Show simple item record

Equity in Health in Thai Elderly under Universal Coverage Scheme: A Systematic Review

dc.contributor.authorเมธิณี อินทรเทศth_TH
dc.contributor.authorMethinee Intaratesen_US
dc.contributor.authorวินัย ลีสมิทธิ์th_TH
dc.contributor.authorVinai Leesmidten_US
dc.contributor.authorธีรพล ทิพย์พยอมth_TH
dc.contributor.authorTeerapon Dhippayomen_US
dc.contributor.authorนิลวรรณ อยู่ภักดีth_TH
dc.contributor.authorNilawan Upakdeeen_US
dc.date.accessioned2019-06-27T09:29:28Z
dc.date.available2019-06-27T09:29:28Z
dc.date.issued2562-06
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 13,2 (เม.ย.-มิ.ย. 2562) : 157-174th_TH
dc.identifier.issn26729415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5071
dc.description.abstractภูมิหลังและเหตุผล: ความเป็นธรรมทางสุขภาพ คือ การปราศจากช่องว่างเชิงระบบในการจัดสรรทรัพยากร การเข้าถึงและการใช้บริการสุขภาพ ผู้สูงอายุมีโอกาสเป็นโรคเรื้อรังประเภทโรคไม่ติดต่อ (non-communicable diseases: NCDs) หลายโรคร่วมกันได้สูง ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายสูงในการรักษาและมีคุณภาพชีวิตลดลง ยิ่งถ้ามีความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพซ้ำเติม ผู้ป่วยกลุ่มนี้ก็จะได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นด้วย วัตถุประสงค์: เพื่อค้นหารูปแบบของกิจกรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นธรรมด้านสุขภาพในผู้สูงอายุไทยที่เป็นโรคเรื้อรัง ในมิติความเป็นธรรมด้านสุขภาพแนวราบ (horizontal equity) ทั้งด้านค่าใช้จ่าย การใช้บริการและการเข้าถึงบริการสุขภาพ ระเบียบวิธีศึกษา: ใช้รูปแบบการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ โดยสืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจากฐานข้อมูลงานวิจัยในประเทศไทย 5 ฐานข้อมูลและนานาชาติ 2 ฐานข้อมูล เกณฑ์ในการคัดเลือกงานวิจัย คือ งานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับความเป็นธรรม/ความเสมอภาค/ความเท่าเทียมในผู้สูงอายุไทยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (content analysis) และนำเสนอผลลัพธ์แบบพรรณนา ผลการศึกษา: มีการศึกษาผ่านเกณฑ์คัดเข้าจำนวน 8 การศึกษาและพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นธรรมทางสุขภาพในผู้สูงอายุ ได้แก่ ปัจจัยภายนอกของผู้ป่วย (เช่น ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม) และปัจจัยภายในของผู้ป่วย (ปัจจัยด้านตัวบุคคลและพฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพ) โดยพบว่า ในด้านปัจจัยภายนอกนั้น ปัจจัยภายนอกที่ส่งเสริมความเป็นธรรม ได้แก่ การมีสวัสดิการรักษาพยาบาลและการอยู่ในเขตเมือง ส่วนปัจจัยภายนอกที่ส่งผลลบต่อความเป็นธรรม ได้แก่ การศึกษาระดับต่ำกว่ามัธยมศึกษา รายได้น้อย ไม่มีอาชีพ ไม่มีสิทธิสวัสดิการและการอยู่ในพื้นที่ห่างไกล สำหรับในด้านปัจจัยภายใน พบว่าปัจจัยภายในของผู้ป่วยที่ส่งผลลบต่อความเป็นธรรม ได้แก่ 1) ความพิการหรือการเจ็บป่วยเรื้อรัง 2) การมีความเครียดหรือปัญหาสุขภาพจิต และ 3) พฤติกรรมการไม่ใช้บริการสุขภาพ โดยปัจจัยทั้งภายในและภายนอกมีผลต่อ 1) สภาวะสุขภาพ 2) ภาระค่าใช้จ่าย และ 3) ความจำเป็นด้านสุขภาพ ได้แก่ การเข้าถึงบริการสุขภาพ และการใช้บริการสุขภาพ ทั้งนี้การจัดการที่ลดความรุนแรงจากปัจจัยที่ส่งผลต่อความไม่เป็นธรรมเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมเพิ่มขึ้น ได้แก่ 1) กิจกรรมการรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสมรรถภาพในสถานพยาบาลระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ 2) กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในระดับชุมชนและปฐมภูมิ และ 3) กิจกรรมที่เป็นบริการสาธารณะหรือสวัสดิการสังคมต่างๆ เพื่อลดความไม่เป็นธรรมและลดค่าใช้จ่ายที่ผู้สูงอายุต้องรับผิดชอบในการใช้บริการสุขภาพ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย: เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความเป็นธรรมด้านสุขภาพมากขึ้น ควรมีการจัดการที่เหมาะสมต่อปัจจัยและกิจกรรมที่จะส่งผลต่อความไม่เป็นธรรมดังกล่าวth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectElderlyth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectโรคไม่ติดต่อth_TH
dc.subjectEquity in Healthth_TH
dc.subjectหลักประกันสุขภาพแห่งชาติth_TH
dc.subjectNon-communicable diseasesth_TH
dc.titleความเป็นธรรมด้านสุขภาพในผู้สูงอายุไทยภายใต้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบth_TH
dc.title.alternativeEquity in Health in Thai Elderly under Universal Coverage Scheme: A Systematic Reviewen_US
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeBackground: Health equity is systematic deprivation gaps in resource allocation, accessibility and utilization of health services. The elderly people with high prevalence of chronic, and non-communicable diseases (NCDs) usually face problems with respect to high treatment cost, and if health inequity exists, they disproportionately suffer a decrease in their quality of life. Objective: The study was aimed at exploring the factors affecting health equity in Thai elderly, as well as activities that improve health equity. We focused on horizontal equity dimensions of cost, use, and accessibility to health services. Methodology: This was a systematic review, searching 5 Thai and 2 international databases. The inclusion criteria covered equity in health in elderly and related meanings (in Thai and English). Content analysis, and descriptive presentation were used in this review. Result: The affecting factors to inequity in health included external factors (e.g. socioeconomic factors) and internal factors (personal/behavioral factors on use of service). The external factors that improved equity in health in elderly included health insurance coverage and living in urban area. The external factors that decreased equity in health in elderly included education lower than high school level, low income, no occupation, no insurance and living in rural or remote area. The internal factors that decreased equity in health in elderly included 1) having disability or chronic illness, 2) stress, and 3) behavior for not using health service. All of these factors affected on 1) health status, 2) health financing, and 3) health needs (accessibility and utilization). The interventions that decreased inequity in health and improved equity in health were as follows: 1) treatment and rehabilitation activities at secondary and tertiary hospitals, 2) health promotion and disease prevention activities at the community or primary care units, and 3) public services or social welfare activities aimed at reducing inequity by decreasing health service expenditure to elderly. Recommendation: Appropriate approaches amending factors and activities affecting inequity should be implemented to achieve health equity in elderly.en_US
dc.subject.keywordความเป็นธรรมด้านสุขภาพth_TH
.custom.citationเมธิณี อินทรเทศ, Methinee Intarates, วินัย ลีสมิทธิ์, Vinai Leesmidt, ธีรพล ทิพย์พยอม, Teerapon Dhippayom, นิลวรรณ อยู่ภักดี and Nilawan Upakdee. "ความเป็นธรรมด้านสุขภาพในผู้สูงอายุไทยภายใต้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5071">http://hdl.handle.net/11228/5071</a>.
.custom.total_download5029
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month45
.custom.downloaded_this_year341
.custom.downloaded_fiscal_year722

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v13n ...
Size: 2.648Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1334]
    บทความวิชาการ

Show simple item record