Show simple item record

Future Employment of Doctors, Dentists, Pharmacists, and Nurses in Thailand Public Sector in the Next 15 Years: Employment Patterns, Retention, and Budget Burden

dc.contributor.authorพัชรี เพชรทองหยกth_TH
dc.contributor.authorPatcharee Phetthongyoken_US
dc.contributor.authorพิกุลแก้ว ศรีนามth_TH
dc.contributor.authorPigunkaew Sinamen_US
dc.contributor.authorนารีรัตน์ ผุดผ่องth_TH
dc.contributor.authorNareerut Pudpongen_US
dc.contributor.authorนิธิวัชร์ แสงเรืองth_TH
dc.contributor.authorNithiwat Saengruangen_US
dc.contributor.authorสตพร จุลชูth_TH
dc.contributor.authorSataporn Julchooen_US
dc.contributor.authorกัญจนา ติษยาธิคมth_TH
dc.contributor.authorKanjana Tisayaticomen_US
dc.contributor.authorระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์th_TH
dc.contributor.authorRapeepong Suphanchaimaten_US
dc.contributor.authorกฤษดา แสวงดีth_TH
dc.contributor.authorKrisada Sawaengdeeen_US
dc.date.accessioned2019-06-28T02:39:51Z
dc.date.available2019-06-28T02:39:51Z
dc.date.issued2562-06
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 13,2 (เม.ย.-มิ.ย. 2562) : 188-203th_TH
dc.identifier.issn26729415
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5073
dc.description.abstractในปัจจุบันนั้น ภาครัฐของไทยมีนโยบายลดการจ้างงานบุคลากรสุขภาพที่เป็นข้าราชการลง นโยบายดังกล่าวไม่เพียงแต่ส่งผลต่อบุคลากรฝ่ายสนับสนุนบริการสุขภาพเท่านั้น แต่ยังรวมถึงวิชาชีพด้านสุขภาพต่างๆ ที่สำคัญ ทั้งแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกรและพยาบาลด้วย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการจ้างงานและผลกระทบของรูปแบบดังกล่าวใน 15 ปีข้างหน้า ทั้งในด้านการคงอยู่และในด้านภาระงบประมาณ การศึกษานี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยภาคตัดขวางแบบผสม ประกอบด้วยการทบทวนเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคลในกลุ่มผู้กำหนดนโยบายและกลุ่มผู้ใช้งานบุคลากรสุขภาพ การสนทนากลุ่ม และการสำรวจด้วยแบบสอบถามชนิดที่ตอบด้วยตนเองโดยบุคลากรสุขภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีแก่นสาระสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ ผลการศึกษาพบว่า ในเชิงคุณภาพนั้น ผู้กำหนดนโยบายและผู้ใช้งานบุคลากรสุขภาพเห็นว่า การจ้างงานแบบข้าราชการมีข้อจำกัดค่อนข้างมากในเรื่องระเบียบข้อบังคับและความยืดหยุ่นในการจัดสรรคนให้เหมาะกับงาน แต่ยังคงมีความจำเป็นในกลุ่มงานบริหารที่เกี่ยวกับการเงิน ส่วนบุคลากรสุขภาพเห็นว่า การจ้างงานแบบข้าราชการเป็นปัจจัยสำคัญต่อการคงอยู่ในภาครัฐ เพราะมีความมั่นคงและมีสวัสดิการที่ดี โดยเฉพาะสิทธิประโยชน์ในด้านการรักษาพยาบาลและทุกกลุ่มเห็นว่าการจ้างงานไม่ควรมีหลายรูปแบบเกินไปและหากไม่มีการจ้างแบบข้าราชการ ก็ควรเพิ่มเงินเดือนและสิทธิประโยชน์ในการจ้างงานแบบใหม่ ไม่ให้ด้อยกว่าการเป็นข้าราชการ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงปริมาณ ที่พบว่า การจ้างงานแบบข้าราชการมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดการดำรงอยู่ในภาครัฐได้มากที่สุด แต่มีภาระงบประมาณมากที่สุด (ประมาณ 21,632 ล้านบาทใน 15 ปีข้างหน้า) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างวิชาชีพ พบว่า ในทุกรูปแบบการจ้างงานนั้น พยาบาลมีอัตราดำรงอยู่ในภาครัฐสูงที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบกับการจ้างงานแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่ข้าราชการ การจ้างแบบพนักงานมหาวิทยาลัย หรือพนักงานกระทรวงสาธารณสุขที่มีสิทธิประโยชน์เทียบเท่าข้าราชการ จะทำให้บุคลากรสุขภาพยังคงดำรงอยู่ในระบบมากที่สุด แต่ก็มีภาระงบประมาณค่อนข้างมาก (งบประมาณ ณ ปีที่ 15 มีมูลค่า 15,208 ล้านบาท คิดเป็นการลดลงประมาณหนึ่งในสี่จากการจ้างแบบข้าราชการ ในขณะที่บุคลากรสุขภาพคงเหลือ ณ ปีที่ 15 จะมีปริมาณลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง เมื่อเทียบกับการจ้างงานแบบข้าราชการ) อย่างไรก็ตาม โดยสรุปแล้ว ในอนาคตนั้น หากภาครัฐลดการจ้างงานแบบข้าราชการจะช่วยลดภาระงบประมาณลงได้ แต่ก็มีความเสี่ยงที่บุคลากรจะดำรงอยู่ในภาครัฐลดลง ดังนั้น ถ้าจะมีการลดตำแหน่งข้าราชการ ก็ควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไป และควรพิจารณาเพิ่มเงินค่าตอบแทนหรือสิทธิประโยชน์ให้ใกล้เคียงกับข้าราชการ รวมทั้งควรมีการแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยบริการมีอิสระในการจ้างงานที่สอดคล้องกับบริบทเฉพาะของตนด้วยth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Manpowerth_TH
dc.subjectHealth Personnelth_TH
dc.titleรูปแบบการจ้างงาน การคงอยู่ของบุคลากรสุขภาพและภาระงบประมาณ: กรณีศึกษาเฉพาะแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกรและพยาบาลในภาครัฐ ระยะ 15 ปีข้างหน้าth_TH
dc.title.alternativeFuture Employment of Doctors, Dentists, Pharmacists, and Nurses in Thailand Public Sector in the Next 15 Years: Employment Patterns, Retention, and Budget Burdenen_US
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeAt present, the Royal Thai Government attempts to downsize civil servant posts amongst health personnel. This approach affects not only administrative staff, but also core health professionals including doctors, dentists, pharmacists, and nurses. This study aimed to explore the current situation and new employment modalities of health personnel and the impacts on retention and budget in the next 15 years. Cross-sectional mixed-method design was used. Data collection techniques comprised document reviews, in-depth individual interviews with policy makers and health personnel users, and group interviews with health personnel. Self-administered questionnaire survey on health personnel was also performed. Thematic analysis was used in qualitative data. Descriptive and inferential statistics were used in quantitative data. For qualitative findings, policy makers and health personnel users opined that hiring health personnel in civil servant posts usually faced bureaucratic hurdle, which at times undermined the flexibility in assigning health personnel in a position that matched their expertise. However the civil servant posts should continue to exist in certain functions, for instance, executive and financial functions. From the viewpoints of health personnel, being hired in civil servant post contributed to longer retention in the public sector due to work security and attractive benefits, especially medical benefits for family members. All interviewees agreed that there should not be too many employment patterns. If the civil servant employment were to be terminated, the replaced employments should have increased start-up salary and fringe benefits not inferior to the current civil servant benefits. This is consistent with the quantitative findings, which demonstrated that civil servant employment would cause longer retention years in the public sector despite large budget burden incurred (approximately 21,632 million baht in the next 15 years). Nurses showed longest retention years than other professionals. Comparing with other employment modalities apart from civil servant employment, hiring health personnel in the fashion similar to university staff with fringe benefits not inferior to civil servants, were likely to see longest retention years despite a relatively large budget burden (the budget size in the next 15 years equating 15,208 million baht, about one quarter of the budget used in civil servant employment, while the remaining health personnel in the next 15 years would be half of the remaining health personnel in civil servant employment). In summary, downsizing the number of new civil servant posts tended to substantially decrease budget impact but there was a trade-off in losing health personnel from the public sector. Regarding policy implications, the downsizing policy of civil servants should not be hastily implemented. Lifting the remuneration and fringe benefit of new employment modalities to the level that is on par to those of civil servants is recommended. In addition, there should be an amendment in public employment laws or regulations to create a leeway for health facilities in hiring health personnel in the way that matches their local context.en_US
.custom.citationพัชรี เพชรทองหยก, Patcharee Phetthongyok, พิกุลแก้ว ศรีนาม, Pigunkaew Sinam, นารีรัตน์ ผุดผ่อง, Nareerut Pudpong, นิธิวัชร์ แสงเรือง, Nithiwat Saengruang, สตพร จุลชู, Sataporn Julchoo, กัญจนา ติษยาธิคม, Kanjana Tisayaticom, ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์, Rapeepong Suphanchaimat, กฤษดา แสวงดี and Krisada Sawaengdee. "รูปแบบการจ้างงาน การคงอยู่ของบุคลากรสุขภาพและภาระงบประมาณ: กรณีศึกษาเฉพาะแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกรและพยาบาลในภาครัฐ ระยะ 15 ปีข้างหน้า." 2562. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5073">http://hdl.handle.net/11228/5073</a>.
.custom.total_download1163
.custom.downloaded_today1
.custom.downloaded_this_month17
.custom.downloaded_this_year50
.custom.downloaded_fiscal_year132

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v13n ...
Size: 1.125Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1326]
    บทความวิชาการ

Show simple item record