-156th_TH
dc.identifier.issn26729415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5070
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลจากการดำเนินนโยบายงานศพปลอดเหล้า ที่เริ่มดำเนินการครั้งแรกในจังหวัดลำปางในปี พ.ศ. 2551 โดยทำการเปรียบเทียบการดำเนินการขับเคลื่อนระหว่างพื้นที่ที่ดำเนินการแล้วประสบความสำเร็จ พื้นที่ที่อยู่ระหว่างดำเนินการและพื้นที่ที่ยังไม่มีการดำเนินอย่างเป็นทางการ สำหรับวิธีการศึกษานั้น ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการสำรวจภาคตัดขวางเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างในประชาชนทั่วไปจำนวน 1,445 ตัวอย่าง เพื่อประเมินความเข้าใจ ทัศนคติและการสนับสนุนของประชาชนที่มีต่อนโยบายงานศพปลอดเหล้าในจังหวัดลำปาง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก จากเจ้าภาพงานศพจำนวน 12 คน เพื่อนำเสนอรายละเอียดของการจัดงานศพแบบปลอดเหล้าในงานศพ รวมถึงมุมมองเกี่ยวกับผลที่ได้รับจากการมีนโยบายศพปลอดเหล้า โดยผลการศึกษา พบว่า หลังจากมีการรณรงค์ให้มีงานศพปลอดเหล้าและขยายพื้นที่ จนผลักดันไปสู่การเป็นนโยบายระดับจังหวัด พบว่าประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ดำเนินการและประสบความสำเร็จนั้น เคยเข้าร่วมงานศพที่มีการเลี้ยงเหล้า (ร้อยละ 26.7) น้อยกว่าประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่อยู่ระหว่างดำเนินการและพื้นที่ที่ยังไม่มีการดำเนินการอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้สัดส่วนของผู้ที่มีประสบการณ์ในการดื่มเหล้าในงานศพที่มีการเลี้ยงเหล้าในพื้นที่ที่ดำเนินการและประสบความสำเร็จมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 26 (6.8/26.7) ซึ่งค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ที่อยู่ระหว่างดำเนินการและพื้นที่ที่ยังไม่มีการดำเนินอย่างเป็นทางการ (ร้อยละ 37 และ 41 ตามลำดับ) สำหรับเจ้าภาพงานศพในพื้นที่ที่ดำเนินการแล้วประสบความสำเร็จ ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า ในพื้นที่ไม่มีการจัดหาหรือเลี้ยงเหล้าภายในงานศพ ซึ่งเป็นไปตามกฎเกณฑ์และข้อตกลงของชุมชน ซึ่งเป็นการช่วยประหยัดเงินให้กับเจ้าภาพอย่างมาก ขณะที่เจ้าภาพที่อยู่ในพื้นที่ที่อยู่ระหว่างดำเนินการและพื้นที่ที่ยังไม่มีการดำเนินการอย่างเป็นทางการยังมีการจัดหาและเลี้ยงเหล้าขาวแก่แขกที่มาเข้าร่วมงานศพ ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นและพบเห็นการเมาแล้วทะเลาะวิวาท สร้างความวุ่นวายในงานศพ นอกจากนี้ในพื้นที่ดังกล่าวถ้าไม่มีการเลี้ยงเหล้าในงานศพจะพบว่าคนที่มาร่วมงานมีจำนวนน้อยลง เนื่องจากคนในชุมชนยังมีความเชื่อว่า การเลี้ยงเหล้าในงานศพเป็นประเพณีอย่างหนึ่ง ดังนั้น การศึกษานี้จึงมีข้อเสนอแนะว่า การดำเนินการงานศพปลอดเหล้าจำเป็นจะต้องทำเป็นข้อตกลงของชุมชนและสังคม ซึ่งเป็นการช่วยสนับสนุนให้เจ้าภาพในงานศพสามารถจัดงานศพแบบปลอดเหล้าได้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isoenth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectAlcoholth_TH
dc.subjectแอลกอฮอล์th_TH
dc.subjectเหล้าth_TH
dc.subjectAlcoholism--Prevention & Controlth_TH
dc.subjectเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectการจัดระเบียบชุมชน--ลำปางth_TH
dc.titleการศึกษาผลจากการดำเนินนโยบายงานศพปลอดเหล้าในจังหวัดลำปางth_TH
dc.title.alternativeOutcome of Alcohol-Free Funeral Policy in Lampang Province, Thailanden_US
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeThis study aimed to assess outcome of alcohol-free funeral policy, firstly launched in Lampang in 2008, by comparing between three areas of campaign implementation (completed, ongoing, and no campaign). Methodology: A mixed methods study was carried out in 2012. A face-to-face interview of 1,445 villagers with a structured questionnaire was conducted to evaluate perceptions, attitudes and supports of the respondents toward the policy as well as exposure to the alcohol-free funeral. Twelve funeral hosts were elicited about their funeral details and perspectives on outcomes of the policy by a semi-structured questionnaire. Results: People who lived in the completed implementation areas ever attended fewer funerals with alcohol (26.7%) when compared to people who lived in the ongoing areas (37.4%) or in the areas without campaign (40.9%). The proportion of alcohol drinking experience among who had attended the alcohol-serving funeral in the completed implementation areas was quite low as 26% (6.8/26.7) when compared to 37% and 41% of those in the ongoing areas and the areas without campaign, respectively. The funeral hosts in the completed implementation area elaborated that the areas with no alcohol offering at the funeral complied with the community agreement, and hence, helping them to save money. While some of the funeral hosts in the ongoing and without campaign areas still offered the local white spirit for the participants, and hence, had the expenses and some drunk-driven quarrel and violence in the funerals. At the funeral without offering alcohol, there were fewer attendances because people in the community believed that offering alcohol at the funeral was a tradition. This study recommends that the community agreements and social agreements are needed to support the hosts conducting the alcohol-free funeral.en_US
.custom.citationกัณณพนต์ ภักดีเศรษฐกุล, Kannapon Phakdeesettakun, สุรศักดิ์ ไชยสงค์, Surasak Chaiyasong, โศภิต นาสืบ, Sopit Nasueb, ทักษพล ธรรมรังสี, Thaksaphon Thamarangsi, ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ and Siriwan Pitayarangsarit. "การศึกษาผลจากการดำเนินนโยบายงานศพปลอดเหล้าในจังหวัดลำปาง." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5070">http://hdl.handle.net/11228/5070</a>.
.custom.total_download649
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month12
.custom.downloaded_this_year124
.custom.downloaded_fiscal_year26

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v13n ...
Size: 311.6Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

Show simple item record